|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การส่งเสริมการมาฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ ๑๒สัปดาห์ คปสอ.ห้วยผึ้ง |
ผู้แต่ง : |
นางประไพพรรณ ใจอักษร ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การดูแลสุขภาพแม่ขณะตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ เมื่อแม่เริ่มตั้งครรภ์จะต้องมีความรู้ในการปฏิบัติตัว รวมทั้งได้รับการคัดกรองและดูแลภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งการได้รับบริการต่างๆตามมาตรฐานของการฝากครรภ์ รวมทั้งบุคลากรผู้ให้บริการจะต้องมีความรู้และทักษะดังนั้นจึงจำเป็นที่หญิงตั้งครรภ์จะต้องมารับบริการฝากครรภ์ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรมาฝากครรภ์อายุครรภ์ต่ำกว่า ๑๒ สัปดาห์ ในการนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งอสม. ผู้นำชุมชน และสถานบริการสาธารณสุข ชึ่งเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขมีตัวชี้วัดให้เป้าหมายการมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์มีอัตรามากกว่าร้อยละ ๖๐ คปสอ.ห้วยผึ้งผลงาน ๓ ปีย้อนหลัง ปี๒๕๕๖/๒๕๕๗/๒๕๕๘;๕๗.๑๔/๔๐.๙๒/๖๖.๙๒ ตามลำดับ |
|
วัตถุประสงค์ : |
๑.เพื่อให้อัตราการฝากครรภ์ <๑๒ สัปดาห์เพิ่มขึ้น
๒.เพื่อให้มีแนวทางการปฏิบัติร่วมกันและมีเครือข่ายในการดูแล ส่งต่อ
๓.แม่ที่มีภาวะเสี่ยงและได้รับการคัดกรอง ดูแลส่งต่อที่มีมาตรฐาน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดโรงพยาบาลห้วยผึ้งทั้งหมด |
|
เครื่องมือ : |
แนวทางปฏิบัติ(CPG)และเครือข่ายร่วมกัน ประเมินจากผลอัตราการฝากครรภ์อายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.ประชุมคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ทบทวนการดูแลอนามัยมารดา อัตราการฝากครรภ์ การคลอด ภาวะแทรกซ้อนต่างๆของมาดาที่จะต้องเฝ้าระวัง
๒.คืนข้อมูลสถานสุขภาพของมารดาและทารกแต่ละพื้นที่ พร้อมทบทวนแนวทางปฏิบัติร่วมกันพร้อมหาจุดที่จะต้องเติมเต็มร่วมกัน
๓.แต่ละพื้นที่สถานบริการจัดประชุมคืนข้อมูลสู่ชุมชนพร้อมสร้างกลุ่มจิตอาสาแม่และเด็กให้มีหน้าที่ ค้นหา หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ติดตามเยี่ยมและส่งต่อในรายที่มีปัญหา
๔.พัฒนาทีมบุคคลากรที่ให้บริการให้มีทักษะและแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน
๕.ให้บริการที่มีมาตรฐาน
๖.ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่จำเป็น
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ข้อมูลจากทะเบียนคลอดโรงพยาบาลห้วยผึ้ง เดือน 1 ตุลาคม 2555- 30กันยายน 2558
ตัวชี้วัด ปี2556 ปี2557 .ปี2558
คลอดทั้งหมด 119 ร้อยละ 110 ร้อยละ 130 ร้อยละ
ANC<12wks 68 57.14 45 40.91 87 66.92
5ครั้งคุณภาพ 64 53.78 35 31.82 79 60.77
แม่อายุ<20ปี 19 15.97 37 33.64 20 15.38
G2ซ้ำ<20ปี 1 5.26 2 5.41 3 15.00
จากการดำเนินงานพบว่า อัตราการฝากครรภ์ ANC<12wks มีแนวโน้มสูงขึ้นแต่ยังน้อยกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 80 การฝากครรภ์ 5ครั้งคุณภาพ แนวโน้มดีขึ้น ค่อนข้างมาก แต่แม่อายุต่ำกว่า 20 ปี และแม่อายุต่ำกว่า 20 ปี ท้องครั้งที่ 2 ยังมีอัตราคงที่
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
จากผลการดำเนินงานพบว่า ในตัวชี้วัดบางเรื่องมีแนวโน้มดีขึ้น จึงควรดำเนินการในเรื่องนั้นต่อไป ตลอดจนมีการปรับปรุงแนวทางในการปฎิบัติ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเพิ่มขึ้นแต่ในบางเรื่อง เช่น แม่อายุต่ำกว่า 20 ปี และแม่อายุต่ำกว่า 20 ปี ท้องครั้งที่ 2 ยังมีผลงานไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรปรับปรุงตลอดจนหาแนวทางดำเนินงาน เพื่อให้เหาะสมกับบริบทของพื้นที่ ที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ของโลกปัจจุบัน |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|