|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : เก็บรอบ เก็บพุง ต้านโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง |
ผู้แต่ง : |
สุปิยา พิมพ์แก้ว และคณะ |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
องค์การอนามัยโลก(WHO) จัดอันดับประเทศที่มีประชากรที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประจำปี 2559 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วนมากถึงร้อยละ 32.2 ซึ่งนับเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ถ้าหากคำนวณจากประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 60 ล้านคน ประเทศไทยจึงมีคนอ้วนถึง 19 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 จากประชากรทั้งหมด
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2559 ระบุว่า คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 13 ล้านคน โรคเบาหวาน 4 ล้านคน และอีก 7.7 ล้านคนเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน การดำเนินชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น มีตัวช่วยผ่อนแรงและอำนวยความสะดวก ทำให้ไม่ต้องใช้พลังงานออกแรงของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาหารการกินที่คนยุคนี้สามารถหาได้ง่าย รวมถึงรสชาติและปริมาณที่ทำให้เรากินมากขึ้นจนเกิดความอ้วนโดยไม่รู้ตัว
จากการสำรวจ พบว่า มากกว่า 3 ใน 4 ของผู้ที่เล่นกีฬาหรืออกกำลังกาย(ร้อยละ 74.6) เล่นเพราะต้องการให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนสาเหตุอื่นๆ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 23.6 คือ เล่นเพราะมีคนชวนเล่น เพราะมีปัญหาสุขภาพ ต้องการลดน้ำหนัก และเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่ตามมา
จากการทำประชาคมหมู่บ้านและการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา บ้านโพนวิสัย หมู่ 6 มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 372 คน ซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 27.1 และประชาชนในหมู่บ้านบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก
รวมทั้งประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสูงขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายอันจะส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดี และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านโพนวิสัย หมู่ 6
2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการออกกำลังกาย
3.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในหมู่บ้านโพนวิสัย หมู่ 6
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการออกกำลังกาย
|
|
เครื่องมือ : |
รายงานเอกสารผลงาน, แบบสำรวจ/แบบสอบถาม, การสัมภาษณ์เจาะลึก, และสนทนากลุ่ม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
- ประชุมปรึกษาและหาข้อสรุปเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตการทำงาน
- นิสิตประสานงานกับทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อปฏิบัติกิจกรรม
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
- ดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ได้กำหนดไว้
- ติดตามผล
- สรุปโครงการและประเมินผลโครงการ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อลดอัตราการเกิดของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในหมู่บ้านโพนวิสัย หมู่ 6 อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า น้ำหนักของประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 55 คน ก่อนดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 61.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.9 ประชาชนส่วนใหญ่มีน้ำหนักมากกว่า 55 กิโลกรัมขึ้นไป จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 78.2 ค่าดัชนีมวลกายก่อนดำเนินการอยู่ที่ 18.5 -22.9 จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 47.2 เส้นรอบเอวเพศชายส่วนใหญ่ก่อนดำเนินการอยู่ที่ 69-79 เซนติเมตร จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 53.9 เส้นรอบเอวเพศหญิงส่วนใหญ่ก่อนดำเนินการอยู่ที่ 64-70 เซนติเมตร จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 55.3 เนื่องจากประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่วิธี มีการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายปัจจัยเหล่านี้จึงส่งผลทำให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและเป็นสาเหตุที่จะเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในอนาคต
จากกิจกรรมอบรมให้ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยหลัก 3 อ 2 ส และความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ การปฏิบัติตัวเรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่วิธี การบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่งผลให้อัตราการเกิดโรครายใหม่เพิ่มขึ้น หลังจากการอบรมทางผู้ศึกษาได้ทำการประเมินกิจกรรมโดยการถาม-ตอบ เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 55 คน ส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนักและใส่ใจในเรื่องสุขภาพของตนเองขาดการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค จึงส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่า ก่อนดำเนินการ น้ำหนักของประชากรกลุ่มเสี่ยง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 61.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.9 ประชาชนส่วนมากจะน้ำหนักมากว่า 55 กิโลกรัมขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ จำนวน 43 คน คิดเป็น ร้อยละ 78.2 ค่าดัชนีมวลกายก่อนดำเนินการอยู่ที่ 18.5-22.9 จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 47.2 หลังดำเนินการค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 18.5-22.9 จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0 เส้นรอบเอวเพศชายส่วนใหญ่ก่อนดำเนินการอยู่ที่ 69-79 เซนติเมตร จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 53.9 และหลังดำเนินการเส้นรอบเอวเพศชายยังคงเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 53.9 เส้นรอบเอวเพศหญิงส่วนใหญ่ก่อนดำเนินการอยู่ที่ 64-70 เซนติเมตร จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 55.3 หลังดำเนินการเส้นรอบเอวอยู่ที่ 64-70 เซนติเมตร จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 60.5 ซึ่งจากผลการศึกษาก่อนและหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันเนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่มีความตระหนักและใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น หันมาออกกำลังกายลดพุง ปฏิบัติตัวได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้น้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกายเส้นรอบเอวก่อนและหลังของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 45 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P-value <0.05)
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ในการศึกษาครั้งนี้มีระยะเวลาในการดำเนินการสั้น อาจทำให้ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่แตกต่างกันมากควรจัดทำการศึกษาให้มีระยะยาว และมีการประเมินเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการแต่ละเดือน เพื่อผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|