ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : สรุปโครงการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในกระแสเลือดเกษตรกร บ้านหนองอีบุตร หมู่ที่ 2 ประจำปี 2559
ผู้แต่ง : กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพสุขภาพระดับท้องถิ่น เทศบาลหนองอีบุตร ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค จากข้อมูลการตรวจพบสารพิษตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกรตำบลหนองอีบุตรที่ทำการเกษตรในปี 2558 ที่ผ่านมาจำนวน 295 คน พบว่า ร้อยละ 51.86 มีผลตรวจอยู่ในระดับเสี่ยง และ ร้อยละ 34.57 มีผลตรวจอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย จึงเป็นปัจจัยที่บ้านหนองอีบุตร หมู่ที่ 2 เลือดทำโครงการจัดการปัญหาเกี่ยวกับสารเคมีทางการเกษตร  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด 2. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร 3. เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการใช้สารเคมีในการเกษตร หมู่ที่ 2 ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธ์ุ  
เครื่องมือ : ชุดตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกร แบบคัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี สื่อในการจัดการอบรม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ประชุมชี้แจงโครงการและวิธีการดำเนินงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 2.คัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี หรือผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรมเพื่อรับการตรวจคัดกรอง 3.ตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายจำนวน 90 คน โดยการเจาะเลือดทางปลายนิ้ว เพื่อนำไปตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดด้วยชุดตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือด (ครั้งที่ 1) 4.จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร 5.ประชุมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 90 คน ที่มีการคัดกรองไว้ และมีการลงนามมาตรการป้องกันการใช้สารมีทางการเกษตรโดยตัวแทนแกนนำหมู่บ้าน 6.จัดทำชาสมุนไพรที่ช่วยขับพิษในร่างกายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้นำไปรับประทาน เพื่อช่วยลดปริมาณสารเคมีในกระแสเลือด 7.ตรวจคัดกรองซ้ำในกลุ่มเป้าหมายจำนวน 90 คน โดยการเจาะเลือดทางปลายนิ้ว เพื่อนำไปตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดด้วยชุดตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือด (ตรวจซ้ำครั้งที่ 2 ) 8.สรุปและนำเสนอผลโครงการตรวจคัดกรองหารสารเคมีในกระแสเลือกของเกษตรกรของหมู่บ้าน  
     
ผลการศึกษา : 1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในกระแสเลือด 2 รอบ คือ รอบที่ 1 ในวันจัดอบรม จำนวน 90 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 และตรวจซ้ำรอบที่ 2 หลังจากอบรม จำนวน 90 คน (กลุ่มเป้าหมายเดิม) คิดเป็นร้อยละ 100 2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น จากการสังเกตและการตอบคำถามของกลุ่มผู้เข้าอบรม 3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถป้องการภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นโดยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีทางการเกษตรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 4. ประชาชนที่รับการตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดทุกคน และได้ทราบผลการตรวจเลือด พร้อมวิธีดูแลตนเอง - โดยผลการตรวจเลือดรอบที่ 1 ปกติจำนวน 0 ราย (ร้อยละ 0.0) , ปลอดภัย 6 ราย (ร้อยละ 6.7) , เสี่ยง 18 ราย (ร้อยละ 20.0) , ไม่ปลอดภัย 66 ราย (ร้อยละ 73.3) และ - ผลการตรวจซ้ำรอบที่ 2 หลังจากได้รับการอบรม และรับประทานสมุนไพร ปกติจำนวน 0 ราย (ร้อยละ 0.0) , ปลอดภัย 8 ราย (ร้อยละ 8.9) , เสี่ยง 58 ราย (ร้อยละ 64.4) , ไม่ปลอดภัย 24 ราย (ร้อยละ 26.7) - จากข้อมูลดังกล่าว ผลรอบที่ 1 มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ทำการตรวจการสารเคมีในกระแสเลือดจากการเจาะปลายนิ้ว มีผลไม่ปลอดภัยค่อนข้างสูงถึง 66 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 73.3 และผลตรวจซ้ำรอบที่ 2 มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจระดับไม่ปลอดภัยลดลง เหลือ 24 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 26.7  
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการติดตามและสอบถามพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ควรมีการดำเนินการครอบคลุมทุกหมู่บ้าน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)