ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนารูปแบบการจัดบริการ AIR คลินิก แบบบูรณาการ เพื่อลดข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง
ผู้แต่ง : ผ่องใส ก้องเวหาและคณะ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสสายพันธ์ (โควิด -19) ทำให้สถานบริการต้องมีกาจัดบริการแบบ New Normal เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ โดยการคัดกรองผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจแยกออกจากกลุ่มผู้ป่วยทั่วไป ให้มารับบริการที่ AIR คลินิก ซึ่งมีรูปแบบการจัดบริการแบบ One Stop Service โดยแนวทางถูกกำหนดให้มีการให้บริการโดยสหวิชาชีพ เช่น เจาะเลือด โดยนักเทคนิคการแพทย์ จ่ายยา โดยเภสัชกร แต่เนื่องจากการจัดบริการตามมาตรฐานดังกล่าวมีข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง จึงได้เกิดแนวทางการจัดบริการ AIR คลินิก แบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดคุณภาพบริการภายใต้บริบท และข้อจำกัดขององค์กร  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการ AIR คลินิก แบบบูรณาการ เพื่อลดข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง  
กลุ่มเป้าหมาย : AIR คลินิก  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดตั้งคลินิกAIR แยกจากตึกผู้ป่วยนอก โดยเน้นสถานที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก 2. ประสานกับงานผู้ป่วยนอกในการกำหนดแนวทางการให้บริการ โดยหากจุดคัดแยกผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ดังนี้ ให้แยกผู้ป่วยส่งเข้าสู่คลินิกทันที 2.1 ผู้ป่วยมีไข้ ไอ หรือน้ำมูก เจ็บคอ(ระบบทางเดินหายใจ) ปวดเมื่อยตัว+ไข้ จัดในระดับความรุนแรง สีเขียว (ไม่หอบ ไม่มีไข้สูง ลักษณะไม่เหนื่อยมาก) 2.2 ผู้ป่วยเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงโควิด-19 2.3 มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย และอาการไข้ ไอ น้ำหนักลด ที่สงสัยวัณโรค รวมทั้งมาฟังผลตรวจเสมหะ 3. จัดเจ้าหน้าที่ พยาบาลประจำวันปฏิบัติงานวันละ 1 คน แยกจากพยาบาลผู้ป่วยนอก โดยให้บริการบูรณาการ แบบ One Stop Service 4. จัดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ยา และเวชภัณฑ์ อุปกรณ์เจาะเลือด เท่าที่จำเป็น และสามารถเคลื่อนย้ายได้ 5. บริการผู้ป่วยตามมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ทั้งการแต่งกาย ประกอบด้วยการซักประวัติ การวัดสัญญาณชีพ การให้คำแนะนำ การให้ใบนัดหมาย การนั่งรอตรวจ การรับยา การจ่ายค่ารักษา โดยมีผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ใส่ชุดPPE ไปรับยา เวชภัณฑ์ และดำเนินการแทนผู้ป่วย 6. นัดผู้ป่วยเป็นกลุ่มเพื่อให้แพทย์ตรวจวันละ 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1เช้า เวลา 10.30 น.11.30 น. รอบที่ 2 บ่าย เวลา 14.30 น.15.30 น. 7. จัดสถานที่รอตรวจ น้ำดึ่ม ที่ล้างมือ ที่ขากเสมหะ แยกจากผู้ป่วยอื่น รวมเส้นทางการไปเอกซเรย์ ไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยอื่นๆ 8. มีการทำความสะอาดด้วยยาน้ำยาฆ่าเชื้อตามมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายชื้อทุกวัน 9. บันทึกเวชระเบียนในคอมพิวเตอร์และ สรุปรายงานประจำวัน  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงาน จำนวน (ราย) ตรวจรักษาผู้ป่วย ARI+PUI ในคลินิกARI 205 คัดกรองผิดพลาดทำให้มีผู้ป่วยที่สงสัย ARI และPUI ไปคัดกรองที่แผนกผู้ป่วยนอก 3  
ข้อเสนอแนะ : พัฒนาสถานที่ ให้ดีขึ้น ไม่มีน้ำขังพื้น -พัฒนาการแจ้งผู้ป่วยเรื่องการรอตรวจเป็นระยะๆเพื่อให้ผู้ป่วยพึงพอใจ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)