ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : 1. เรื่อง...การพัฒนาระบบการให้บริการคลินิกโรคเบาหวาน
ผู้แต่ง : นางสาวพัชรินทร์ ทัพวิเศษ 3-499-00073-54-2 ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : งานผู้ป่วยนอก รพ.ห้วยผึ้ง จัดให้มีบริการผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน ในวันพุธ ซึ่งนัดผู้ป่วยเบาหวานนอกเขต อ.ห้วยผึ้ง และวันพฤหัสบดี นัดผู้ป่วยเบาหวานในเขต ต.นิคมห้วยผึ้ง เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งจากยอดผู้ป่วยเบาหวาน 3 ปี ย้อนหลัง ปี 2555 , 2556 , 2557 , และ 2558 (1 ต.ค. 2557 – 30 ก.ย. 58 ) ดังนี้ คือ 1,160 คน , 1,252 คน , 1,406 , 1,586 , และ 1,618 คน ตามลำดับ จะพบว่า จำนวนผู้ป่วย เบาหวานมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นทุกปี ในการจัดคลินิกบริการ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นการจัดบริการ เชิงคุณภาพ ทางการรักษา ส่งเสริม เสริมพลังแก่ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งปัญหาในการดำเนินงาน มีทั้งการประเมินสภาพผู้ป่วยล่าช้า เกิดภาวะฉุกเฉิน ขณะรอตรวจระดับความพึงพอใจน้อยกว่าเกณฑ์ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งได้จัดการพัฒนาระบบคลินิกบริการงานเบาหวาน ให้มีคุณภาพขึ้น  
วัตถุประสงค์ : - เพื่อพัฒนาระบบบริการให้สะดวก รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อน - เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉิน ขณะรอตรวจ - เพื่อลดระยะรอคอย ในการรับบริการ - เพื่อตอบสนอง ความพึงพอใจของผู้รับบริการ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก รพ.ห้วยผึ้ง  
เครื่องมือ : แนวทางปฎิบัติ CPG เพื่อทำให้การให้บริการในคลินิกโรคเบาหวาน มีคุณภาพ ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจได้รับการดูแลอ่างถูกต้อง ระยะเวลาในการรอคอยลดลง ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ก่อนการพัฒนางาน (ปีงบประมาณ 2557) 1. รับบัตรคิวคลินิกเบาหวานในเช้าวันคลินิก 2. ผู้ป่วยรับการชั่งน้ำหนักและความดันโลหิตในวันพุธและวันพฤหัสบดี ส่วนพยาบาลซักประวัติวัดไข้ 3. ผู้ป่วยเบาหวาน รับการเจาะเลือดจากเจ้าหน้าที่ห้องLab หลังคลินิกเบาหวาน 4. ผู้ป่วยเบาวาน รับแฟ้มประวัติพร้อมผลเจาะ FBS จาก เจ้าหน้าที่ Lab มาให้พยาบาลคัดกรองเพื่อซักปะวัติ (โดยยึดตามคิว) 5. พยาบาลจะซักประวัติผู้ป่วยเบาหวานที่เจาะเลือด เบาหวานประจำปี ก่อน ส่วนผู้ป่วยเบาหวานเจาะ FBS ทั่วไปก็จะซักประวัติตามคิว และกรณีผู้ป่วยเบาหวานใช้ยาฉีด จะให้แฟ้มไปฉีดยา ที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แล้วนำแฟ้มประวัติมาคืน 6. กรณีที่ FBS < 70 หรือ FBS >300 mg% เจ้าหน้าที่ Lab จะส่งแฟ้มประวัติให้ พยาบาลที่โต๊ะซักประวัติก่อนเพื่อนำส่ง ผู้ป่วยไปER จะได้ให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนตาม CPG ของการดูแล ผู้ป่วยเกิดภาวะHyperglycemia 7. กรณี FBS ≥ 200 mg% จะส่งผู้ป่วยเบาหวานเข้าพบนักโภชนาการให้ความรู้ 8. พยาบาลจะนำแฟ้มประวัติไปลงข้อมูลในโปรแกรม HosXP และจัดคิวเข้าตรวจ 9. กรณี ผู้ป่วยเบาหวานเจาะเลือดประจำปี จะรอผลประมาณ 2 ชั่วโมงเมื่อได้เลือดแล้วนำมาบันทึกที่แฟ้มประวัติ และสมุดคู่มือผู้ป่วยเบาหวานก่อนจึงจัดคิวเข้าตรวจ 10. เข้าตรวจกับแพทย์ 11. รับบัตรนัดและรับสุขศึกษา คำแนะนำ หลังตรวจกับพยาบาล 12. ส่งไปตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง เท้า กับนักกายภาพ และตรวจฟัน กับเจ้าหน้าที่ งานทันตกรรม 13. รับยากลับบ้าน วิธีดำเนินการพัฒนาหลังการพัฒนา ( ปีงบประมาณ 2558 ) ระยะที่1 1. – 3. เหมือนเดิม 4. ปรับขั้นตอนการซักประวัติผู้ป่วย เบาหวาน จากผู้ป่วยถือแฟ้มยืนรอซักประวัติ เปลี่ยนเป็นพยาบาลซักประวัติจากเจ้าหน้าที่Lab ที่เจาะ FBS เสร็จแล้วนำมาคัดแยกเป็นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเจาะเลือดประจำปี และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมาตรวจรักษารับยาต่อเนื่อง พร้อมให้ผู้ป่วยส่งรอเรียกชื่อซักประวัติแทนไม่ให้คนไข้ยืนเข้าแถวแล้ว 5. – 13. เหมือนเคย วิธีการดำเนินงานหลังการพัฒนา (ปีงบประมาณ 2559) ระยะที่ 2 (เริ่ม 1 ต.ค.58-ปัจจุบัน) จากผลการประเมินความพึงพอใจที่ผู้ป่วยเบาหวาน เสนอแนะว่า ต้องการได้รับการเจาะเลือดตั้งแต่เช้า ทางทีมงาน NCD จึงนำเข้าประชุมปรึกษาหารือ เมื่อได้ข้อสรุปจึงนำเข้าเสนอให้คณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลห้วยผึ้ง โดยการปรับเวลาบริการ เจาะเลือดเช้าขึ้น คือ เวลา 07.30 – 08.30 น. โดยจัดเจ้าหน้าที่ มาทำงนก่อนเวลาประกอบด้วย 1. พยาบาลซักประวัติ 2. เจ้าหน้าที่ห้อง Lab 3. เจ้าหน้าที่ ห้องบัตร ค้นแฟ้มประวัติ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 (1 ต.ค. 2558 – ถึงปัจจุบัน) ส่วน กระบวนการบริหาร ขั้นตอนทุกอย่างเหมือนปี 2558 , คือจากลำดับ 1- 13 เช่นเคย ในกรณี การคัดกรองภาวะแทรกซ้อน จะทำปีละ 1 ครั้ง มี 1. ตรวจเลือด Lipid Profile ,BUN , Cr, UA 2. ตรวจตา 3. ตรวจฟัน 4. ตรวจเท้า  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง