ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบจัดส่งเครื่องมือทันตกรรมไปทำความสะอาดที่หน่วยงานอย่างครบถ้วนและปลอดภัย
ผู้แต่ง : จุติมา ตั้งกุลบริบูรณ์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : เครื่องมือทันตกรรมทุกชิ้นเมื่อถูกนำมาใช้ในการให้บริการผู้ป่วยแล้วจะถูกส่งนำไปล้างและทำให้ปราศจากเชื้อที่หน่วยจ่ายกลางก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเครื่องมือทันตกรรมบางชิ้นมีความคมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เจ้าหน้าที่หน่วยที่หน่วยจ่ายกลางได้หากเครื่องมือเหล่านี้ติดไปกับผ้าห่อเครื่องมือ เช่น มีดผ่าตัด(blade) เข็มฉีดยา(needle) และเครื่องมือบางชิ้นมีขนาดเล็ก เช่น หัวกรอฟัน เครื่องมือทำความสะอาดครองรากฟัน(file) เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้มีโอกาสสูญหายได้สูงซึ่งก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองเงินงบประมาณโดยไม่จำเป็น จากรายงานข้อมูลความเสี่ยงปีงบประมาณ2556 มีเครื่องมือติดไปกับผ้าส่งซักทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ P10 1 ครั้ง Dycalcarier 1 ครั้ง และปากกา 2 ครั้ง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงทั่วไประดับ 2 (ความรุนแรงปานกลาง) ดังนั้นฝ่ายทันตสาธารณสุขจึงได้จัดกิจกรรมพัฒนาระบบจัดส่งเครื่องมือทันตกรรมไปทำความสะอาดที่หน่วยงานเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและการใช้ทรัพยากรเครื่องมืออย่างคุ้มค่า  
วัตถุประสงค์ : 1 เพื่อไม่มีเครื่องมือติดไปกับผ้าที่ส่งซัก 2 เพื่อไม่ให้มีการสูญหายของเครื่องมือทันตกรรม  
กลุ่มเป้าหมาย : 2.1 ไม่มีเครื่องมือติดไปกับผ้าที่ส่งซัก 2.2 ไม่มีการสูญหายของเครื่องมือทันตกรรม  
เครื่องมือ : แบบประเมิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 3.1 จัดประชุมฝ่ายทันตสาธารณสุขเพื่อรวบรวมปัญหา เก็บข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ไข ซึ่งจากการประชุมและการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานพบปัญหาดังนี้ 1. เครื่องมือทันตกรรมที่ใช้งานแล้วในแต่ละวันถูกเก็บไว้รวมกันก่อนแยกเครื่องมือ โดยผู้ช่วยทันตแพทย์จะทำการแยกเครื่องมือส่งทำความสะอาดวันละ 3 ครั้ง ได้แก่ 11.30 น. 15.30 น. และ 19.30 น. (ยกเว้นวันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องมือแต่ละชุดมีการสูญหายหรือไม่ 2. ทันตแพทย์เก็บเสื้อกาวน์ที่ใช้แล้วลงถังเองเลยทันที 3.2 ติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยจ่ายกลางเพื่อร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาเพื่อร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางแก้ไข โดยการจัดระบบบันทึกรายการส่งและรับเครื่องมือ ทันตกรรม ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ช่วยทันตแพทย์ทำการแยกเครื่องมือทันทีหลังเสร็จสิ้นการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ให้สามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องมือที่ใช้ในผู้ป่วยรายนั้นๆมีครบถ้วนตามที่ใช้ไปหรือไม่และหากไม่ครบจะทำให้สามารถติดตามหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากของมีคม เช่น การบาดเจ็บจากของมีคมที่สูญหายโดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ทราบ ผู้ช่วยถูกของมีคมบาดขณะแยกเครื่องมือเนื่องจากการรอแยกเครื่องมือพร้อมกันทั้งหมดที่เดียวจะทำให้เราไม่ทราบว่าเครื่องมือแต่ละชุดที่กำลังทำการแยกเครื่องมือนั้นมีอุปกรณ์มีครบหรือไม่ 2. เครื่องมือที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ 2.1 หัวกรอฟัน ให้ทำการล้างทำความสะอาดและใส่ลงในกล่องที่มีฝาปิดมิดชิด 2.2 เข็มเย็บแผลแยกบรรจุในกล่องที่มีฝาปิดมิดชิดสำหรับบรรจุของมีคม 2.3 เครื่องมือทำความสะอาดคลองรากฟัน ให้ทำความสะอาดพร้อมแยกและเรียงขนาดของเครื่องมือในกล่องเก็บเครื่องมือทำความสะอาดคลองรากฟัน จากนั้นนำกล่องที่เก็บเครื่องมือเหล่านี้ใส่ลงในตะกร้าที่มีฝาปิดก่อนส่งไปที่หน่วยจ่ายกลาง 3. เสื้อกราวน์ที่ใช้แล้วก่อนส่งไปที่หน่วยจ่ายกลางต้องทำการตรวจสอบทุกครั้งว่าไม่มีสิ่งอื่นติดไปกับเสื้อด้วย 4. ให้ความรู้เจ้าหน้าที่หน่วยจ่ายกลางผู้รับผิดชอบงาน ดังนี้ สอนให้รู้จักชื่อและลักษณะของเครื่องมือ การจัดชุดเครื่องมือแต่ละงานและจัดทำคู่มือเครื่องมือทันตกรรมพร้อมรูปถ่ายเครื่องมือจริงมอบให้ดูประกอบ 5. หน่วยจ่ายกลางทำแบบฟอร์มบันทึกการส่งและรับเครื่องมือทันตกกรม โดยจัดเวรให้ผู้ช่วยทันตแพทย์ลงบันทึกเครื่องมือที่ส่งและรับทั้งชนิดและจำนวนที่ส่งไปหน่วยจ่ายกลางในแต่ละครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยจ่ายกลางตรวจรอบรายละเอียดความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่บันทึก(ทุกวันทำการจะมีการส่งเครื่องมือไปที่หน่วยจ่ายกลาง 2 ครั้ง/วัน) 6. ทดลองปฏิบัติตามแนวทางและขั้นตอนที่กำหนด 7. เก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข 8. ประเมินและสรุปผล 9. กำหนดเป็นมาตรฐานการปฏิบัติ  
     
ผลการศึกษา : 4.1 เก็บข้อมูลจากปีงบประมาณ 2557 พบว่า 1. มีอุบัติการณ์เครื่องมือติดไปกับผ้าส่งซักลดลง โดยมีรายงานเครื่องมือติดไปกับผ้าห่อชุดตรวจ 1 ครั้ง ได้แก่ Dycalcarier 2. ไม่มีรายงานการสูญหายของเครื่องมือทันตกรรม จากข้อมูลดังกล่าวฝ่ายทันตสาธารณสุขได้ร่วมประชุมหารืออีกครั้งเพื่อค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม โดยได้เพิ่มเพิ่มอีก 1 แนวทาง ได้แก่ หลังจากที่ผู้ช่วยทันตแพทย์ทำการแยกเครื่องมือที่ใช้แล้วก่อนส่งผ้าทุกชิ้นต้องทำการยกผ้าขึ้นเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยทุกครั้ง โดยยกเหนือถังที่เตรียมไว้รับผ้าที่ใช้แล้ว 4.2 เก็บข้อมูลจากปีงบประมาณ 2558 พบว่า 1. ไม่มีอุบัติการณ์เครื่องมือติดไปกับผ้าที่ส่งซัก 2. ไม่มีอุบัติการณ์เครื่องมือทันตกรรมสูญหาย 4.3 เกิดการทำงานเป็นทีมระหว่างหน่วยจ่ายกลางและฝ่ายทันตกรรมได้ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้น มีแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน อีกทั้งเกิดความพึงพอใจที่ดีในการทำงานร่วมกัน 4.4 เครื่องมือทันตกรรมเพียงพอต่อการใช้งาน 4.5 ไม่มีการสิ้นเปลืองงบประมาณเพื่อซื้อเครื่องมือทดแทนเครื่องมือที่สูญหาย 4.6 มีระบบการจัดส่งเครื่องมือทันตกรรม  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)