ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ยา/สารเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน
ผู้แต่ง : รื่นฤดี เพาะนาไร่และคณะ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : จากสถานการณ์ปัจจุบัน มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งในครอบครัว ชุมชน โดยพบว่าผู้ที่ก่อเหตุ มีประวัติเป็นผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ป่วยที่เสพสารเสพติด ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อัตราก่อความรุนแรงสูงกว่าปกติ ได้แก่ การขาดการรักษาต่อเนื่อง ,ปัญหาการใช้สารเสพติด บางรายอาจจะก่ออันตรายทั้งตนเองและผู้อื่น ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง มีผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ในปี 2561 จำนวน 7 ราย , ปี 2562 จำนวน 9 ราย และ 2 ใน 9 รายทำร้ายตนเองด้วยวิธีรุนแรง มุ่งหวังให้เสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 22 ดังนั้น การวงาระบบเพื่อนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการการักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อชุมชนและผู้ป่วยเอง  
วัตถุประสงค์ : 1.ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ 2.ไม่เกิดภาวะอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่นในชุมชน 3.ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ลงมือทำร้ายตนเองด้วยวิธีรุนแรงหรือมุ่งหวังให้เสียชีวิต ≤ ร้อยละ 20  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง 16 ราย  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.มีการประเมินเบื้องต้นผู้ป่วย SMIV - มีประวัติทำร้ายตนเองด้วยวิธีรุนแรง มุ่งหวังให้เสียชีวิต - มีประวัติทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรง / ก่อความรุนแรงในชุมชน - ผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิด มีความคิดทำร้ายผู้อื่นให้ถึงแก่ชีวิต หรือมุ่งร้ายผู้อื่นแบบเฉพาะเจาะจง - เคยมีประวัติก่อคดีอาญารุนแรง 2.แจ้งข้อมูลผู้ป่วย ไปยังเครือข่ายระดับอำเภอ หน่วยบริการ 3.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปกครอง 4. ประชุมทีมเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้อง จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วย ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง  
     
ผลการศึกษา : หลังจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ร่วมกับทีมเครือข่าย พบว่า ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาเป็นระบบ ชัดเจน รวดเร็วขึ้น ในปี 2563 มีผู้ป่วย SMIV จำนวน 5 ราย ในจำนวน 5 รายไม่มีการลงมือทำร้ายด้วยวิธีรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 0  
ข้อเสนอแนะ : พัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการก่อความรุนแรงซ้ำ โดยให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ติดตามผู้ป่วย (อาการเตือน ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ เช่น อยู่ในภาวะอารมณ์รุนแรง อาจเกิดจากการถูกขัดใจ ตำหนิดุด่า เป็นต้น)  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)