|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ด้วยแรงแห่งรัก (เรื่องเล่าของพนม ฉายอำไพ) |
ผู้แต่ง : |
นางสาวปิยะพร แดนกะไส |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นในตอนเย็นวันหนึ่ง บุ๋ม รับโทรศัพท์ ขณะรับโทรศัพท์ทั้งพูดไปร้องไห้ไป แม่ของบุ๋ม(บุ๋มเป็นภรรยาของพนม)ถามเกิดอะไรขึ้น พนมเกิดอุบัติเหตุ รถยนต์ ชนจักรยานยนต์ของพนม บนถนน กาฬสินธุ์-สมเด็จ หน้าร้านอาหารเฟื้องฟ้าใกล้ทางแยกเข้าอำเภอดอนจาน ขณะนี้หน่วยกู้ชีพ เทศบาลตำบลโพนทอง กำลังนำส่งโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ แม่ของบุ๋ม(แม่ยายของพนม) ได้รำพึงกับตัวเองว่า “คนอย่างพนมเป็นคนดี ขยัน เป็นเสาหลักของครอบครัวในการหารายได้ ตอนกลางคืนกรีดยางพารา ตอนเช้าไปทำงานเป็นลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการจด มิเตอร์ไฟฟ้าในเขตรอบเมืองกาฬสินธุ์ ถึงแม้พนมจะเป็นลูกเขย ก็รักเหมือนลูกตนเอง”
บุ๋ม แม่ และญาติ ๆได้เขาไปเยี่ยมพนมที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ญาติๆ เห็นพนมที่อยู่ในห้องไอ ซี ยู ในสภาพไม่รู้สึกตัว ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ใส่ท่อช่วยหายใจ ต่างพูดกันว่า “คงไม่รอด ตายแน่ๆ “ แต่มี อสม.วรรณา เป็นญาติอีกคนของพนมเพียงคนเดี่ยวพูดว่า” พนมเป็นคนดี มันไม่ตาย ต้องหายแน่ๆ”
จากนั้นแพทย์ได้มาแจ้งอาการให้ญาติรับทราบ “เป็นญาติของคุณพนมหรือเปล่าค่ะ พอดีคุณพนมได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ผลCT-Scan มีเลือดออกในสมองต้องได้รับการผ่าตัด หมอจึงจำเป็นต้องส่งตัวไปรักษาที่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ขอให้ญาติเตรียมตัวให้พร้อม จะมีรถโรงพยาบาล และพยาบาลนำส่ง”
พนมเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น แพทย์ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดที่ศีรษะ เปลี่ยนการใส่ท่อช่วยหายใจ(ET-Tube) เป็นการเจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ (TT-Tube) ตลอดระยะเวลา 10 วันที่รักษาที่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นพนมเริ่มรู้สึกตัว ไม่ทำตามคำบอก มีญาติไปเยี่ยมพนมที่ขอนแก่นทุกวัน ได้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้อาการของพนมดีขึ้น โดยการบนต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ประจำหมู่บ้านขอให้พนมหาย
หลังจากนั้นแพทย์ได้ส่งตัวกลับมารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ อาการของพนมดีขึ้น สามารถหายใจเอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มีการใส่สายให้อาหารทางจมูก สามารถรับอาหารได้ ถึงอาการโดยรวมจะดีขึ้น แต่พนม รู้สึกตัว ไม่รู้เรื่อง ไม่ทำตามคำบอกช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มีบุ๋มผู้เป็นภรรยา คอยช่วยเหลือ โดยการเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ให้อาหารทางสายยาง บุ๋มได้สวดมนต์ขอพรจากพระขอให้สามีหาย กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม แต่สวรรค์ยังไม่เข้าข้างบุ๋ม พนม ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ แพทย์ผู้รักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จะให้พนมกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ก่อนกลับบ้านมีนักกายภาพบำบัดมาทำกายภาพบำบัดให้ พร้อมสอนญาติทำให้เป็นก่อนกลับบ้าน มีการสอนทำอาหารให้ทางสายยางหลังจากนั้นพนมได้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน และนัดพบแพทย์ทุกเดือน
พนมกลับมาพักฟื้นที่บ้าน โดยได้อุปกรณ์กลับมาที่บ้านด้วยคือ บริเวณที่เจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ (TT-Tube) มีแผลที่ต้องทำแผลวันละ 1 ครั้ง ญาติของพนมได้ประสานกับประธาน อสม.หมู่ 3 บ้านหนองโพนประสานมาที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หนองแวงแสน เพื่อขอรับความช่วยเหลือ
ทีมเยี่ยมบ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน ออกเยี่ยมบ้านประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ แพทย์แผนไทย แม่บ้าน ภาพแรกที่เห็นคือผู้ชายวัยทำงาน ใส่กางเกงขาสั้น ไม่ใส่เสื้อ ใส่สายให้อาหารทางจมูก แขน-ขา ซีกซ้ายอ่อนแรง นอนอยู่บนพื้นกระเบื้อง เคลื่อนไหวตัวเหมือนเข็มนาฬิกา หมุนเป็นวงกลม มีญาติประมาณ 10 คน คอยดูแล ช่วยเหลือ แพทย์แผนไทยประเมินสภาพผู้ป่วยพบมีไหล่ซ้ายติด ข้อศอกซ้ายติด ได้บำบัดโดยการนวด พร้อมกับแนะนำญาติ ในการนวด เพื่อให้ไหล่ และข้อศอกหายติด พร้อมคำแนะนำการทำสมุนไพรในการประคบเพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อ พยาบาลได้ทำแผลที่เจาะคอ และแนะนำการถอดท่อที่คอต้มทำความสะอาด วันละ 1 ครั้งรวมถึงการทำแผล พร้อมทั้งให้ญาติขอรับอุปกรณ์ทำแผลได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน โดยมีการโทรศัพท์แจ้งล่วงหน้า 1 วันก่อนขอรับอุปกรณ์ทำแผล เพื่อให้แม่บ้านได้เตรียมอุปกรณ์ไว้ให้ นอกจากดูแลผู้ป่วยแล้วได้มีการเปิดโอกาสให้ญาติได้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่สบายใจ ความวิตกกังวล การดูแลผู้ป่วย
มีญาติถามว่า “คุณหมอนายพนมจะหายไหม ?”
หมอ “เคยมีผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุในลักษณะที่คล้ายกับผู้ป่วยแล้วหาย สามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ แต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูสภาพร่างกายแต่สิ่งสำคัญคือการทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย”
ทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสนได้นำปัญหาของผู้ป่วยที่ออกเยี่ยมบ้านมาประชุม โดยการนำของ ผอ.ราตรี เขจรรักษ์ ในการนำวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยครั้งที่สอง พร้อมนำรถเข็นให้ผู้ป่วยยืมใช้เคลื่อนไหวตนเองผู้ป่วยเริ่มสื่อสารได้ในสิ่งที่ต้องการเช่น หิวข้าวจะทำท่าทางในการกิน ง่วงนอน แต่ยังไม่สามารถ ยืน และเดินได้ แพทย์แผนไทยได้ประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด สามารถยกแขนได้สูงขึ้นจากเดิม ไหล่ติดลดลง ข้อศอกสามารถเหยียดแขนได้เพิ่มขึ้น ส่วนแผล TT-Tube ผู้ป่วยแผลแดงดีไม่มีติดเชื้อ
พนมยังมีปัญหาเรื่องการยืน และการเดิน ได้มีศูนย์โฮมสุข ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาจำปา ร่วมกับนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ออกให้การช่วยเหลือที่บ้านในการฝึกยืนและฝึกเดิน ให้กับพนม พนมสามารถยืนได้ จับไม้เดินได้ และในที่สุดก็สามารถเดินด้วยตัวเองได้ ถึงจะเดินได้เองแต่ยังเดินไม่คล่องยังต้องรับการทำกายภาพบำบัดต่อ โดยรับการทำกายภาพบำบัดทุกวันจันทร์ ที่ศูนย์โฮมสุข องค์การบริหารส่วนตำบลนาจำปา
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อให้เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ทุกภาคส่วน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยคนนี้ประทับที่ผู้ป่วยสามารถมีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ สามารถสื่อสารได้ เดินได้ ช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันได้บางส่วน นอกจากนั้นยังประทับใจญาติที่มีส่วนช่วยเหลือในดูแลผู้ป่วย ทุกครั้งที่ออกเยี่ยมผู้ป่วยจะไม่มีการโทรศัพท์นัดล่วงหน้า เพราะอยากเห็นสภาพที่แท้จริง ไม่มีการจัดฉาก แต่ภาพที่เห็นทุกครั้งของการเยี่ยมคือ มีญาติประมาณ 10 คน ขึ้นไปที่อยู่ดูแลผู้ป่วย จากการสอบถาม อสม.วรรณาที่เป็นญาติผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า ญาติจะมาดูแลอย่างนี้ทุกวัน มีการแบ่งหน้าที่กันดูแล เช่น บางคนเป็นคนหาสมุนไพร บางคนบดสมุนไพรที่หาได้ เพื่อทำลูกประคบ ในการประคบให้ผู้ป่วยทุกเช้า และทุกเย็น และอยากขอบคุณทุกคนที่มีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วยครั้งนี้ ดีใจมากที่ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
จากติดตามเยี่ยมผู้ป่วย ปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือการทำงานแบบสหขาวิชีพในการช่วยดูแลผู้ป่วย นอกจากนั้นทฤษฏีที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแบบองค์ยังสามารถนำมาใช้ในการดูผู้ป่วยในชุมชนได้ อาทิเช่น
-การดูแลด้านร่างกาย มีบุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง ทีมเยี่ยมบ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน และ ทีมจากศูนย์โฮมสุของค์การบริหารส่วนตำบลนาจำปา ร่วมกับนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ
-การดูแลด้านจิตใจ มีบุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้องค่อยให้กำลังใจ รวมถึงทีมเยี่ยมบ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน และ ทีมจากศูนย์โฮมสุของค์การบริหารส่วนตำบลนาจำปา ร่วมกับนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ คอยให้กำลังใจ
-การดูแลด้านสังคม บุคคลที่อยู่ในหมู่บ้าน ได้มาเยี่ยม มีสิ่งไหนที่สามารถช่วยเหลือได้ก็ให้การช่วยเหลือเช่น อาหารตามฤดูการ เช่น เห็ด ปลา ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น
-การดูแลด้านจิตวิญญาณ บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้องมีการบนต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ประจำหมู่บ้าน ที่ดอนปู่ตา ของหมู่บ้าน มีการนำผู้ป่วยไปรักษากับหมอน้ำมนต์ หมอเป่า ที่คิดว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยได้หายจากการเจ็บป่วย
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|