ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ชาวหลักเหลี่ยมร่วมใจ หลีกภัยมะเร็งท่อน้ำดี ปี ๒๕๕๙ (กองทุนหลักประกันสุขภาพสุขภาพประจำตำบลหลักเหลี่ยม)
ผู้แต่ง : วิเชียร นาสมบูรณ์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : สาเหตุของการเจ็บป่วยและการตายสำคัญของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุหลัก คือ โรคมะเร็งและมะเร็งตับสาเหตุการตายอันดับต้นๆ เพราะพฤติกรรมการรับประทานอาหารดิบๆ จำพวกปลามีเกร็ดและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ จึงเป็นปัจจัยร่วมในการก่อให้เกิดโรค ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งนอกจากพฤติกรรมการกินแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความตระหนักในการใส่ใจเรื่องสุขภาพ การตรวจหาโรค การตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งจะสามารถช่วยในการป้องกันและรักษาในขณะที่อาการของโรคยังไม่ลุกลามและเป็นอันตราย จากการดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ พบว่าการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่ตำบลหลักเหลี่ยม ทีแนวโน้มสูงขึ้น คือปี ๒๕๕๗ ตรวจ ๒๙๗ คน พบไข่พยาธิใบไม้ตับ จำนวน ๗๑ คน คิดเป็น ๒๓.๙๐ ปี ๒๕๕๘ ตรวจทั้งหมด ๗๕๐ คน พบไข่พยาธิใบไม้ตับ ๒๖๑ คน คิดเป็น ๓๗.๐๒ ตามลำดับ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลอุทัยวรรณ และส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ในตับ และตรวจหาไข่พยาธิ ในคนที่เคยตรวจพบในปี ๕๗ และ ๕๘ อันเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งตับอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย เพื่อให้การบำบัดรักษาประชาชนในกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ในตับ และให้สุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง อีกทั้งร่วมกันการดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้าน และโรงเรียน ๓ ดี ลดโรคและภัยสุขภาพ ของตำบลหลักเหลี่ยมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ในตับในอุจจาระของประชาชน กลุ่มอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ๒. เพื่อตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับซ้ำในรายที่ตรวจพบและได้รับการรักษาด้วยยาไปแล้วว่าจะมากลับเป็นซ้ำหรือไม่ ๓. เพื่อตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ทุกคน ในโรงเรียน ๓ ดี ๔.. เพื่อให้ประชาชนที่ตรวจพบไข่พยาธิได้รับการบำบัดรักษาด้วยเวชภัณฑ์ยาที่ถูกต้อง ๕. เพื่อเป็นการให้สุขศึกษา ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ๖. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งตับและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานให้ ถูกต้อง  
กลุ่มเป้าหมาย : - หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน (กลุ่มประชากรอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป) - ประชาชนที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในปี ๒๕๕๘ จำนวน ๒๖๑ คน  
เครื่องมือ : - แบบคัดกรองด้วยวาจา - การตรวจหาไข่พยาธิด้วยวิธี kato thick smear  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑. จัดทำโครงการ/แผนงานเพื่อเสนอขอความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหลักเหลี่ยม ๒. จัดทำแบบสำรวจ แบบสอบถาม ของประชาชน ๓. ตรวจอุจาระตามเป้าหมายที่กำหนดตามแผนงาน ขั้นดำเนินงาน ๑. ประชาคมหมู่บ้านเพื่อชี้แจงในการจัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ บ้านสังคมพัฒนา หมู่ที่ ๘ ๒. แจกแบบสำรวจ สอบถาม ตลับเก็บอุจจาระ ๓. ตรวจหาไข่หนอนพยาธิ ๔. จ่ายยา บำบัดโรคหนอนพยาธิ ๕. ให้สุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  
     
ผลการศึกษา : จากแบบสอบถามพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกลับมาติดซ้ำของพยาธิใบไม้ตับ ๑. การกลับมาทานก้อยปลาดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ๒. การรับประทานส้มตำที่ปรุงด้วยปลาร้าดิบ ที่หมักน้อยกว่า 2 ปี ๓. การรับประทานส้มปลาดิบ ปลาจ่อม ๔. ทัศนคติของคนในชุมชน (การทานก้อยปลาดิบ ส้มปลาดิบ รสชาติดี อร่อยกว่าปรุงสุก) ๕. โรคพยาธิใบไม้ตับรักษาง่าย โดยการกินยา PraziQuantel โดยไม่ต้องทำการตรวจอุจจาระก่อน ในปี ๒๕๕๙ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องที่ ตำบลหลักเหลี่ยมได้จัดสรรงบประมาณ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชน เรื่อง โรคพยาธิใบไม้ตับอีกครั้ง โดยได้ทำการตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบ ในปี ๒๕๕๘ และรายใหม่ที่มีอายุ ตั้งแต่อายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ที่สนใจอยากตรวจ จึงได้ทำการตรวจ สรุปได้ดังนี้จำนวนผู้ที่ติดเชื้อในปี ๒๕๕๘ มาตรวจ ๒๒๑ คน พบไข่พยาธิใบไม้ตับจำนวน ๕๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๒๔ ไม่พบไข่พยาธิใบไม้ตับจำนวน ๑๖๓ ราย ตาม คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๗๖ อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อ รายใหม่ ปี ๒๕๕๙ ทั้งหมด ๕๒๑ คน พบ ๑๕๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๒๙.๑๗ ไม่พบ ๓๖๙ คนคิดเป็นร้อยละ ๗๐.๘๒  
ข้อเสนอแนะ : ปัญหาและอุปสรรค ๑. ประชาชนไม่ให้ความสำคัญในการตรวจหาไข่พยาธิเท่าที่ควร ๒. ประชาชนในพื้นที่บางครั้งลืมเก็บอุจจาระมาส่งตรวจ ๓. กล้องจุลทรรศน์ไม่เพียงพอในการตรวจ ข้อเสนอแนะ ๑. ควรให้ผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ เพื่อความเข้าใจในการตรวจหาไข่พยาธิ ๒. ควรจะมีกล้องจุลทรรศน์เป็นของตนเองจะได้ตรวจได้ทั้งปี  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)