ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบนัดให้บริการทันตกรรม แก่หญิงตั้งครรภ์
ผู้แต่ง : ธันวา อินทรสุขสันติ 1759900118598 ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากคราบพลัคที่ก่อตัวที่ฟัน และสร้างความระคายเคืองให้แก่เหงือก อาการที่บ่งบอกของโรคนี้คือ อาการบวมแดง และเลือดออกบริเวณเหงือก โรคเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์เกิดได้บ่อยเนื่องจากการเพิ่มของระดับฮอร์โมนที่ทำให้เหงือกเกิดอาการระคายเคืองต่อคราบพลัคที่รุนแรงกว่าปกติ การบำบัดทางทันตกรรมใดๆ ในช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) ควรทำเฉพาะกรณีฉุกเฉิน หรือที่ทำง่ายๆ เช่น อุดฟัน ขูดหินปูน การถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ต้องได้รับการปกป้องร่างกายและครรภ์จากเสื้อตะกั่วและควรทำเฉพาะกรณีจำเป็นจริงๆ การรักษาที่ยุ่งยากขึ้นและใช้เวลานานๆ เช่น การใส่ฟันปลอม การรักษารากฟัน การอุดฟันยากๆ การรักษาโรคเหงือกที่รุนแรง ควรกระทำในระยะตั้งครรภ์ 4 ถึง 6 เดือน สำหรับในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มารดาจะรู้สึกอึดอัดไม่สบาย การให้นอนราบนานๆ อาจเกิดสภาวะแทรกซ้อนได้จึงควรหลีกเลี่ยงการรักษาทางทันตกรรมในช่วงนี้ ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ ซึ่งการบำบัดทันตกรรมต้องกระทำช่วงเวลาสั้นๆ ให้พลิกตัวบ่อยๆมารดาไม่ควรเกร็ง ไม่ควรเครียด แนวทางปฏิบัติ คือให้บริการทางทันตกกรม แก่หญิงตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาส ที่ 2 หรือ เดือน 4- 6 เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยทางฝ่ายทันตกรรม ได้พัฒนาระบบ การนัดให้บริการทันตกรรม แก่หญิงตั้งครรภ์ โดย ออกแบบใบนัดการรักษาทันตกรรม และ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ในการนับเวลาการให้บริการ แก่หญิงตั้งครรภ์  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบนัดให้บริการทันตกรรม แก่หญิงตั้งครรภ์  
กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ ในเขต อำเภอห้วยผึ้ง  
เครื่องมือ : ตัวชี้วัด Service plan สาขาสุขภาพช่องปาก HDC  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ออกแบบใบนัดการรักษาทันตกรรม สำหรับ หญิงตั้งครรภ์ โดยแนบไว้กับสมุดฝากครรถ์ 2. ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ในการนับเวลาการให้บริการ แก่หญิงตั้งครรภ์  
     
ผลการศึกษา : จากการดำเนินการ สามารถออกบัตรนัดการรักษาทันตกรรม ให้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ที่มาตรวจสุขภาพช่องปากที่ งานทันตกรรม ซึ่งทำให้หญิงตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น มีความเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น  
ข้อเสนอแนะ : - ต่อยอดโดยการศึกษาระยะยาว เป็นรายบุคคล - จัดทำคู่มือการให้บริการทันตกรรมแก่ หญิงตั้งครรภ์ ให้ รพ.สต. - อบรมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในการให้บริการทันตกรรมแก่ หญิงตั้งครรภ์ - การพัฒนาคุณภาพ การให้บริการทันตกรรม แก่หญิงตั้งครรภ์  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)