|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของสมุนไพรพอกบรรเทาปวดของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง |
ผู้แต่ง : |
นางสาวกัญญาภัค ยุบลมล ,นางสาวอารีรัตน์ โยธิเสน, และคณะเจ้าหน้าที่ รพ.สต.มหาไชย |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สาคัญทั่วโลก ปัจจุบันอัตราการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมีจานวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสึกหรอของข้อต่อภายหลังการใช้งานมานานจึงเกิดขึ้นกับทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างกายมากขึ้นรวมทั้งสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทาให้เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคในกลุ่มโรคข้อและกระดูก อาทิ สังคมเมืองก่อให้เกิดความเร่งรีบในการใช้ชีวิต ประชากรขาดการใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร ขาดการออกกาลังกาย ส่งผลให้เกิดโรคมากขึ้น หรืออีกทางหนึ่งคือ ลักษณะการประกอบอาชีพที่ใช้แรงงาน การใช้อิริยาบถท่าทางต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้มีแรงกระทาต่อข้อมากขึ้นกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมและการสึกกร่อนของข้อ เกิดอาการปวดข้อตามมา โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มโรคข้อและกระดูก โรคนี้พบได้ทุกชาติทั่วโลก ทั้งเพศชายและหญิง พบอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นตามอายุ รวมทั้งเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุอันก่อให้เกิดผู้สูงอายุทุพพลภาพในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในห้าโรคของสหรัฐอเมริกา ที่ทาให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจาวัน
โรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบันไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่เป็นวัยกลางคนก็เป็นได้ นพ.ศริษฏ์ หงษ์วิไล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว สถิติคนไทยป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ข้อมูล ณ ปี 2553 เป็นอยู่ 6-7 ล้านคน ปัญหาสาคัญมีว่า พอเป็นโรคแล้วส่งผลกระทบในเรื่องคุณภาพชีวิตมากขึ้น ที่พบเพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 45 ปีก็เริ่มมีอุบัติการณ์ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น มีรายงานบ่อยขึ้นอาจจะยังเป็นจานวนไม่มากแต่ก็เกิดขึ้นได้ หลัก ๆ ในบ้านเราน้าหนักเยอะก็เป็นปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะค่าบีเอ็มไอที่เกิน 40 จริง ๆ น้าหนักเกินมากจะไม่ค่อยมีความเสี่ยงมากเท่าไหร่ แต่ถ้าค่าบีเอ็มไอเกิน 40 โอกาสที่เป็นสูงขึ้นเยอะ เพราะฉะนั้นจึงได้มีกิจกรรมการพอกสมุนไพรบรรเทาอาการปวด และการแช่มือแช่เท้าเพื่อผ่อนคลาย |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อแก้ไขปัญหาอาการปวดตามข้อในชุมชนเบื้องต้น
2. เพื่อกลุ่มเป้าหมายสามารถนาความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่คนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง (เบาหวาน - ความดันโลหิตสูง) วัยทางานและผู้สูงอายุ บ้านอู้ หมู่ 4 ตาบลมหาไชย อาเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จานวน 100 คน
|
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและสมุนไพรพอกบรรเทาปวดก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกกรม,แบบสอบถามความพึงพอใจหลังการจากดำเนินงาน,แบบประเมินความปวดของเข่า |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ลงชุมชนเก็บข้อมูล/ค้นหาปัญหาสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
2. วิเคราะห์ข้อมูล/กำหนดปัญหา
3. อบรมแกนนำ และ อสม. และกลุ่มเป้าหมายให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสอนวิธีการทาสมุนไพรพอกลดอาการปวดรวมถึงให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายและสอนการออกกำลังกาย 12 ท่า สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันเพื่อกระตุ้น/ชักจูงและติดตามการออกกำลังด้วยท่าบริหารร่างกาย ยืดกล้ามเนื้อ 12 กระบวนท่า
4. ให้กลุ่มเป้าหมายทดลองทาและพอกสมุนไพรบรรเทาปวดที่ข้อเข่า (สมุนไพรพอกที่ใช้ประกอบด้วย ใบหญ้านาง,รางจืด,ใบเตย,ยวบกล้วย,ดินสอพอง,ถ่าน) และออกกำลังกาย12 ท่า สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโดยให้กลุ่มเป้าหมายทำกิจกรรมดังกล่าว 3 ครั้ง/สัปดาห์
5. ติดตามและประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน
6. สรุปผลการดำเนินงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|