ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : น้ำหมักหัวกลอย ป้องกันและกำจัดแมลงศตรูพืชผักสวนครัว
ผู้แต่ง : กนกนาถ โพธิ์สัย และคณะ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : 3.1 ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน บ้านม่วงไข่ หมู่ที่ 5 ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประชากรทั้งสิ้น 187 คน จำนวนครัวเรือนที่อยู่จริง 92 ครัวเรือน เป็นชุมชนชาวผู้ไท มีการตั้งบ้านเรือนแบบกลุ่มหมู่บ้าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาปีเป็นหลัก อาชีพเสริมเลี้ยงสัตว์ ทอผ้า จักสานกระติบข้าว ทำสวนอ้อย และรับจ้างทั่วไป ทุกครัวเรือนมีที่ทำกินเป็นของตนเอง และมีพื้นที่รอบ ๆ บริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะปลกพืชผักสวนครัว กระแสการพัฒนาโลกปัจจุบัน ทำให้วิถีชุมชนเปลี่ยนแปลงไป การผลิต การอยู่การกิน จากการพึ่งตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การผลิตอาหารและอาหารจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ไม่เพียงพอ จึงหันไปพึ่งปัจจัยภายนอกมากขึ้น จากความเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีปัญหาเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น สังเกตุได้จากสถานการณ์สุขภาพในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 ถึง2560 ) จากการคัดกรองสุขภาพชุมชน โดยทีม อสม. พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปี มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเบาหวาน 13 ราย ความดันโลหิตสูง 6 ราย ต่อมไทรอยด์ 1 ราย ฟอกไต 1 ราย เสียชีวิตด้วยโรคภูมิแพ้ (SLE) 1 ราย โรคมะเร็งตับ 1 ราย มะเร็งลำไส้ 1 ราย หัวใจวายเฉียบพลัน 2 ราย 3.2 ข้อมูลจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. องค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ โดยผลสรุปว่า การบริโภคผัก ผลไม้ วันละ 400-600 กรัมสามารถลดภาระโรคต่าง ๆ ได้แก่ หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจาก โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงกำหนดการบริโภคผัก ผลไม้อย่างน้อย 400กรัมต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเหล่านั้น ในปัจจุบัน การซื้อผัก ผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคมีความเสี่ยงต่อสารเคมีตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวบกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิด มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็ง ตับอ่อน และมะเร็งผิวหนัง 3.3สภาพปัญหาสุขภาพของพื้นที่ ที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาด้วย นวตกรรม น้ำหมักหัวกลอย ป้องกันและกำจัดแมลงศตรูพืชผักสวนครัว 1. ตรวบพบสารเคมีในเลือดที่อยู่ในระดับความเสี่ยง 3 และ 4 คิดเป็นร้อยละ 54 ( ปี 2558 ) 2. ขาดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างความตระหนักในการไม่ใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดสัตรูพืช ในการทำการเกษตร 3. มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ไว้บริโภคในครัวเรือน 2. เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังของชุมชนในระยะยาว โดยลดระดับสารเคมีในเลือด จากระดับอันตรายให้อยู่ในระดับปกติ 3. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่ การกินให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี แบบวิถีผู้ไท  
กลุ่มเป้าหมาย : บ้านม่วงไข่ หมู่ที่ 5 ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. แต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้นำ กรรมการหมู่บ้าน และอสม. 2. ประชุมสร้างความเข้าใจ โครงการส่งเสริม และสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน 3. จัดอบรมให้ความรู้พิษภัยของสารเคมีในการปลูกผัก ระดมความคิดเห็นสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ และแนวทางการดำเนินงาน 4. พัฒนาศักยภาพชุมชน จัดกิจกรรมสาธิต เช่น ทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก เป็นต้น 5. ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวให้มีครัวเรือนละ 10 ชนิดขึ้นไป โดยไม่ใช้สารเคมี เกิดนวตกรรมการทำน้ำหมักหัวกลอย ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช 6. เชิญเครือข่ายการพัฒนาในพื้นที่ร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย มอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบ ประกวดแปลงผัก คุ้มต้นแบบประกวดพาข้าวผู้ไท 7. สรุปบทเรียนการดำเนินโครงการ  
     
ผลการศึกษา : 1. ชุมชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญการปลูกและบริโภคผัก โดยไม่ใช้สารเคมี ดูได้จากการร่วมกันกำหนดกติกุมชนเกี่ยวกับการปลูกผัก และเกณฑ์การให้คะแนนครัวเรือนต้นแบบและคุ้มต้นแบบ 2. ชุมชนมีพฤติกรรมการกินผักพื้นบ้าน รู้จักการเลือกซื้อผักตลาด นำมาประกอบอาหารได้อย่างปลอดภัย ดูได้จาก ผลการตรวจสารเคมีในเลือดก่อนเริ่มโครงการ พบว่า ผู้มีผลเลือดระดับเสี่ยง 3 และ 4 คิดเป็นร้อยละ 34 และหลังโครงการ ผู้มีผลเลือดระดับเสี่ยง 3 และ 4 คิดเป็นร้อยละ 14 ระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 80 3. เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ฟื้นคืนระบบนิเวศน์ จากการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และน้ำหมักป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจากสมุนไพรพื้นบ้าน 4. เกิดคุณค่าด้านจิตใจ กิจกรรม “บุญแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชผักปลอดสาร บริโภคอาหารปลอดภัย” ทุกครัวเรือนปลูกผักในปริมาณเพิ่ม หลากหลายชนิด มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันเอง 5. เกิดมูลค่าด้านเศรษฐกิจ ผักที่เหลือจากการบริโภค แบ่งปัน แล้วจึงขายในราคากันเอง ทั้งภายในและนอกชุมชน ลดการซื้อผักจากตลาด วัดได้จากการจดบันทึกของครัวเรือน 6. เกิดกระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ในชุมชน 8. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1.การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน 2.มีผู้นำและปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ เป็นต้นแบบความสำเร็จ 3.ส่งเสริมการเรียนรู้ทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง 4.มีการสรุปและประเมินผลการดำเนินงาน  
ข้อเสนอแนะ : พัฒนาการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน อย่างเป็นระบบชุมชนในการฟื้นคืนระบบนิเวศน์อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นความเป็นเจ้าของและรับผิดชอบตามแนวทางร่วมกันอย่างเข้มแข็งเพื่อสนับสนุนชุมชนให้เห็น ความสำคัญการปลูกและบริโภคพืชผัก โดยไม่ใช้สารเคมี และเป็นชุมชนบริโภคอาหารปลอดภัยอย่าง ต่อเนื่องต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)