ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนางานดูแลทารกตัวเหลือง
ผู้แต่ง : นางวิวาพร แสนบุญ 3461400176787 ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด พบในทารกคลอดครบกำหนด ร้อยละ 50 และ ทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 80 (Meir & Miller, 1997) อาการตัวเหลืองจะแสดงให้เห็นในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกคลอดครบกำหนดจะมีระดับ bilirubin สูงสุดเมื่ออายุประมาณ 3-4 วัน และ ระดับสูงสุดไม่เกิน 12 มก./ดล ประมาณวันที่ 4-5 ภาวะตัวเหลืองอาจเกิดจากเหลืองโดยธรรมชาติ ภาวะหมู่ เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6PD ของเม็ดเลือดแดง ภาวะเลือดข้น ได้รับน้ำ และพลังงานน้อย เป็นต้น ระดับ bilirubin ที่สูงขึ้นทำให้ทารกมีตัวเหลืองมากขึ้นและมีอันตรายมากขึ้น โดย จะไปจับเนื้อสมองทำให้เกิดภาวะสมองพิการ (Kernicterus) มีอาการอ่อนแรง ซึม จนถึงการหยุดหายใจ และ เสียชีวิตได้ ดังนั้น การวินิจฉัยภาวะตัวเหลืองที่รวดเร็วและการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โรงพยาบาลชุมชน ในขอบเขตที่สามารถปฏิบัติได้และการประสานการดูแลทารกภาวะเหลืองที่มีความเสี่ยงสูงโดยพัฒนาระบบ การส่งต่อ และการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในการดูแลทารกตัวเหลืองจึงมีความสำคัญมาก -จากสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการในห้องคลอดโรงพยาบาลห้วยผึ้งปี 2559 ยอด 103 คน พบทารกตัวเหลือง 27 คน -จำนวนวันนอนโรงพยาบาลของทารกตัวเหลืองคิดเป็น 3.33 วัน/ราย  
วัตถุประสงค์ : -เพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาลทารกตัวเหลืองโดยใช้กระบวนการพยาบาล -เพื่อลดอัตราจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของทารกตัวเหลือง < 2 วัน/ราย -เพื่อให้มารดาและญาติมีความพึงพอใจจำนวนวันนอนรพ.ลดลง ≥ 85%  
กลุ่มเป้าหมาย : -ทารกตัวเหลืองทุกราย  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : -ค้าหาปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่มีผลต่อการบริการในทารกตัวเหลือง -ศึกษาเอกสารข้อมูลต่างๆ -จัดทำแนวทางการดูแลทารกตัวเหลือง -ปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ -นำนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงาน -สรุปเป็นตัวชี้วัดหน่วยงานทุกเดือน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง