ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรมชารางจืด ขับสารเคมีในเลือดเกษตรกร
ผู้แต่ง : อังศณา ปัจฉิมา และคณะเจ้าหน้าที่ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองชุมแสง ได้มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรซึ่งจัดเป็นกลุ่มแรงงานหลัก โดยมีการเฝ้าระวังทางสุขภาพของเกษตรกร โดยการคัดกรองความเสี่ยงและตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสและดำเนินงานเฝ้าระวังโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช จากผลการดำเนินการเฝ้าระวังทางสุขภาพเกษตรกรปีงบประมาณ 2556 2557 2558 โดยเจาะเลือดตรวจคัดกรองหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส พบว่า เกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองชุมแสงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้นำเอา “รางจืด” ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของเราที่สามารถปลูกได้เองและหาง่ายในชุมชน มาผลิตเป็นชาชงดื่มเพื่อเป็นแนวทางในการลดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้กับเกษตรกร  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยงและ กลุ่มไม่ปลอดภัย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการใช้ชารางจืด 2. เพื่อประยุกต์ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเอง  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มที่มีผลการตรวจหาสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ที่ประสงค์เข้ารับการขับสารพิษ โดยช้ารางจืด จำนวน ๔๙ ราย  
เครื่องมือ : แบบคัดกรองความเสี่ยงและตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณา คัดเลือกจากกลุ่มที่มีผลการตรวจหาสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 4,353 คน ที่ประสงค์เข้ารับการขับสารพิษ โดยชารางจืด จำนวน 49 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ ร้อยละ และ การทดสอบความสัมพันธ์  
     
ผลการศึกษา : จากการดำเนินงานในการตรวจคัดกรองเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตตำบล จำนวน 14 หมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลล่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองชุมแสงซึ่งมีประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4,353 คน ผลการขับสารเคมีในกระแสเลือดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองชุมแสง ตำบลหนองใหญ่ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรกร จำนวน 229 ราย พบว่า ปกติ จำนวน 30 คน ปลอดภัย จำนวน 43 คน มีความเสี่ยง จำนวน 99 คน และไม่ปลอดภัย จำนวน 57 คน จึงได้นำกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่ประสงค์จะเข้ารับบริการขจัดสารเคมีในเลือด จำนวน 49 ราย เข้ารับการ Detox การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง จากกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดเกษตรกร จำนวน 4,353 คน พบว่า ปกติ จำนวน 30 คน ปลอดภัย จำนวน 43 คน มีความเสี่ยง จำนวน 99 คน ไม่ปลอดภัย จำนวน 57 คน การให้ความรู้ คำแนะนำในการปฏิบัติตน กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้ในเรื่องสารเคมี ทั้งวิธีการใช้ วิธีการป้องกันและวิธีการปฏิบัติตนเมื่อได้รับสารเคมีโดยตรงและมีอาการเฉียบพลัน ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย การดื่มชาชงรางจืด โดยกิน เช้า – เย็น ติดต่อกัน 7 วัน พบว่าการ Detox ด้วยวิธีการกินรางจืด สามารถลดสารเคมีในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ได้ ร้อยละ 85.71 ซึ่งสรุปได้ว่ากลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ที่เข้ารับการ Detox โดยวิธีดื่มชาชงรางจืด สามารถลดสารเคมีในกระแสเลือดได้จริง ร้อยละ 85.71  
ข้อเสนอแนะ : 1. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงโทษพิษภัยของสารเคมี และเข้ารับการตรวจคัดกรอง 2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนปลูกรางจืดไว้ในครัวเรือน 3. พัฒนาความรู้ อสม.ให้มีความรู้ ทักษะ ในการแก้ไขปัญหาสารเคมีในเลือดในชุมชน  
     
รางวัลที่ได้รับ : คัดเลือกเข้านำเสนอผลงานกระทรวง ระดับ ระดับจังหวัด  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง