ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครือข่ายบริการสุขภาพ ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2562
ผู้แต่ง : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : เด็กคือกำลังและทรัพยากรที่มีคุณค่าทางสังคม เพราะเด็กนั้นจะต้องเติบโตเป็นเยาวชนที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ สุขภาพของเด็กจะต้องแข็งแรงและได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี ทันตสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพอนามัย การมีสุขภาพช่องปากที่ดีปราศจากโรค ทำให้ช่องปากทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ก็จะส่งผลให้สุขภาพอนามัยของเด็กสมบูรณ์ด้วยและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นจุดรวมของเด็กก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ควรได้รับการปลูกฝังลักษณะนิสัยและพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งผลกระทบจากการฟันผุ นอกจากส่งผลทำให้เกิดกลิ่นปาก อาการเสียวฟันและปวดฟัน ยังส่งผลต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ และปัญหาทางโภชนาการตามมา ทั้งนี้ โรคฟันผุในเด็กนั้นมีความสำคัญต่อการเรียงตัวในชุดฟันแท้ด้วยเด็กจึงควรได้รับบริการพื้นฐานตามชุดสิทธิประโยชน์อาทิ การตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อหาความผิดปกติแต่เนิ่นๆและดำเนินการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ การรับบริการทาฟลูออไรด์วานิชในเด็กกลุ่มเสี่ยงควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมด้วย จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2560) พบว่า โรคฟันผุในฟันน้ำนมมีความชุกและความรุนแรงค่อนข้างสูงในเด็ก อายุ 3 ปี ซึ่งเป็นขวบปีแรกที่มีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ มีฟันผุระยะเริ่มต้นร้อยละ 31.1 มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 52.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft) 2.8 ซี่/คน แม้จะเพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบแต่ร้อยละ 23 ของเด็กเริ่มมีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปากแล้วนอกจากนี้พบว่าในกลุ่มเด็กที่มีประสบการณ์โรคฟันผุเกือบทั้งหมดจะเป็นรอยโรคฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาคือร้อยละ 52 และจากการสำรวจสภาวะทันตะสุขภาพ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 พบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุ ร้อยละ 41 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด (dmft) ในฟันน้ำนมเท่ากับ 1.97 ซี่/คน และจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพเด็ก อายุ 3 ปี ในตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2560 มีค่าเฉลี่ย ผุ ถอน อุด (dmft) เท่ากับ 1.2 ซี่/คน โดยพบว่าศูนย์พัฒนาเด็กบ้านไค้นุ่น บ้านผึ้ง และบ้านเหล่าสีแก้ว เด็กมีฟันผุเฉลี่ยร้อยละ 51.05 , 50.75 และ 49.35 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นปัญหาค่อนข้างสูง ส่งผลถึงการพัฒนาด้านต่างๆเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ปกครองขาดความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กทำให้เกิดโรคฟันผุ และเด็กกลุ่มนี้ยังดูแลสุขภาพช่องปากได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้อัตราการลุกลามของโรคเป็นไปอย่ารวดเร็ว ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเหล่าสีแก้ว จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2562 ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อให้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปาก 2.เพื่อให้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน 3.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 รุ่น  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 7.วิธีดำเนินงาน 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายวัดในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ไค้นุ่น 1.2 มีการประชุมชี้แจงโครงการ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ประสานงานกับนายกเทศบาล/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1.3. กำหนดกิจกรรมดำเนินการ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้ทางทันตสาธารณสุขและชี้แจงโครงการ แก่ผู้ปกครอง ,และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.2 มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครอง พร้อมทั้งฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนให้กับผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก 2.3 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยทันตบุคลากร และส่งรักษาต่อในรายที่พบปัญหาเร่งด่วน 2.4 ทาฟลูออไรด์วานิชในเด็กกลุ่มเสี่ยงแจกแปรงสีฟันและยาสีฟัน 2.5 จัดกิจกรรม ช่องปากมีชีวิต โดยใช้นวัตกรรม 1.โมเดลฟันยักษ์ 2. อาหารวิเศษ 3.เกมส์ตอบคำถามจากภาพ 3. ติดตามและประเมินผล 1 ครั้ง / เดือน 4. สรุป/รายงานผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง