ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ตําบลภูแล่นช้าง
ผู้แต่ง : ยุทธพงษ์ คำเพชรดี ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นโรคระบาดที่พบใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การอนามัย โลกได้จัดให้พยาธิใบไม้ตับก่อให้เกิดโรคมะเร็งโดย ก่อให้เกิดมะเร็งท่อน้าดี โรคพยาธิใบไม้ตับเป็น โรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่สุด ของประเทศไทย พยาธิใบไม้ตับที่ก่อโรคในประเทศ ไทยคือ Opisthorchis viverrini พยาธิตัวเต็มวัย พบอยู่ในท่อน้าดีของคน องค์การอนามัยโลกจัดอันดับให้พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้าดีเป็นโรคสำคัญและให้โรคพยาธิใบไม้ตับอยู่ในกลุ่มโรคเรื้อรัง หรือมีการติดเชื้อซ้าๆ บ่อยๆ ในระยะยาว เป็นสาเหตุ ที่สำคัญในการที่ท าให้เกิดโรคมะเร็งท่อน้าดี สาเหตุ เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทที่ปรุงจากปลาน้าจืดเกล็ดขาวตระกูลปลาตะเพียนที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ก้อยปลาดิบ ลาบปลาดิบ ปลาส้ม ปลาร้า ดิบ หรือส้มตำใส่ปลาร้าดิบ เป็นต้น ซึ่งมีตัวอ่อน พยาธิใบไม้ตับปนเปื้อน เมื่อคนรวมทั้งสุนัขและ แมว ซึ่งเป็นสัตว์รังโรคพยาธิใบไม้ตับ ได้รับพยาธิ ใบไม้ตับจากการกินปลาดิบที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ (metacercaria) ตัวอ่อนจะเคลื่อนจากลำไส้เข้าสู่ ท่อน้าดี พัฒนาเป็นตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในท่อน้าดี และออกไข่ปนออกมากับอุจจาระลงสู่แหล่งน้า ตัวอ่อน จะไชออกจากไข่เข้าสู่หอยและพัฒนาเป็นตัวอ่อน ระยะแรก (cercaria) ซึ่งจะไชเข้าปลาเพื่อพัฒนา เป็นตัวอ่อนระยะติดต่อเข้าสู่คนต่อไป (ศูนย์วิจัย พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ าดี มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2558) มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้าดีถูกจัดอยู่ใน อันดับที่ 5 ของโรคที่ท าให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุด ในประเทศไทย จำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งตับ และท่อน้ าดีมากกว่าปีละ 28,000 คน หรือ 80 คน ต่อวัน และมากกว่าร้อยละ 70 เป็นมะเร็งตับชนิด มะเร็งท่อน้ าดี เกือบร้อยละ 5 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิต จากมะเร็งตับทั่วโลก หรือมีปีละ 600,000 คน ซึ่ง นับว่าสูงมาก (มูลนิธิมะเร็งท่อน้ าดี, 2559) อัตรา ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้าดีใน จังหวัดกาฬสินธุ์ พบ 50.9 ต่อแสนประชากร โดย การคัดกรองจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผลการคัดกรองพบว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ พบอัตรา การเสียชีวิตรองลงมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด พบ 54.89 ต่อแสนประชากร (กรมควบคุมโรค, 2556) อัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับพบมากใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั่วโลกคาดว่ามี คนติดเชื้อมากกว่า 40 ล้านคน และมากกว่า 600 ล้านคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ คนไทย กว่า 6 ล้านคนมีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือคาดว่าติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 1.5–2 ล้านคน จังหวัดกาฬสินธุ์พบประชาชนติดเชื้อ พยาธิใบไม้ตับคิดเป็นร้อยละ 22.3 สูงเป็นอันดับ 1 ของพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 7 ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ (เกษร แถวโนนงิ้ว และคณะ, 2558) ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับที่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ําดีและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ําดี ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ทีม บุคลากรสาธารณสุข สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิด โรคพยาธิใบไม้ตับ การป้องกันการเกิดโรคในพื้นที่ และขยายผลให้ความรู้แก่ประชาชน นำไปสู่การ ลดอัตราป่วยและอัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ าดี ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมตรวจอุจจาระหาใข่พยาธิใบไม้ตับ ตําบลภูแล่นช้าง อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมตรวจอุจจาระหาใข่พยาธิใบไม้ตับ ตําบลภูแล่นช้าง อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ กับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมตรวจอุจจาระหาใข่พยาธิใบไม้ตับ ตําบลภูแล่นช้าง อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับตําบลภูแล่นช้าง อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 734 คน คํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตร Taro Yamane (Yamane, 1973) ได้ขนาดตัวอย่าง 250 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปได้แก่เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับของสมาชิกในครอบครัวด้วย ส่วนที่2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ําดี ลักษณะข้อคําถามเป็นคําถามเชิงบวกและคําถามเชิงลบ ลักษณะคําตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 3 ระดับ ส่วนที่3 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ําดีลักษณะข้อคําถาม เป็นคําถามเชิงบวกและคําถามเชิงลบ ลักษณะคําตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 3 ระดับ  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง