ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดเพื่อลดอัตราการหอบกำเริบ
ผู้แต่ง : นางผ่องใส ก้องเวหา3-4199-0056-220-9 ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : พัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดโดยใช้แบบติดตาม เพื่อลดความถี่และความรุนแรงของการมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งเสริมผู้ป่วยให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ มีแนวทางการรักษาโรคหืดตามแนวทางของ GINA guideline มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย ดำเนินงานในรูปของ Easy Asthma Clinic โดยสหวิชาชีพ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินการควบคุมโรค ได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคหอบหืด การใช้ยาพ่น การมาตรวจตามนัด การเข้าถึงยา เครื่องมือ ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  
วัตถุประสงค์ : - ผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินด้วย Status Asthmaticus ลดลงเกณฑ์ < 15 % - ผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดมารับบริการที่คลินิกตามนัดมากกว่า 2 ครั้ง/ปี> 80 % - ผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดมารับการรักษาAdmitt ด้วย Status Asthmaticus <10% - ผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดได้รับการรักษาด้วยยาพ่นSteriod > 90 % - ผู้ป่วยได้รับบริการการเข้าถึงการรักษาโรคหืดเพิ่มมากขึ้นโดยขึ้นทะเบียนเพิ่ม > 5%/ปี  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดมารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน  
เครื่องมือ : Flow chart แนวทางการดำเนินงานผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดมารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดตั้งทีมพัฒนาโดยทีมแพทย์,พยาบาลผู้รับผิดชอบคลินิกหอบหืด,เภสัชกร,นักกายภาพบำบัด ชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมที่เกี่ยวข้องโดยการประชุม PCT จัดทำแบบติดตามอาการผู้ป่วย Asthma ชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานของคลินิกและประสานงานเรื่องการนัดผู้ป่วย จัดประชุมการดูแลผู้ป่วย การคัดกรอง การนัดเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อเข้าสู่ การรักษาเร็วขึ้น 2. ทบทวนอุบัติการณ์ สถิติ พบว่ายังมีผู้ป่วย Asthma admit , Visit ER จึงนำมากำหนดแบบติดตามการติดตามอาการผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการทุก Visit อย่างเข้มข้น 3. ให้บริการผู้ป่วยโรคหืดโดยพยาบาลซักประวัติประเมินอาการ,ซักประวัติ,ประเมินสมรรถภาพปอดโดยการเป่า Peak Flow ,ซักถามปัญหาเบื้องต้นและให้สุขศึกษามีการใช้แบบติดตามผู้ป่วยโดยใช้ สติ๊กเกอร์ ประเมินอาการดังนี้ สีแดง = Poor control สีเหลือง = Well-Control สีเขียว=Control เพื่อติดตามผู้ป่วยใน Visit ต่อไป ส่งผู้ป่วยพบแพทย์,ให้การรักษาต่อเนื่อง,ส่งพบเภสัชเพื่อประเมินการใช้ยา มีการติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัดโดยการใช้โทรศัพท์ติดตามมีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยAsthma โดยกำหนดการเยี่ยมบ้านใน Case รายใหม่ทุกรายโดยทีม HHC อสม. โดยมีการส่งต่อข้อมูลเพื่อ่ติดตามประเมินการใช้ยา อาการ สิ่งแวดล้อม สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการและพฤติกรรมที่มีผลต่อโรคเป็นต้น หรือเยี่ยมบ้านในรายที่ Poor Control ใน 3 Visit ระยะที่ 2 กันยายน 2557 – พฤศจิกายน 2558 1. เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีระดับ Poor Control ติดต่อกัน 3 Visit มาเข้ากลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรม แก้ไขปัญหาโดยกำหนดโดยกำหนดกิจกรรมดำเนินการต่อไป โดยใช้โปรแกรมในการพัฒนาพฤติกรรมผู้ป่วย Asthma ต่อไป 2. ส่งเสริมพลัง ให้กับผู้ดูแล/ญาติในการดูแลต่อเนื่อง 3 ให้การรักษาผู้ป่วย.ให้เข้าถึงยาตามGina gild line  
     
ผลการศึกษา : จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดพบว่า 1. บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดกรองโรคหืด การแนะนำ ให้ความรู้ 2. ผู้ป่วยขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น 3. ผู้ป่วยขาดความตระหนักการใช้ยา การรักษาต่อเนื่อง 4. ขาดระบบการนัดติดตามอาการ 5. ขาดอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อุปกรณ์วัดออกซิจนในเลือดและขาดเจ้าหน้าที่กายภาพ 6. ขาดเครื่องพ่นยา  
ข้อเสนอแนะ : การดำเนินคลินิกโรคหืดช่วยให้ผู้ป่วยโรคหืดได้รับการรักษาตามมาตรฐานมาตรฐานของ GINA ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของโรคหืด ทำให้สามารถควบคุมโรคหืดได้ ผู้ป่วยโรคหืดและผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับโรคหืด การปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น มีทักษะในการใช้ยาพ่นแต่จากสถิติจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคหืด ที่ Admit และ ER Visit ลดลง แต่อัตราการควบคุมControl ยังไม่แตกต่างมากนัก อาจจะเนื่องมาจากผู้ป่วยโรคหืดยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ทั้งหมด ต้องอาศัยผู้ดูแลช่วยควบคุมกำกับการใช้ยา ซึ่งพบว่าทักษะการใช้ยาพ่นยังไม่ดี ทำให้อัตราการควบคุมControl ยังไม่บรรลุตัวชี้วัด ส่งผลให้อัตราการ Admit และ ER Visit ยังไม่ลดลงเท่าที่ควร  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)