|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทย |
ผู้แต่ง : |
พัชรินทร์ ภูวิเลิศ,นวพร เครือศรี |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลนาคู มีการเปิดให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย การนวด ประคบ และ
การอบสมุนไพร มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ผู้มารับบริการจะถูกตรวจและสั่งการโดยแพทย์แผนปัจจุบัน แล้วส่งต่อ มาที่งานแพทย์แผนไทย โดยมีอาการ เช่น ปวดตึงบ่า-ไหล่ ปวดเอว ปวดแขน ปวดขา ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น
ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับการตอบสนอง
ตามความต้องการหรือความคาดหวังของแต่ละบุคคล ซึ่งหากความต้องการหรือความคาดหวังได้รับการตอบสนอง ก็จะเกิดความรู้สึกหรือทัศนคติในทางบวกต่อสิ่งนั้น ทำให้รู้สึกพึงพอใจ
ดังนั้น เพื่อเป็นการติดตามและประเมินผลการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย ของโรงพยาบาลนาคู จึงได้ทำการศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนาคู ซึ่งผลการ ศึกษาที่ได้จะทำให้เกิดประโยชน์เชิงวิชาการ เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย ให้ดีมากขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของผู้มารับบริการต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนาคู |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนในพื้นที่อำเภอนาคู ที่มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย (ขนาดกลุ่มตัวอย่าง
ที่คำนวณได้เท่ากับ 395 คน)
|
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. เชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.1 ส่วนที่ 1 แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 9 ข้อ
1.2 ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
- ความพึงพอใจต่อกระบวนการให้บริการ จำนวน 7 ข้อ
- ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการ จำนวน 7 ข้อ
- ความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่/ผู้ให้บริการ จำนวน 10 ข้อ
- ความพึงพอใจต่อสถานที่ จำนวน 6 ข้อ
1.3 คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
2. เชิงคุณภาพ ใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ระยะเตรียมการ
1.1 ศึกษาและทบทวนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
1.2 เตรียมและสำเนาแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.3 สร้างแนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก
2. ระยะดำเนินการศึกษา
2.1 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จนครบจำนวน 395 คน
2.2 ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก
3. ระยะสรุปผล
3.1 ผู้ศึกษาจะนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมแบบสอบถาม นำเข้าสู่การวิเคราะห์ข้อมูล
3.2 วิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
3.3 สรุปผลการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|