ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการรณรงค์ค้นหาผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559
ผู้แต่ง : กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลคำบง ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในโลก การศึกษาทางระบาดวิทยาและในสัตว์ทดลองแสดงว่าการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และป้องกันได้โดยการงดรับประทานปลาดิบจากแหล่งระบาด มะเร็งท่อน้ำดียังคงเป็นมะเร็งอันดับที่ 1 ที่คร่าชีวิตชาวอีสานในปัจจุบัน เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับ คาดว่ามีผู้ติดพยาธินี้ไม่ต่ำกว่า 9 ล้านคน พยาธิชนิดนี้มีความสำคัญกว่าพยาธิชนิดอื่นๆ ที่ระบาดในประเทศไทย เนื่องจากมีการพิสูจน์ชัดแล้วว่า การติดพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งท่อน้ำดี อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น การติดพยาธิใบไม้ตับช้ำๆ ความหนาแน่นของจำนวนพยาธิที่ติด ความแตกต่างทางพันธุกรรมของตัวพยาธิและของคนในชุมชนที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีมากขึ้น การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับก่อให้เกิดภาวะ การอักเสบแบบเรื้อรังในท่อน้ำดี มีการสร้างสารประกอบอนุมูลอิสระชนิดออกซิเจน และ ไนโตรเจน จำนวนมาก ทำให้เกิดการทำลาย ดีเอ็นเอ ขอบเซลล์เยื่อบุผิวท่อน้ำดี ซึ่งเป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของยีน และเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี โดยสามารถตรวจระดับของเบส บน ดีเอ็นเอ ที่ถูกเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การทำลายดีเอ็นเอ จากอนุมูลอิสระของออกซิเจนและไนโตรเจนตามลำดับ ซึ่งมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุกสูงที่สุดในประเทศไทย และมีแนวโน้มสูงขึ้นครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยในระยะสุดท้าย ยังผลให้มีอัตรารอดชีพต่ำมากโครงการคนกาฬสินธุ์รวมใจลดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2559 นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อคัดกรอง ประชาชนผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยจะคัดกรองในกลุ่มประชาชน กลุ่มอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทุกคน จำนวนประมาณ 240,000 คน โดยใช้แบบสอบถามด้วยวาจา คือ “แบบคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Cholangiocarcinoma careening and care program (CAPCAS) ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ นักการสาธารณสุขจะทราบถึงสถานการณ์กลุ่มเสี่ยง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการคัดกรอง โดย อสม. และบันทึกข้อมูลในระบบ Online โดยเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทุกแห่ง มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยาเพื่อใช้ในการวางแผน ด้านการสาธารณสุข เพื่อลดอัตราความชุก และอัตราตายของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในระยะยาวต่อไป โดยจากการศึกษา ในปี พ.ศ.2557 และ ปี พ.ศ.2558พบว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดกาฬสินธุ์ ความชุก เท่ากับ ร้อยละ 22 และ ร้อยละ 15.02 ตามลำดับ นั้นหมายถึงประชนชนบางกลุ่มยังมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และ ควรมีการ คัดกรอง ให้ความรู้ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 40 ปีและให้การรักษาด้วยยา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกกินปลาดิบ 2.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดโรงเรียนต้นแบบลดโรคพยาธิใบไม้ตับ 3.เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบลดโรคพยาธิใบไม้ตับ  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไป -โรงเรียนประถมศึกษาในเขตรพ.สต.บ้านดงอุดม  
เครื่องมือ : แบบบันทึกลงทะเบียนตรวจคัดกรอง -แบบคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง -แบบบันทึกการติดตามประเมิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. รณรงค์ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปี 2. จัดกิจกรรมโรงเรียนต้นแบบลดโรคพยาธิใบไม้ตับ -รณรงค์ตรวจอุจจาระในเด็กนักเรียนชั้น ป.4 – ป.6 -จัดหลักสูตรให้ความรู้เรื่องพยาธิใบไม้ตับในโรงเรียน 3.จัดทำคู่มือให้สุขศึกษาเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับให้ทีมหมอครอบครัวในหมู่บ้าน 4. จัดกิจกรรมให้สุขศึกษารายครัวเรือนโดยภาคีเครือข่ายหมอครอบครัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนกลุ่มเสี่ยง 5. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพฤติกกรมเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับในหมู่บ้านต้นแบบปลอดโรคพยาธิใบไม้ตับ 6.ประชาคมเพื่อหามาตรการทางชุมชนเพื่อลดโรคพยาธิใบไม้ตับ 5.ประกาศหมู่บ้านต้านแบบปลอดโรคพยาธิใบไม้ตับ  
     
ผลการศึกษา : ตารางที่ 2 ผลการดำเนินงานรณรงค์ตรวจพยาธิกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปี ขึ้นไปแยกรายหมู่บ้าน หมู่ที่ ตรวจ ไม่พบ พบ OV TN HW ใบไม้ลำไส้ ไส้เดือน ST OV/TN OV/HW OV/ไส้เดือน OV/ลำไส้ OV/TN/HW HW/TN สรุปผู้ที่พบOV 1 123 86 37 26 1 10 0 0 0 0 0 0 0 0 0 26 2 148 112 36 26 8 2 0 0 0 0 0 0 0 0 0 26 3 72 38 34 22 11 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 22 4 96 62 34 21 2 4 1 0 1 2 1 1 0 1 0 26 5 55 37 18 9 1 3 0 0 0 2 1 2 0 0 0 13 6 83 52 31 19 4 4 0 0 0 2 1 0 1 0 0 23 7 63 32 31 18 2 4 0 0 0 5 2 0 0 0 0 25 8 133 83 50 30 9 11 0 0 0 0 0 0 0 0 0 30 9 16 12 4 0 0 4 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 10 40 18 22 17 4 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 17 11 132 113 19 13 2 4 0 0 0 0 0 0 0 0 0 13 12 32 30 2 1 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1 13 44 31 13 6 3 0 3 0 0 0 0 0 0 0 1 6 14 79 38 41 24 2 1 0 0 0 3 7 0 2 2 0 38 15 48 29 19 12 3 4 0 0 0 0 0 0 0 0 0 12 รวม 1164 773 391 244 52 54 4 0 1 14 12 3 3 3 1 278 ตารางที่ 3 ผลการตรวจพยาธิในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายโรงเรียนบ้านหนองมะงง หมู่ที่ ตรวจ ไม่พบ พบ OV TN HW ใบไม้ลำไส้ ไส้เดือน ST OV/TN OV/HW OV/ไส้เดือน OV/ลำไส้ OV/TN/HW HW/TN สรุปผู้ที่พบOV ป.4 25 25 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 ป.5 20 20 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 ป.6 18 15 3 3 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 3 สรุปผลการวัดความรู้ในหมู่บ้านต้นแบบจำนวน 25 คน บ้านวังน้ำเย็น ตารางที่ 4 เปรียบเทียบระดับความรู้ก่อนและหลังการอบรมผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิในหมู่บ้านต้นแบบ ความรู้ จำนวนทั้งหมด ก่อนการอบรม หลังการอบรม ดี ปานกลาง น้อย ดี ปานกลาง น้อย ระดับความรู้ 25 9 10 6 19 6 0 ร้อยละ 100 36 % 40% 24 % 76% 24 % 0% จากตารางที่ 4 พบว่ากลุ่มเป้าหมายหลังจากได้รับความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับมี ระดับความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 76 และความรู้อยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 24 และไม่มีผู้ที่มีความรู้อยู่ในระดับน้อยเท่ากับ 0 %  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)