ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๖๓
ผู้แต่ง : นางสาวนันธิดา ขันทะมูล นายคมกริช โภคสวัสดิ์ นางสาวลลิตา นามศักาด ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโรคที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุด ในประเทศไทย จำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งตับ และท่อน้ำดีมากกว่าปีละ 28,000 คน หรือ 80 คน ต่อวัน และมากกว่าร้อยละ 70 เป็นมะเร็งตับชนิดมะเร็งท่อน้ำเกือบร้อยละ 5 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งตับทั่วโลกหรือมีปีละ 600,000 คน ซึ่งนับว่าสูงมาก (มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี, 2559) จากสถานการณ์การเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ แล้วทำให้เกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี พบการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในผู้ป่วยอายุมากกว่า 40 ปี ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 70 สถิติการเกิดโรคอยู่ ระหว่าง 93 – 318 คนต่อแสนประชากรต่อปี โดย เพศชายจะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงกว่า เพศหญิงโดยสถานการณ์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี อัตรา ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีใน จังหวัดกาฬสินธุ์ พบ 50.9 ต่อแสนประชากร โดย การคัดกรองจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผลการคัดกรองพบว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ พบอัตรา การเสียชีวิตรองลงมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด พบ 54.89 ต่อแสนประชากร (กรมควบคุมโรค, 2556) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคาดว่าติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 1.5 – 2 ล้านคน จังหวัดกาฬสินธุ์พบประชาชนติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับคิดเป็นร้อยละ 22.3 สูงเป็นอันดับ 1 ของพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 7 ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ (เกษร แถวโนนงิ้ว และคณะ, 2558) ในระดับตำบล ปี 2559 ตำบลยางอู้มได้ ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิในตับในประชาชนกลุ่มเสียง จำนวน 103 คน พบ 13 คน คิดเป็นร้อยละ 12.6 ของประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง จากปัญหาดังกล่าวจึงนํามาสู่วิธีการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลยางอู้ม ร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายให้ความสําคัญด้านนโยบาย และสนับสนุนงบประมาณต่างๆ ในการร่วมสร้างจิตสํานึกที่ดีในระดับครอบครัวในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลยางอู้ม  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตตำบลยางอู้ม อายุ 40 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 จำนวน 63 คน  
เครื่องมือ : ร้อยละ และ t-test  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning)1.ศึกษาบริบท และเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน 2.ศึกษาหมู่บ้านต้นแบบด้านการดำเนินงาน 3.ประชุมเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ ( pre-test) 4.ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการโดยกระบวนการว่างแผนแบบมีส่วนร่วมและการ ใช้เครื่องมือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SRM) การสร้างเครือข่ายในการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับในระดับชุมชน 5.แผนการปฏิบัติงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Action ) 6.ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้จากแผนปฏิบัติการขั้นที่ 1 (Actioplan) ขั้นตอนที่ 3 สังเกตผลการปฏิบัติ (Observation) 7.ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(In-depth Interview) 8.สังเกตการมีส่วนรวมของแกนนำในการร่วมดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ และติดตาม กำกับ สรุปและประเมินผล ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผล(Reflection) 9. จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อถอดบทเรียน สะท้อนผลข้อมูลการปฏิบัติงานคืนข้อมูลสู่ชุมชน 10.สรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปัญหา 11.ประเมินความรู้ การมีส่วนร่วม หลังการดำเนินการพัฒนา (post-test)  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง