|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : แผ่นรอง Crosstable |
ผู้แต่ง : |
นางทัศวรรณ สกุลเดช |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากอุบัติการณ์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการเอกซเรย์ เรื่องของผู้ป่วยที่ head injury เข้ามารับการเอกซเรย์ในท่า skull series และ c-spine AP-Lateral ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถนอนตะแครงในท่า Lateral ทำให้ไม่สามรถจะเอกซเรย์ในท่าปกติได้ เดิมหน่วยงานใช้วิธีเอาถังน้ำมาช่วยในการตั้งฟิล์มในท่า Lateral crossteble แต่มีปัญหาตรงที่ฟิล์มตั้งไม่ตรงเอียงซ้าย-ขวา หรือถังน้ำล้มฟิล์มตกจากเตียงทำให้ Cassette เสื่อมสภาพเร็ว หรือต้องให้ญาติผู้ป่วยช่วยในการจับทำให้ญาติต้องได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น
หน่วยงานจึงได้คิดค้นนวัตกรรมตัวรองหลังที่ชื่อ แผ่นรอง Crosstable ซึ่งจะช่วยในการถ่ายภาพ skull series และ c-spine AP-Lateral ทำเป็น Lateral crossteble ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการ fractureของกระดูกเพิ่มและลดการเปลี่ยนแปลงขณะทำการเอกซเรย์ และลดภาวะเสี่ยงจากรังสีสำหรับญาติหรือเจ้าหน้าที่ เมื่อต้องจับยืน หรือ ประครองผู้ป่วยขณะเอกซเรย์ และเพิ่มคุณภาพภาพทางรังสีเพื่อการวินิจฉัยของแพทย์
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำจากการเคลื่อนเลื่อนหลุดของกระดูก
2. เพื่อลดปัญหาการถ่ายภาพรังสีซ้ำและการได้รับรังสีที่ไม่จำเป็นสำหรับญาติและพนักงานเปล
3. เพื่อให้ได้ฟิล์มเอกซเรย์มีคุณภาพ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง(ฟิล์ม มีความชัดเจน)
4. ลดระยะเวลาการถ่ายภาพเอกซเรย์ (การจัดท่า จัดให้ยืน มีคนช่วยพยุง ช่วยประครองขณะยืน)
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องรับการเอ็กซเรย์ทุกราย |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. หน่วยงานร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อ หา จุดอ่อน ของกระบวนการ หรือ สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอุบัติการณ์ขึ้น เริ่มจากคำถามว่า ทำอย่างไร จะลดภาวะเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขณะทำการเอกซเรย์ ข้อสรุปว่า ควรมีเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ช่วยโดยไม่ต้องใช้คน
2. การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
วัสดุ ประกอบด้วย
1. แผ่นโฟม
2. กระดาษโปสเตอร์เคลือบพาสติกที่ไม่ใช้แล้ว
3. แลคซีน
4. ที่คั่นหนังสือ
ขั้นตอนการพัฒนา
1. นำแผ่นโฟมมาตัดให้ขนาด 12 X 13 นิ้ว
2. นำแผ่นโปสเตอร์มาห่อหุ้มให้แน่น
3. นำแลคซีนมาพันติดปิดรอยต่อของโปสเตอร์กันน้ำเข้า
4. นำที่คั่นหนังสือมาประกอบเข้าไป
5. นำไปทดสอบประสิทธิภาพ โดยการทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน ๑ ราย ประเมินปัญหา และข้อบกพร่องก่อนนำไปพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
6. นำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ในการเอกซเรย์แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการ
3. เก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ผล ดังนี้
3.1 ประเมินผลคุณภาพฟิล์มก่อนส่งให้แพทย์ประกอบการวินิจฉัย ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
1. มีการตรวจสอบคุณภาพภาพรังสีเบื้องต้นโดยนักรังสีการแพทย์ก่อนส่งให้แพทย์วินิจฉัย
2. มีการตรวจสอบคุณภาพร่วมกับสอบถามความพึงพอใจของแพทย์
3.2 ประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการเดือนละ 1 ครั้ง
3.3 มีแบบบันทึกเวลาในการให้บริการ
4. สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เดือน มิถุนายน 2563 เดือน กรกฎาคม2563
ผู้ป่วยทั้งหมด(ราย) ผลงาน ผู้ป่วยทั้งหมด(ราย) ผลงาน
1. จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติการณ์ผู้ป่วยมีอาการทรุดหนัก/อาการเปลี่ยนแปลง ขณะเอกซเรย์ 0 300 0 400 0
2. ร้อยละของฟิล์มเอกซเรย์มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ100
0 0
3. ระยะเวลาของการถ่ายภาพเอกซเรย์ลดลง 10 นาที 5 5
4. ร้อยละความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 80 80
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ในการสร้างอุปกรณ์นี้ขึ้นมาเพื่อให้บริการทางด้านรังสีวินิจฉัยซึ่งจะเป็นการรักษาที่มีรูปแบบที่ไม่ตายตัวสามารถปรับแผนปรับรูปแบบไปตามลักษณะอาการและสภาพของผู้ป่วย ดังนั้นการจัดทำนวัตกรรมเข้ามาก็เพื่อช่วยลดอัตราภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยนั้นก็เพื่อคุณภาพในการให้บริการผู้ป่วย และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำตัวนวัตกรรมเพราะอุปกรณ์ทุกชิ้นที่นำมาใช้เป็นการนำวัสดุมา Reuse ใหม่ซึ่งทุกชิ้นเป็นของที่ไม่ใช้แล้วสามารถนำมาประกอบและใช้งานได้จริงและช่วยประหยัดงบประมาณได้ด้วย
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|