|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาวิธีการจัดทำ เบิก OT |
ผู้แต่ง : |
สุวิชา ชูศรียิ่งและคณะ |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
กระบวนการเบิกค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ของ หน่วยงานต่างๆ ของ โรงพยาบาลห้วยผึ้งนั้น
หน่วยงาน แต่ละงาน จะเป็นผู้จัดทำ และยื่นเบิก ที่งานการเงิน ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดมา กลุ่มการพยาบาล มี บุคลากรพยาบาล (พยาบาล+พนักงานชายหญิง) จำนวน 51 คน ในจำนวนนี้ 45 คน มีเวรค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ มีเวรค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ปัญหาที่พบจากการจัดทำเอกสารส่งเบิก คือ 1) เซนต์ชื่อปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง 2)จำนวนเวร ไม่ถูกต้อง ตาม ยอดรวมของ ตารางปฏิบัติงานที่จัดไว้ 3) key ข้อมูลเวร ไม่ถูกต้อง เอกสารถูกส่งกลับมาแก้ไข และ4) ใช้เวลาประมาณ 5-6 ช.ม. ในการตรวจสอบ และจัดทำเอกสาร ซึ่งทั้ง 4 ปัญหา ทำให้เกิดความล่าช้า ในการส่งเบิก และเพิ่มภาระงาน ผู้รับผิดชอบจัดทำการค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ จึงทบทวนกระบวนการ (การตามรอย)ทั้งหมด และปรับวิธีการจัดทำ ด้วยกิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อน & ขึ้นเวร ให้ลงเวร & ข้อมูลถูกใจ ค่าตอบแทน จะได้ไว หลังจากดำเนินกิจกรรม นี้ พบว่า กลุ่มการพยาบาล สามารถส่งเบิกค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดมา ผู้รับผิดชอบจัดทำใช้เวลาในการตรวจสอบ และจัดทำเอกสาร ลดลง เป็นโดยเฉลี่ย 3.30 ช.ม. อุบัติการณ์ เอกสารถูกส่งกลับมาแก้ไข ภายใน 6 เดือน จำนวน 2 ครั้ง (เดิม แก้ไข ทุกเดือน)
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อ การจัดการ การเบิกค่าตอบแทนนอกเวลาราชการที่ถูกต้อง
2. เพื่อลดระยะเวลา การตรวจสอบ และจัดทำเอกสาร
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. พยาบาล ที่ขึ้นเวรนอกเวลาราชการ จำนวน 45 คน
2. พนักงานชายหญิง ที่ขึ้นเวรนอกเวลาราชการ จำนวน 18 คน
|
|
เครื่องมือ : |
การประชุมกลุ่ม โดยใช้ tree diagram เพื่อ ค้นหาสาเหตุ ของปัญหา เพื่อเลือกการจัดการ ที่จะเหมาะสม และชี้แจ้ง การดำเนินงานตามกิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อน & ขึ้นเวร ให้ลงเวร & ข้อมูลถูกใจ ค่าตอบแทน จะได้ไว |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ประชุมกลุ่ม (Brain storming)
1. Plan : ตามรอยระบบ การ จัดทำเอกสาร เบิกค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ แล้วใช้ tree diagram เพื่อเปลี่ยน ปัญหา ให้เป็นวัตถุประสงค์ ที่ต้องการ แล้ว นำมาจัดการด้วยวิธีการใหม่
2. DO : การตามรอยระบบ พบว่า
1.เซนต์ชื่อปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง
เกิดจาก -เซนต์ชื่อเวรไม่เป็นปัจจุบัน (เซนต์ย้อนหลัง มีการแลกเปลี่ยน+ขายเวร )
2.จำนวนเวรนอกเวลาราชการ ไม่ถูกต้อง ตามยอดรวม ของ ตารางเวร ที่จัดไว้
เกิดจาก -นับเวร ไม่ถูกต้อง
-มีการแลกเปลี่ยนเวรแล้วลืมเขียนข้อมูล ทำให้เวรซ้ำกับผู้อื่น
3.key ข้อมูลเวร ไม่ถูกต้อง เอกสาร ถูกส่งกลับมาแก้ไข
เกิดจาก -ถ้าผิดพลาดจากการ check เวร จะทำให้ key เวรผิด
- key ไม่ถูกต้อง
4.การใช้ระยะเวลาการจัดทำ และตรวจสอบ เอกสาร
เมื่อข้อมูลเวร ไม่ครบ ไม่ถูกต้อง : ต้อง check จากการ เซนต์ชื่อ สมุดเหตุการณ์ในเวร เทียบกับตารางเวร ถ้าถูกต้อง จึง key ข้อมูล
แนวทางใหม่
1.กำหนดให้ พยาบาล พนักงานชายหญิง ลงข้อมูลเวร ในสมุดร่วมด้วยช่วยกัน
2. สอนวิธีการนับเวร OT เวรบ่ายดึก (สอนโดย หัวหน้าพยาบาล )
3.ให้ทุกคน นับสรุปเวร OT/ค่าเวรบ่ายดึก/เวรE แล้วลงลายมือชื่อ ยืนยัน ว่าข้อมูลถูกต้อง
กำหนด ให้เสร็จ ภายใน วันที่ 2 ของเดือนถัดมา
4. ตรวจสอบ ข้อมูลเวร แผนก ER-LR โดย ดวงพร และทิพวรรณ แผนกผู้ป่วยใน โดย กนกพร
และ พนักงานชายหญิง โดย รุ่งสงัฐ และวันดี และทุกแผนก ตรวจสอบซ้ำ โดย สุวิชา
5. การ key ข้อมูล ทำเบิก โดย I :รุ่งสงัฐ/กนกพร
II : สุวิชา ผู้ key ข้อมูล
III : หัวหน้าพยาบาล
3. Study: 1. สื่อสาร ด้วยการประชุมชี้แจง
2. ดำเนินการ ตามขั้นตอนที่วางไว้
4. Act :
ประเมินผล ครั้งที่ 1 : พบว่า ลืมเซนต์ชื่อ แก้ไข โดย ให้ เพื่อนที่ขึ้นเวรด้วยกันช่วยตรวจสอบ และพบว่า นับเวร ไม่ถูกต้อง สอนวิธีการนับเวร OT เวรบ่ายดึก อีกครั้ง (สอนรายบุคคล) ใช้เวลา ประมาณ 5 ช.ม. ในการจัดทำ และตรวจสอบ เอกสาร
ประเมินผลครั้งที่ 2 : มีนาคม 63 พบว่า เซนต์ชื่อครบทุกคน ทุกเวร มีการนับจำนวน OT และค่าเวรบ่ายดึก ถูกต้อง
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
เก็บข้อมูล ระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 –มีนาคม 2563
ผลการดำเนินงาน พบว่า กิจกรรมนี้ บรรลุตามเกณฑ์ บุคลากร กลุ่มการพยาบาล ลง ข้อมูลเวร OT
และเวรบ่ายดึก ได้ถูกต้อง ทำให้ลดระยะเวลาเวลาในการตรวจสอบ จากเดิมใช้เวลา 5-6 ช.ม. ลดลงเฉลี่ย
3.30 ช.ม. และจัดทำเอกสาร และอุบัติการณ์ เอกสารถูกส่งกลับมาแก้ไข ภายใน 6 เดือน มีจำนวน 2
ครั้ง จากเดิม แก้ไข ทุกเดือน
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรนำการตามรอย (Tracer) มาใช้ในการค้นหาสาเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาในระบบการทำงาน และทำให้แก้ไข ได้ถูกต้อง |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|