ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลกุดจิก
ผู้แต่ง : นางสาวจันธิดา หงษาวนา นางสาวพรทิพา วิเศษดี นางสาวสุพัชรา จ้องสาระ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : โรคจิตเวช เป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่รุนแรง มีสภาพการเจ็บป่วยเรื้อรัง บางรายมีปัญหาซับซ้อน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อย ๆ และเมื่อกลับสู่ชุมชนมักมีปัญหาในการดำเนินชีวิต ได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดผู้ดูแล ขาดการเอาใจใส่ ทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง เกิดอาการกำเริบ ก่อความรุนแรงต่อครอบครัว ชุมชน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตในชุมชน ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมารักษาในโรงพยาบาล ครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยอาการกำเริบซ้ำ ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว และชุมชนในตำบลกุดจิก ทีมผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนแบบมีส่วนร่วม ด้วยการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกภาคส่วนในชุมชน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการมีส่วนร่วมเข้ามาพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติตามแผน (Do) 3) การตรวจสอบ (Check) 4) การปรับปรุงหรือการแก้ไขปัญหา (Act) วงจรการปฏิบัติการนี้เรียกย่อ ๆ ว่า วงจร PDCA ซึ่งเป็นแนวคิดของ W.Edwards Deming (1950 อ้างใน ชนิกานต์ เธียรสูตร, 2551) จึงจะทำให้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนมีรูปแบบที่ชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายการทำงานของพื้นที่  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดจิก  
กลุ่มเป้าหมาย : เจ้าหน้าที่ รพ.สต.กุดจิก , เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น/เทศบาล , ผู้นำชุมชน/กำนัน/ผญบ. , ทีมสหวิชาชีพ , และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม , แบบประเมินศักยภาพ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นวางแผน (Plan) 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และสรุปภาพรวมของปัญหา 2. กำหนดแผนในการดำเนินการและแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาระบบงาน ขั้นปฏิบัติการ (Do) 1. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.จัดทำแผน/โครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 3. จัดทำคู่มือ แบบบันทึกรายงาน/ตัวชี้วัดต่างๆ ในมาตรฐานของงาน 4. จัดหา/จัดเตรียมอุปกรณ์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการดูแลและการบริการ 5. จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมและมีมาตรฐาน ขั้นติดตามและประเมินผล (Check) 1. แบบประเมินมาตรฐาน/ตัวชี้วัด 2. แบบประเมินความรู้ความเข้าใจของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 3. การสังเกตการมีส่วนร่วม ขั้นการปรับปรุง (Act) 1. ประเมินมาตรฐาน/ตัวชี้วัด 2. ประเมินความรู้ความเข้าใจของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 3. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานและวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาในวงรอบต่อไป 4. ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง