ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์วิถีธรรม
ผู้แต่ง : ประนอม เหนือแสน , สมบัติ วรรณรส ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบันทั้งหมด เพราะปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคเบาหวาน จากสถิติเบาหวานทั่วโลก ปี ๒๕๕๘ พบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจำนวน ๔๑๕ ล้านคน ๑ ใน ๑๑ คนเป็นโรคเบาหวานโดยไม่รู้ตัว และทุก ๖ วินาที มีคนตายด้วยโรคเบาหวาน (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย//๒๕๕๙:ออนไลน์) สำหรับในประเทศไทยข้อมูลองค์การอนามัยโลก ในปี ๒๕๕๓ พบว่า ประมาณร้อยละ ๗๑ ของการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และประมาณร้อยละ ๒๙ ของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า ๖๐ ปี โดยสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคหัวใจร้อยละ ๒๗ โรคมะเร็งร้อยละ ๑๒ โรคทางเดินหายใจร้อยละ ๗ และโรคเบาหวานร้อยละ ๖ (สมเกียรติ โพธิสัตย์ และคณะ (๒๕๕๗) การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) โรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น พฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการออกกำลังกาย รสนิยมการใช้ชีวิตในกระแสสังคมที่เน้นการสร้างรายได้เพื่อมาดูแลสุขภาพ จนเป็นสาเหตุการเกิดปัญหาสุขภาพตามมา และปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดขึ้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อการรักษา การดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้นำแพทย์ทางเลือก (แพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง) มาใช้ในการดูแลสุขภาพตามนโยบายยุทธศาสตร์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำมาพัฒนาและสร้างหมู่บ้าน ชุมชนต้นแบบสุขภาพดีวิถีธรรมเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ด้วยการใช้สิ่งของใกล้ตัวในตัวที่ประโยชน์สูง ประหยัดสุด และการใช้ยา ๙ เม็ดตามหลักแพทย์วิถีธรรม เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชน วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการรับประทานอาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรมในกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองที่มีไตเสื่อมระยะ ๓ , ๔ และ ๕  
วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการรับประทานอาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรมในกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองที่มีไตเสื่อมระยะ ๓ , ๔ และ ๕  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่เป็น อสม.  
เครื่องมือ : หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดีวิถีธรรม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑. คัดเลือกผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการเจาะเลือดประจำปี ๒๕๖๑ ที่มีผลการทำงานของไตที่อยู่ในระยะ ๓ ,๔ และ ๕ ๒. จัดการอบรมให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อให้ความรู้และทักษะการปฏิบัติตัวด้วยแพทย์วิถีธรรมเพื่อชะลอความเสื่อมและเพิ่มการทำงานของไตโดยเน้นการใช้ยา ๙ เม็ดของหมอเขียวเป็นหลัก ๓. ติดตามการปฏิบัติตัวในการประชุมประจำเดือนของ อสม.ทุกเดือน ๔. เปรียบเทียบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนอบรม และหลังอบรม ๕. สรุปโครงการเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป  
     
ผลการศึกษา : ผ่านการอบรมส่วนใหญ่เป็น อสม.ทั้งหมด ๑๔๘ คน อบรม ๓ วันแบบไป-กลับ วิทยากรส่วนใหญ่เป็นจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมที่ปฏิบัติตัวตามหลักการแพทย์วิถีธรรมจริงมากน้อยตามฐานจิต มีการตรวจสุขภาพประจำปีแก่ อสม.ก่อนเข้าอบรม และหลังอบรม ปรากฏผลตามตารางดังนี้ ตารางเปรียบเทียบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อสม.ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ ก่อน-หลังการอบรม (ปี ๒๕๖๑-๖๒) จำนวน อสม. รับการตรวจ Cholesterol Triglyceride HDL LDL FBS HbA1C เพิ่มขึ้น ลดลง เพิ่มขึ้น ลดลง เพิ่มขึ้น ลดลง เพิ่มขึ้น ลดลง เพิ่มขึ้น ลดลง เพิ่มขึ้น ลดลง 148 132 51 81 72 60 84 48 35 97 27 105 10 23 ร้อยละ 89.19 38.64 61.36 54.55 45.45 63.64 36.36 26.52 73.48 20.45 79.55 30.30 69.70 จากตารางจะเห็นได้ว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเกือบทุกค่ามีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากปี ๒๕๖๑ ถึงร้อยละ ๗๙.๕๕ และ ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ลดลง ร้อยละ ๖๙.๗๐ ยกเว้น ค่า Triglyceride ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาในปีต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : ผู้จัดการอบรมและผู้เข้ารับการอบรมต้องมีศรัทธา และที่ สำคัญคือวิทยากรต้องปฏิบัติได้ก่อนจึงจะมีพลังสันนิทานดึงให้ผู้เข้ารับการอบรมกระทำตามได้ หากวิทยากรเองยังไม่เชื่อและศรัทธารวมทั้งยังไม่สามารถปฏิบัติได้พูดไปตามที่เรียนรู้มา ไม่มีสภาวะนั้นจริงๆ อบรมกี่ครั้งๆก็คงจะเหมือนเดิม  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง