ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดื้อยาของแบคทีเรียในผู้ป่วย ปี 2558-2559 โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ราตรี พันทะชุม ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา เนื่องจากการใช้ยาต้านจุลชีพไม่ว่ากรณีใด ๆ จะทำให้สายพันธ์เชื้อดื้อยาเพิ่มจำนวนมาทดแทนเชื้อที่ไม่ดื้อยาในตัวผู้ป่วย การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมจะส่งผลให้เชื้อดื้อยาช้าลง จากข้อมูลการใช้ยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลนามน พบว่ามูลค่าการใช้ในปี 2556-2558 มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเป็น 3,274, 383.50, 2,870, 562.00, 3,466, 428.50 บาท ตามลำดับ และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล(Antibiotics Smart Use)ในโรคระบบทางเดินหายใจ รายไตรมาสในปี 2558-2559 เป็น 45.71, 39.99, 22.86, 19.56, 20.51 ตามลำดับ และโรคระบบทางเดินอาหาร รายไตรมาสในปี 2558-2559 เป็น 51.89, 40.06, 32.38, 30.20, 33.77 ตามลำดับ จากปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผล ดังกล่าว โรงพยาบาลนามน จึงได้รวบรวมผลการเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจทั้งหมดของโรงพยาบาลนามน มาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำ Antibiogram ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การดื้อยาของแบคทีเรียในผู้ป่วย ปี 2558-2559 โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กสิ่งส่งตรวจทั้งหมดของโรงพยาบาลนามน ได้แก่ เลือด เสมหะ ปัสสาวะ แผลตามผิวหนัง น้ำจากไขสันหลัง น้ำจากช่องท้อง หนอง ในผู้ป่วยทุกรายที่มารักษาที่โรงพยาบาลนามน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 – มิถุนายน 2559  
เครื่องมือ : แบบคัดลอกข้อมูลผลการเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจทั้งหมดของโรงพยาบาลนามน และแบบรายงาน Antibiogram  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) โดยรวบรวมผลการเพาะเชื้อที่เป็นบวก(ผลจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์) จากสิ่งส่งตรวจทั้งหมดของโรงพยาบาลนามน ได้แก่ เลือด เสมหะ ปัสสาวะ แผลตามผิวหนัง น้ำจากไขสันหลัง น้ำจากช่องท้อง หนอง ในผู้ป่วยทุกรายที่มารักษาที่โรงพยาบาลนามน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 – มิถุนายน 2559 นำมาจัดทำข้อมูลตรวจความไวต่อยาของเชื้อชนิดต่างๆ (Antibiogram) โรงพยาบาลนามน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ  
     
ผลการศึกษา : จากจำนวน 241 ตัวอย่าง ในปีงบประมาณ 2558 พบเชื้อ 36 ตัวอย่าง (ร้อยละ24.1) แยกเป็นตัวอย่าง เลือด ปัสสาวะ หนอง เสมหะและสารคัดหลั่งอื่นๆ จำนวน 203,18,10,4,17,9 ตามลำดับ พบเชื้อในตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หนอง เสมหะ จำนวน 20 (ร้อยละ 10.93), 18 (ร้อยละ 27.78), 10(ร้อยละ100), 1(ร้อยละ 25) ตามลำดับ ตัวอย่างเลือดพบเชื้อ Escherichia coli มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือ Kllebsiella, Escherichia coli ESBL ร้อยละ 20, 15 ตามลำดับ ตัวอย่างปัสสาวะพบเชื้อ Escherichia coli ESBL และ Escherichia coli ร้อยละ 80, 20 ตามลำดับ ตัวอย่างหนองพบเชื้อ Pseudomonas aeruginosa มากที่สุดร้อยละ 30 ปีงบประมาณ 2559 ส่งตัวอย่างจำนวน 341 ตัวอย่าง พบเชื้อ 46 ตัวอย่าง (ร้อยละ13.5) แยกเป็นตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หนอง เสมหะและสารคัดหลั่งอื่นๆ 176, 63, 12, 42, 38, 10 ตามลำดับ พบเชื้อในตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หนอง เสมหะ จำนวน 11(ร้อยละ 6.3), 19(ร้อยละ 30.2), 5(ร้อยละ 41.7), 11(ร้อยละ 26.2), ตามลำดับ ตัวอย่างเลือดพบเชื้อ Escherichia coli มากที่สุดร้อยละ 37 รองลงมาคือ Kllebsiella, Escherichia coli ESBL Staphylococcus aureus ร้อยละ18, 18, 18 ตามลำดับ ตัวอย่างปัสสวะพบเชื้อ Escherichia coli ESBL มากที่สุดร้อยละ 33 รองลงมาคือ Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa ร้อยละ17, 17ตามลำดับ ตัวอย่างเสมหะพบเชื้อ Pseudomonas aeruginosa มากที่สุดร้อยละ 28 จากข้อมูลเพาะเชื้อทั้งหมด พบว่า ปีงบประมาณ 2558 พบเชื้อ Escherichia coli, Escherichia coli ESBL, Kllebsiella pneumonia, Pseudomonas aeruginosa 9 ตัวอย่าง(ร้อยละ 25.00), 7 ตัวอย่าง(ร้อยละ19.44), 5 ตัวอย่าง(ร้อยละ13.89), 3 ตัวอย่าง(ร้อยละ 8.33) ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2559 พบเชื้อ Escherichia coli ESBL, Escherichia coli, Kllebsiella pneumonia, Pseudomonas aeruginosa 9 ตัวอย่าง(ร้อยละ19.56), 7 ตัวอย่าง(ร้อยละ 19.44), 4 ตัวอย่าง(ร้อยละ 8.70), 4 ตัวอย่าง(ร้อยละ 8.70) ตามลำดับ จากข้อมูลเพาะเชื้อทั้งหมด พบว่า ปีงบประมาณ 2558 พบเชื้อดื้อยา จำนวน 10 Isolates จาก 36 Total isolates คิดเป็นร้อยละ 27.78 พบเชื้อดื้อยาดังนี้ Escherichiacoli ESBL, Acinetobacter baumanii, Acinetobacter lwoffii, Acinetobacter faumanii และในปีงบประมาณ 2559 (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2559) พบ เชื้อดื้อยาจำนวน 14 Isolates จาก 46 Total isolates คิดเป็นร้อยละ 30.43 พบเชื้อดื้อยาดังนี้ Escherichia coli ESBL, Escherichia coli, Kllebsiella pneumonia ESBL, Enterococcus spp. สรุปผลการวิจัย ปีงบประมาณ 2558 พบเชื้อ 36 ตัวอย่าง จากการเพาะเชื้อพบเชื้อดื้อยา จำนวน 10 Isolates คิดเป็นร้อยละ 27.78 มีเชื้อดื้อยา ดังนี้ Escherichiacoli ESBL, Acinetobacter baumanii, Acinetobacter lwoffii, Acinetobacter faumanii ปีงบประมาณ 2559 (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2559) พบเชื้อ 46 ตัวอย่าง จากการเพาะเชื้อพบเชื้อดื้อยา จำนวน 14 Isolates คิดเป็นร้อยละ 30.43 มีเชื้อดื้อยา ดังนี้ Escherichia coli ESBL, Escherichia coli, Kllebsiella pneumonia ESBL, Enterococcus spp.  
ข้อเสนอแนะ : 1.การรายงานผลที่ดี ควรดำเนินการวิเคราะห์ผลเพาะเชื้อ ขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อพบปัญหาก็จะสามารถป้องกัน หรือวางแผนการรักษาได้ในทันที 2. ควรมีความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และแก้ไขปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยร่วมกัน จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการป้องกันควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)