|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม”ข่า”ดี๊ดี “ยุง” หนีห่าง ไม่วางไข่ |
ผู้แต่ง : |
วิทยา ระดาดาษ และคณะ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
สาเหตุหนึ่งที่ทาให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออกทาให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอันเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนใน การรณรงค์ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สาหรับองค์การอนามัยโลก แนะนาให้ใช้ทรายกาจัดลูกน้าใส่ในแหล่งน้ำ เพื่อกาจัดลูกน้ายุงเป็นการป้องกันไม่ให้ยุงที่เป็นพาหะนาโรคหลายชนิดแพร่พันธุ์ได้ แต่จะต้องใช้ในอัตราส่วนที่ถูกต้อง จึงจะกาจัดลูกน้ำยุงได้ คือ ทรายอะเบท 1% ปริมาณ 1 กรัมในน้า 10 ลิตร หรือ 10 กรัม น้า 100 ลิตร เมื่อใส่ในแหล่งน้ำแล้วจะต้องมีความเข้มข้นที่ 1 ส่วนในล้านส่วน ( ppm ) โดยจะออกฤทธิ์ทาลายระบบประสาทและการหายใจของลูกน้ายุงภายใน 1 ชั่วโมง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 3 เดือน
ปัจจุบันการดาเนินงานการป้องกันโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสรวง ได้จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย การใส่ทรายอะเบทในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกๆสามเดือนร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลหนองสรวง แต่ทรายอะเบทนั้นมีจานวนจากัด ไม่สามารถดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ตลอดทั้งปี ดั้งนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสรวงจึงได้จัดการแก้ปัญหานี้โดยการกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มของ อสม. ซึ่งทาได้ง่ายในวันประชุมทุกๆเดือน เพื่อค้นหาวิธีการที่จะนามาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และได้แนวคิดจากภูมิปัญญาเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน สมุนไพรของไทย ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างเช่น หัวข่า มาเป็นทางเลือกในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. เพื่อลดความชุกของลูกน้ายุงลาย
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
หมู่ที่ 8 บ้านนาบง
จำนวน 130 หลังคาเรือน ในช่วงเดือน ตุลาคม 2558 – กันยายน 2559
|
|
เครื่องมือ : |
การใช้ข่า กำจัดลูกน้ำ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมวางแผนดำเนินงานกับ อสม.และภาคีเครือข่าย
2. สำรวจแหล่งที่มาของวัตถุดิบ
3. จัดหาวัสดุ และ สาธิตการนาไปใช้ ให้กับแกนนำที่เกี่ยวข้อง
4. ออกเผยแพร่ให้ความรู้ แนะนำการใช้ให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1. ประชาชนนานวัตกรรมข่า ใช้จานวน 130 หลังคาเรือน อัตราความครอบคลุมร้อยละ 100
2. ประสิทธิภาพในการป้องกันยุงวางไข่ได้นาน 7 วัน
3. ประชาชนมีความพึงพอใจในด้านความสะดวก ประหยัด และปลอดภัยร้อยละ 100
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ในปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสรวง มีแผนการประชาสัมพันธ์การใช้นวัตกรรมข่าป้องกันยุงวางไข่ เพื่อเสนอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|