ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รอยเท้านี้ที่ใช่
ผู้แต่ง : อภิญญา กองอุดม ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในการถ่ายภาพ Chest PA Upright จะมีปัญหาเกือบทุกรายเพราะผู้ป่วยไม่ทราบจุดยืนที่จะยืนทำการเอ็กซเรย์ Chest PA Upright ที่ชัดเจนทำให้เกิดการสับสนไม่ทราบว่าจะยืนหันหน้าเข้าหรือยืนหันหน้าออก หรือจะต้องขึ้นนอนบนเตียง หน่วยงานเอ็กซ์เรย์จึงได้หาแนวทางวิธีที่เข้าใจง่ายขึ้นโดยการจัดทำเป็นรูปรอยเท้า ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปรอยเท้าสีแดง หันหน้าเข้าหา bucky stand chest สามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าใจง่ายและทำตามได้โดยไม่ต้องอธิบายซ้ำ และยังช่วยลดเวลาในการยืนถ่ายเอ็กซ์เรย์ผู้ป่วย มีความเข้าใจและพึงพอใจ 1.จากที่ผ่านมามีปัญหาความไม่เข้าใจของผู้รับบริการ ไม่ทราบจุดยืนเอ็กซเรย์ที่ชัดเจน 2.เสียเวลาในการทำความเข้าใจของผู้ป่วย 3.ทำให้เสียเวลาในการอธิบายและทำให้ได้รับบริการช้าซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยในการถ่ายภาพ Chest PA Upright ทุกรายเฉลี่ยประมาณ 8 นาที ดังนั้นหน่วยงานจึงได้กำหนดแนวทางพัฒนาให้เวลาบริการสั้นลง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดขั้นตอนและเวลาการบริการของผู้ป่วย  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มารับบริการเอกซ์เรย์ในโรงพยาบาลนามน  
เครื่องมือ : - รอยเท้าสีแดงใช้ประกอบการจัดท่าเอ็กซ์เรย์ - แบบสอบถามความพึงพอใจ - นาฬิกาจับเวลา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : - ทบทวนการจัดท่าสำหรับผู้รับบริการ - จัดทำรอยเท้าสีแดงใช้ประกอบการจัดท่าเอ็กซ์เรย์ - ผู้ป่วยเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้  
     
ผลการศึกษา : - สามารถลดเวลาในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ Chest PA Upright จากเคยใช้เวลา 8 นาที เหลือเพียง 5 นาที - ผู้รับบริการเข้าใจสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย - ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ≥ 85%  
ข้อเสนอแนะ : การให้บริการต่างๆจะให้เฉพาะคำแนะนำและการอธิบายนั้นอาจจะยังไม่พอสำหรับผู้รับบริการจะต้องมีการเสริมรูปแบบสัญลักษณ์และรูปภาพเพื่อความเข้าใจง่ายซึ่งการถ่ายภาพ Chest PA Upright ยังจะต้องหาแนวทางเพื่อที่จะมาพัฒนาคุณภาพฟิล์มต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)