|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การรับรู้ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
วิมลพร ราชติกา |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การโฆษณาที่ทันสมัยผ่านสื่อต่างๆ ทำให้มีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน ส่งผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมต่างๆ การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร มีอาหารที่หลากหลาย และเข้าถึงได้ง่าย บริบทดังกล่าวมีผลให้คนไทยมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่บริโภคที่ไม่ได้สัดส่วนขาดความสมดุลมากขึ้น ทั้งหวานเกิน มันเกิน และเค็มเกิน เป็นสาเหตุที่สำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคเบาหวานนั้นเป็นความผิดปกติทางเมแทบอลิซึม มีลักษณะสำคัญ คือ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่ทำให้เบต้าเซลล์ของIselt of langerhansของตับอ่อนผลิตฮอร์โมนได้หรือการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเป็นไปได้น้อย และอินซูลินอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่ การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับระดับปกติได้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพ และทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความพิการและอันตรายถึงชีวิตได้
โรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังโรคแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันเป็นภาวะฉุกเฉินที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีพบได้ 3 ลักษณะคือภาวะกรดคีโตนคั่งในเลือด (Diabetic ketoacidosis) ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) โรคแทรกซ้อนเรื้อรังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นช้าๆในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับคนปกติเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆที่สำคัญของร่างกายเช่นตาบอดไตวายโรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดในสมองการถูกตัดขาจากแผลติดเชื้อลุกลามเป็นต้น (วิทยา ศรีดามา, 2549)
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น 1.6 ล้านคน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (จากผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3.2 ล้านราย ในปี 2552 เป็น 4.8 ล้านรายในปี 2557) และพบว่าผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 43.2 ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ ยังพบว่าร้อยละ 78.5 หรือมากกว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย (ข้อมูลจาก : สำนักโรคไม่ติดต่อ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0-2590-3859 วันที่ 3 ธันวาคม 2561)
รายงานการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี 2562 เป้าหมายประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน 143,094 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 26,311 คน คิดเป็นร้อยละ 18.39 ผู้ป่วยรายใหม่ 4,615 คน คิดเป็นร้อยละ 17.54 และอำเภอสามชัย ในปี 2562 เป้าหมายประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน 3,921 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 488 คน คิดเป็นร้อยละ 12.45 ผู้ป่วยรายใหม่ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.43 นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 3 ปีย้อนหลัง ดังนี้ ปี 2559 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1,472 คน ปี 2560 ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 1,486 คน ปี 2561 ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 1,502 คน จากแนวโน้มจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากการตรวจประเมินค่าน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ (ข้อมูลจาก : รายงานผลการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์)
ในปัจจุบัน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่มาใช้บริการที่คลินิกเบาหวาน โดยมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 200 คน ที่มารับยารักษาโรคเบาหวานที่คลินิกเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน ซึ่งในผู้ป่วยบางรายที่มารับบริการ ก็มีภาวะแทรกซ้อนตามมากับโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นลักษณะทางคลินิก ที่มักเกิดร่วมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง ภาวะไตวาย เป็นต้น ซึ่งได้รับการวินิจฉัยแล้วจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ(ที่มา: ฐานข้อมูล JHCISโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ)
ดังนั้นผู้ทำวิจัยซึ่งเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการรับรู้ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาอย่างเป็นทางการในกลุ่มของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงได้ทำการศึกษาครั้งนี้ขึ้นและนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางแก้ไขในงานเบาหวานต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนที่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 200 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ขอหนังสือรับรองและแนะนำตัวผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชัย เพื่อขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. ผู้วิจัยนำหนังสือแนะนำตัวของผู้วิจัย จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พร้อมแบบสอบถามไปยังผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อขออนุญาตผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ตอบแบบสอบถาม และผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมแบบสอบถามดังกล่าวกลับด้วยตนเอง จนครบถ้วนทุกฉบับ
3. รวบรวมแบบสอบถามทั้งหมดที่ได้รับคืน ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถามครบทุกฉบับ
4. นำข้อมูลที่ได้ไปจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
การจัดกระทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจแบบสอบถาม จัดทำอยู่ 2 ครั้ง ในระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูล และภายหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนามแล้ว
2. การเตรียมแบบสอบถามเพื่อลงรหัส โดยการให้หมายเลขแบบสอบถาม
3. การสร้างคู่มือลงรหัสเป็นการสร้างตัวเลขเพื่อเข้าไปแทนที่คำตอบที่บันทึกเป็นข้อความ
4. การลงรหัสคือการลงรหัสในแบบทดสอบและแบบสอบถาม แล้วลอกลงในแบบฟอร์มลงรหัส
5. การตรวจสอบหาความสอดคล้องของตัวแปรตามรหัสต่างๆ
6. ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
7. วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยมีขั้นตอนดังนี้ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|