ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการจัดการความเครียดผู้สูงอายุร่วมกับภาคีเครือข่าย ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : แรงใจ วงษ์ดี นักวิชาการสาธารณสุข, เสาวณีย์ สีหาบุญจันทร์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ความเครียดเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตชนิดหนึ่งและเกิดขึ้นได้ทุกคนและทุกคนย่อมต้องเคยผ่านความเครียดมาไม่มากก็น้อย หากความเครียดอยู่ในเกณฑ์ระดับน้อยถึงระดับปานกลางจะส่งผลดีให้กับบุคคลกระทำสิ่งต่างๆอย่างกระตือรือร้นมีความมุ่งมั่น อวัยวะต่างๆในร่างกายได้มีโอกาสรับมือความเครียดที่เกิดขึ้นรู้สึกเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเองเมื่อทำงานที่ทำประสบผลสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากความเครียดอยู่ในระดับมากจะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ โดยอาจแสดงออกในรูปของอาการเจ็บป่วยต่างๆ บางครั้งไม่สามารถทราบได้ว่าอาการลักษณะอย่างไรเป็นผลพวงมาจากความเครียด ถ้าหากไม่สามารถกำจัดความเครียดได้โดยเร็วหรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยทางจิตที่รุนแรง  
วัตถุประสงค์ : พัฒนาภาคีเครือข่ายในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาตาล  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้สูงอายุบ้านนาตาล จำนวน 10 คน และภาคีเครือข่ายใช้การสนทนากลุ่ม (Focus groups) ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านบ้านนาตาลจำนวน 1 คน ประธาน อสม.หมู่ที่ 5 จำนวน 1 คน ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนาทัน จำนวน 1 คน กรรมการหมู่บ้าน จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุรพ.สต.บ้านนาตาล จำนวน 1 คน  
เครื่องมือ : 1. แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interviews) ที่สร้างขึ้นล่วงหน้า ข้อคำถามมีลักษณะเป็นกลางและไม่มีลักษณะการถามนำ (Neutral and non-leading questions) นอกจากนี้ยังมีคำถามปลายเปิดรวมอยู่ด้วย ระยะเวลาของการสัมภาษณ์ประมาณ 30- 45 นาที พร้อมทั้งมีการจดบันทึกและบันทึกเสียงขณะสัมภาษณ์ (เมื่อผู้รับการสัมภาษณ์ยินยอม) 2. การสนทนากลุ่มในภาคีเครือข่าย (Focus groups) โดยใช้ข้อคำถามที่สร้างขึ้นล่วงหน้า ข้อคำถามมีลักษณะเป็นกลางและไม่มีลักษณะการถามนำ นอกจากนี้ยังมีคำถามปลายเปิดรวมอยู่ด้วย มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน รวมทั้งกับผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยก่อนการสัมภาษณ์อีกด้วย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้บรรยากาศของการสนทนาเป็นไปด้วยความสนุกสนานและไม่เครียด ระยะเวลาของการสนทนากลุ่มประมาณ 3 ชั่วโมง พร้อมทั้งมีการจดบันทึกและบันทึกเสียงขณะสนทนา (เมื่อผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มยินยอม) และมีอาหารว่าง (Refreshments) บริการตลอดระยะเวลาของการสนทนา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบกรณีศึกษา (Case study) ศึกษาตามสภาพจริงในบริบทของชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านนาตาล หมู่ที่ 5 ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และภาคีเครือข่าย รวม 15 คน โดยการศึกษาในครั้งนี้สามารถกำหนดขอบเขตของกรณีศึกษา (Boundary of the cases) 2. เอกสารหลักฐานต่างๆ (Documentary sources) ซึ่งประกอบไปด้วยนโยบายทางด้านสุขภาพ บันทึกการสัมภาษณ์ รวมทั้งวัตถุและรูปภาพที่เกี่ยวข้องด้วย โดยเอกสารหลักฐานต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เข้าใจบริบทของสถานการณ์เพิ่มมากขึ้นและยังมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย 3. การสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interviews) ที่สร้างขึ้นล่วงหน้า ข้อคำถามมีลักษณะเป็นกลางและไม่มีลักษณะการถามนำ (Neutral and non-leading questions) นอกจากนี้ยังมีคำถามปลายเปิดรวมอยู่ด้วย ระยะเวลาของการสัมภาษณ์ประมาณ 30- 45 นาที พร้อมทั้งมีการจดบันทึกและบันทึกเสียงขณะสัมภาษณ์ (เมื่อผู้รับการสัมภาษณ์ยินยอม) 4. การสนทนากลุ่มในภาคีเครือข่าย (Focus groups) โดยใช้ข้อคำถามที่สร้างขึ้นล่วงหน้า ข้อคำถามมีลักษณะเป็นกลางและไม่มีลักษณะการถามนำ นอกจากนี้ยังมีคำถามปลายเปิดรวมอยู่ด้วย มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน รวมทั้งกับผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยก่อนการสัมภาษณ์อีกด้วย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้บรรยากาศของการสนทนาเป็นไปด้วยความสนุกสนานและไม่เครียด ระยะเวลาของการสนทนากลุ่มประมาณ 3 ชั่วโมง พร้อมทั้งมีการจดบันทึกและบันทึกเสียงขณะสนทนา (เมื่อผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มยินยอม) และมีอาหารว่าง (Refreshments) บริการตลอดระยะเวลาของการสนทนา 5. วิเคราะห์ข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง