|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับ warfarinโรงพยาบาลหนองกุงศรี |
ผู้แต่ง : |
ปิยะ พลไกรศร |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ยา warfarin เป็นยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ที่จัดเป็นยาในกลุ่ม ยาเสี่ยงสูง (high alert drug) อาการข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะเลือดออก โดยมีปัจจัย หลายด้านมีผลต่อค่า INR เช่น drug interaction ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย การรับประทานอาหารเสริม การได้รับอาหารที่มีวิตามิน K การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เป็นต้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้โรงพยาบาลและสถานบริการระดับปฐมภูมิมีความรู้ ความเข้าใจในระบบ
Warfarin clinic
2. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้ยา Warfarin กินยาได้ถูกต้องและมีความปลอดภัยจากการใช้ยา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองกุงศรี |
|
เครื่องมือ : |
เครื่องชี้วัด 1. .INR ของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ปกติ ( เกณฑ์จังหวัดตั้งไว้ที่ 50 %)
2. ป้องกันและลดอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Warfarin
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
DO 1. ประชุมทีม จัดทำแผนและมีการสรุปงาน Warfarin clinic
2. ประชุมวิชาการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เจ้าหน้าที่ รพ. และ รพสต.
3. เภสัชกรให้การบริบาลผู้ป่วยเรื่องยา ในคลินิกวาร์ฟาริน 1 เดือนต่อครั้ง
4. จัดติดsticker ผู้ป่วยได้รับยา warfarin ใน OPD CARD ทำการออกสมุดประจำตัว
ผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin และ ลงข้อมูล Pop up alert ในระบบ Hosxpในผู้ป่วยทีมีการใช้ยา warfarin
CHECK 1. หลังจากได้พัฒนาระบบบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยวาร์ฟาริน พบว่าผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจด้านยาและการปฏิบัติตัวรวมถึงอาการไม่พึงประสงค์จากยามากขึ้น
2. ลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาวาร์ฟาริน
3.ลดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง (major bleeding) น้อยกว่าร้อยละ 5
4.INR ที่อยู่ในช่วงเป้าหมาย มากกว่าร้อยละ 50
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
โรงพยาบาลหนองกุงศรีเริ่มจัดตั้ง Warfarin clinic ในเดือนมกราคม 2558 ได้เริ่มเก็บข้อมูลและมีการส่งรายงานจังหวัดตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน ( คือเดือนพฤษภาคม 2559 ) ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยในคลินิกจำนวน 71 คน ( โดยเป็นผู้ป่วยที่ส่งตัวกลับมารับยาจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลแม่ข่าย เช่น ศูนย์หัวใจ และ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ) ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้
เดือน INR intarget
( มากกว่าร้อยละ 50 ) Major bleeding
(น้อยกว่าร้อยละ 5 ) ความรู้ด้านยาของผู้ป่วย
( มากกว่าร้อยละ 80 )
ตุลาคม 2558 58.10 0 85
พฤศจิกายน 2558 66.71 2.2 87
ธันวาคม 2558 62.50 0 -
มกราคม 2559 60.00 4 -
กุมภาพันธ์ 2559 53.30 2 -
มีนาคม 2559 51.72 1.72 -
เมษายน 2559 55.55 2.22 60
พฤษภาคม 2559 62.26 0 -
เฉลี่ย 58.70 1.5 77.3
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ผู้ป่วยได้รับการเข้าถึงบริการได้มากขึ้นและญาติตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลมากขึ้น
2. การดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชาชีพ จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยเป็นระบบและมีประสิทธิภาพดีขึ้น
3.มีการดูแลแบบเชื่อมโยงไปที่ รพสต
4.เจ้าหน้าที่มีความสามารถ มีศักยภาพ มีความภาคภูมิใจที่เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่สามารถจัดตั้งและดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินได้
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|