|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ชารางจืด ขับสารเคมีในเลือดเกษตรกร |
ผู้แต่ง : |
อรรคเดช มุลตรีบุตร,ทวีศักดิ์ ตรีภพ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ประชาชนตำบลหนองใหญ่ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา นอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ผักต่างๆ ไว้กินในครัวเรือน ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการผลิตสินค้าทางการเกษตรอย่างมาก สารเคมีที่ใช้ เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนบำรุงลำต้น บำรุงใบ เร่งการเจริญเติบโต ในการใช้สารเคมีไม่มีการป้องกันที่ถูกต้องในการแต่งกายให้รัดกุม เทคนิคการพ่น การปฏิบัติตัวหลังการพ่นไม่ถูกวิธี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกร ในส่วนของผู้บริโภคได้รับผลพวงจากการใช้สารเคมีของเกษตรกรในขั้นตอนการผลิด การเก็บรักษาไว้รอจำหน่าย ซึ่งมีการใช้สารเคมีเพื่อไม่ให้สินค้าเกษตรสวยงามน่ารับประทาน และเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้นกว่าปกติ นอกจากนั้น สารเคมีที่เกษตรกรใช้ดังกล่าวข้างต้น มีผลตกค้างในดินนาน แม้ในปัจจุบันเกษตกรไม่ได้ใช้แต่ยังมีฤทธิ์ตกค้างอยู่ จึงทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีสารเคมีปนเปื้อนได้
จากเหตุผลดังกล่าว กองทุนสุขภาพตำบลหนองใหญ่ จึงร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองชุมแสง ตำบลหนองใหญ่ จึงจัดให้ประชาชนมีความรู้พิษภัยของสารเคมีและขับสารเคมีที่มีอยู่ในเลือดโดยการใช้ชารางจืด ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น และใช้ได้ง่ายโดยการชงดื่ม
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยงและ กลุ่มไม่ปลอดภัย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการใช้ชารางจืด
2. เพื่อประยุกต์ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเอง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนในเขตตำบลหนองใหญ่ |
|
เครื่องมือ : |
-แบบคัดกรองด้วยวาจาหาสารเคมีในเลือดเกษตรกร |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
กิจกรรม
1. จำแนกผลการตรวจคัดกรอง ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มปลอดภัย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย
2. นำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย เข้าสู่กระบวนการขับพิษสารเคมีในเลือดเกษตรกร
โดยใช้ชาชงรางจืด
3. ติดตามผู้ผ่านกระบวนการขับพิษสารเคมีในเลือดเกษตรกร โดยใช้ชาชงรางจืด
4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ดำเนินการ่วมกับเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองชุมแสง ตำบลหนองใหญ่ในการตรวจคัดกรองจากกลุ่มเป้าหมายคัดกรองด้วยวาจา คัดกรองหาสารเคมีในเลือดเกษตรกร จำนวน 4,353 คน พบว่า ปกติ 4,124 คน ผิดปกติ 229 คน จากการเจาะเลือดกลุ่มผิดปกติพบว่า ปกติ จำนวน 30 คน ร้อยละ 13.10 ปลอดภัย จำนวน 43 คน ร้อยละ 18.77 มีความเสี่ยง จำนวน 99 คน ร้อยละ 43.23 ไม่ปลอดภัย จำนวน 57 คน ร้อยละ 24.89 กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้ในเรื่องสารเคมี ทั้งวิธีการใช้ วิธีการป้องกันและการปฏิบัติตนเมื่อได้รับสารเคมีโดยตรงและมีอาการเฉียบพลัน ร้อยละ 90 จากการตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรกร จำนวน 229 ราย พบว่า ปกติ จำนวน 30 คน ปลอดภัย จำนวน 43 คน มีความเสี่ยง จำนวน 99 คน และไม่ปลอดภัย จำนวน 57 คน จึงได้นำกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่ประสงค์จะเข้ารับบริการขจัดสารเคมีในเลือด จำนวน 49 ราย เข้ารับการขับสารพิษโดยการดื่มชาชงรางจืด โดยกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกัน 7 วัน พบว่าการขับสารพิษด้วยวิธีการดื่มชารางจืด สามารถลดสารเคมีในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ได้ ร้อยละ 85.71 |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรแนะนำให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่รับสารเคมีเพิ่มเติมทั้งในขณะบำบัด และหลังจากการบำบัดด้วยชารางจืด |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|