|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : คุณลักษณะส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มประมงแพสะดุ้งในเขื่อนลำปาว พื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ทวิช วงค์ไชยชาญ,มลิ สุขภานิด |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทยพบว่า ในเพศชายมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มากเป็นอันดับ ๑ (๔๐.๓ ต่อประชากรแสนคน) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าทั้งเพศชายและหญิง มีอัตราการเกิดโรคมะเร้งตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นอันดับ ๑ นอกจากนี้ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จำนวน ๑๔,๔๖๙ คน คิดเป็นอัตรา ๒๒.๕ ต่อแสนประชาการ เป็นเพศชาย ๑๐,๓๘๐ คน เพศหญิง ๔,๐๘๙ คน อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีปัญหาเรื่องการบันทึกข้อมูลที่มารับบริการที่โรงพยาบาลยังไม่ครอบคลุม ทำให้ข้อมูลจำนวนหนึ่งไม่ได้ถูกรายงานในระบบของกระทรวงสาธารณสุข และคาดประมาณว่า ๗๐ % ของรายงานมะเร็งดังกล่าวเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ดังนั้นในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีไม่ต่ำกว่า ๒๐,๐๐๐ คน
ประชาชนเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ จากการกินอาหารประเภทปลาน้ำจืดเกล็ดขาว(ตระกูลปลาตะเพียน) เมนูปรุงดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ หรือที่มีตัวอ่อนของพยาธิปนเปื้อน และกลุ่มที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งท่อน้ำดี และมีโอกาสเสียชีวิตได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนในประเทศไทยที่เป็นโคพยาธิใบไม้ตับมีประมาณ ๖ ล้านคน และประชากรกลุ่มนี้จะพัฒนามะเร็งท่อน้ำดีในระยะเวลาประมาณ ๒๐ – ๓๐ ปีข้างหน้า โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบผู้เป็นพยาธิใบไม้ตับ ๑๘.๖ % ภาคเหนือ ๑๐.๐ % ภาคกลางและภาคใต้พบต่ำกว่า ๕ % จากการรายงานศึกษาวิจัยพบว่าอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในอิสานเหนือมีค่าเฉลี่ย ๒๒.๕ % อัตราการติดเชื้อใบไม้ในตับสูงสุด ๘๐ %
จากการสำรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ในปี ๒๕๖๒ ในตำบลดงสมบูรณ์ จำนวน ๖๕๘ คน พบว่าประชาชนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจำนวน ๖๕๕ คิดเป็น ๙๙.๕๔ % ประกอบกับภูมิศาสตร์ของพื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ติดกับเขื่อนลำปาวและมีประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงน้ำจืดโดยใช้แพสะดุ้ง จำนวน 124 หลัง ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้จะอาศัยในแพสะดุ้งเป็นประจำ มีการปรุง ประกอบอาหาร การขับถ่ายภายในแพสะดุ้ง และยังบริโภคส้มตำปลาร้าดิบ แจ่วบองปลาร้าดิบ ปลาส้มดิบ และก้อยปลาดิบ/ลาบปลาดิบ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงน้ำจืดโดยใช้แพสะดุ้งมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีมาก ผู้วิจัยจึงให้ความสำคัญ และสนใจที่จะศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชากรกลุ่มประมงแพสะดุ้ง ในเขื่อนลำปาว พื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมถึงศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการ เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการวางแผน พัฒนาและสนับสนุนการปฏิบัติงานเสริมสร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพในด้านการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์หลัก
1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มประมงแพสะดุ้งในเขื่อนลำปาว พื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มประมงแพสะดุ้งในเขื่อนลำปาว พื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มประมงแพสะดุ้งในเขื่อนลำปาว พื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มประมงแพสะดุ้งในเขื่อนลำปาว พื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่ประกอบอาชีพประมงแพสะดุ้ง บริเวณเขื่อนลำปาว จำนวน 124 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม และ แนวทางการสนทนากลุ่ม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) ในเขตพื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่ประกอบอาชีพประมงแพสะดุ้ง บริเวณเขื่อนลำปาว จำนวน 124 คน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 30 ธันวาคม 2563 ระยะเวลา 7 เดือน
วิธีดำเนินการวิจัย และการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ระยะเตรียมการ ผู้วิจัยเตรียมก่อนการวิจัย ดังนี้
1.1 จัดทำโครงการวิจัย
1.2 สร้างเครื่องมือ (แบบสอบถาม, แนวทางการสนทนากลุ่ม)
1.3 ขออนุมัติจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
2. ระยะการดำเนินการ
2.1 เก็บรวบรวมข้อมูล
2.2 วิเคราะห์ข้อมูล
2.3 เขียนรายงานการวิจัย
2.4 เขียนบทความการวิจัย
2.5 เผยแพร่บทความการวิจัย |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|