|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ภาคีร่วมใจ ห่วงใยลูกหลานเพื่อพัฒนาการสมวัย |
ผู้แต่ง : |
รัตนมาลา ภูชมศรี |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การแก้ปัญหาสุขภาพของทุกกลุ่มเด็ก0-5ปี โดย
การสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก0-5ปี ให้มีสุขภาพดีพัฒนาการตามวัยตัวชี้วัดตัวหนึ่งใน เป้าประสงค์ที่ 3 คนกาฬสินธุ์ทุกกลุ่มวัยและกลุ่มคนพิการได้รับการส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ ที่มีมาตรฐาน และส่งผ่านสู่กลุ่มวัยอย่างมีคุณภาพ ให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพอนามัยดี และคุณภาพชีวิตที่ดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังภัยพิบัติและภัยสุขภาพ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีสถานะเศรษฐกิจที่เหมาะสมยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้ และสอดคล้องกับความสมดุลทางธรรมชาติ ดังนั้น แนวคิดการพัฒนาตำบลจัดการระบบสุขภาพดีตามกลุ่มวัย ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิรูประบบสุขภาพ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาในมิติอื่นๆ อย่างครบวงจร ให้ความสำคัญกับประชาชน/ชุมชน/หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐรัฐวิสาหกิจและเอกชน ในการเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดำเนินงานพัฒนาและขับเคลื่อนพลังชุมชนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เกิดความเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านสุขภาพทั้งระบบ ครอบคลุมถึงสุขภาวะและความมั่นคงในชีวิตได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลกับธรรมชาติและเพื่อให้การดำเนินงานที่ตอบสนองนโยบายและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องโรคที่มีความสำคัญระดับชาติรวมถึงการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ในเรื่องกลุ่มวัยต่างๆ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเด็ก0-5ปี มีสุขภาพที่ดีพัฒนาการเหมาะสมเป็นไปตามวัย
ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จากที่ผ่านมางานด้านสุขภาพ งานด้านสาธารณสุข ชาวบ้านส่วนมากคิดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าสาธารณสุขฝ่ายเดียวทำให้การดำเนินในการคัดกรองพัฒนาการเด็กทำได้ไม่ครอบคลุมตามกลุ่มเป้าหมาย ด้วยภาระงานของเจ้าหน้าที่ ร่วมถึง ระบบในการเชื่อมประสาน ระหว่าง รพ แม่ข่าย / รพ.สต. /ศพด/สุขศาลา/ชุมชน ที่ไม่ชัดเจน ขาดการส่งต่อข้อมูลเนื่องจากยังมีระบบที่ไม่ชัดเจนชัดเจน ขาดการคืนข้อมูลลงสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนไม่ตระหนักและไม่เห็นความสำคัญของเรื่องพัฒนาการเด็ก หรือขาดความตระหนักว่าเด็กที่จะฉลาด มีการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามเกณฑ์นั้น ต้องเป็นเด็กที่มีพัฒนาการสมวัยดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ คลอด ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการให้สมวัย |
|
วัตถุประสงค์ : |
ขึ้น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการคัดกรองส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ โดยแบบคัดกรอง DSPM 100% ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามเกณฑ์
และเพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. ผู้นำชุมชน จำนวน 14 คน
2. อสม. ผุ้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 7 คน
3.ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 คน
4. ครูอนามัยโรงเรียนโรงเรียนประถมศึกษาในเขตรับผิดชอบ จำนวน 3 คน
5. เด็ก 0-5 ปี จำนวน 100 คน |
|
เครื่องมือ : |
1.แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก DSPM |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. คืนข้อมูลสู่ชุมชน
2. ภาคีเครือข่ายร่วมกำหนดบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการตรวจคัดกรองและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
3. ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการกับภาคีเครือข่ายในการใช้แนวทาง DSPM เพื่อให้สามารใช้แบบคัดกรองได้ถูกต้อง
4. คัดกรองพัฒนาการเด็ก
- อสม 1ครั้ง/เดือน
- ครู 1 ครั้ง/เดือน
- เจ้าหน้าที่ 1 ครั้ง/เดือน และรณรงค์ คัดกรองตรวจพัฒนาการเด็ก 1 ครั้ง/ปี
5. ส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็ก กลุ่มปกติ กลุ่มสงสัย กลุ่มล่าช้า
6. วิเคราะห์ปัญหาโดยภาคีเครือข่าย/ทีม เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กต่อไป
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1. เด็ก 0-5 ปี ตำบลสระพังทองได้รับการคัดกรองโดยเครื่องมือคัดกรอง DSPM 100%
2. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ( ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูโรงเรียนอนุบาล อสม. ผู้ปกครอง) ในการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก
3. เด็กที่มีพัฒนาล่าช้าได้รับการประเมินซ้ำ หรือส่งต่อหากมีพัฒนาการล่าช้า
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. การสร้างให้ชุมชนเกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คลอด จนถึงอายุ 5 ปี
2. การจัดเวทีเสวนาแก้ไขปัญหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือสงสัยว่าล่าช้า โดยภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมแก้ไข ร่วมกระตุ้นพัฒนาการ
3. การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการตรวจประเมินและกระตุ้นพัฒนาการ
4. มี รพ.สต. ต้นแบบและจะขยายสู่ รพ.สต.อื่น ๆ ต่อไป
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|