|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันผู้ป่วยตกเตียง |
ผู้แต่ง : |
กนกพร เนตรคุณ 1461300073611 |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ตึกผู้ป่วยในให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไป มีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ การเฝ้าระวังและป้องกันความเสี่ยงต่อการตกเตียง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง ผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากยาบางชนิดจึงเป็นกระบวนสำคัญในการดูแลผู้ป่วย หากมีอุบัติการณ์เกิดขึ้นอาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนในระดับเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรงทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานมากขึ้น ทางหน่วยงานได้ตระหนักในความสำคัญของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จึงได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการตกเตียงของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อลดอุบัติการณ์การตกเตียง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
อุบัติการณ์การผู้ป่วยตกเตียง |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ทบทวน ประชุม เหตุการณ์สำคัญ
2.จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วย
- แนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันผู้ป่วยตกเตียง
-เก็บข้อมูลการเกิดอุบัติการณ์
3.แจ้งแนวทางให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้รับทราบ
กิจกรรม
1.ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนนำผู้ป่วยลงเตียง จัดเตียงที่เหมาะสมกับโรคและอาการ
2.ประเมินความเสี่ยงการตกเตียงในผู้ป่วยแรกรับ โดยใช้Hendrich II Fall Risk Model
3. ปฐมนิเทศผู้ป่วยแรกรับและญาติเกี่ยวกับสถานที่ในหอผู้ป่วยให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ การวางสิ่งของ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเหตุผลของการเฝ้าระวังและป้องกันด้วยวิธีต่างๆ และอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากมีการเฝ้าระวังไม่เพียงพอ
4.ดูแลบริเวณทางเดินและที่พักผู้ป่วยให้มีแสงสว่างเพียงพอ
5. ติดสติกเกอร์สะท้อนแสงบริเวณพื้นที่ต่างระดับ
6.ล๊อคล้อรถเข็น เตียง รถนอนตลอดเวลายกเว้นขณะเคลื่อนย้าย
7.ปรับระดับเตียงให้ต่ำหรือให้นอนในเตียงเตี้ยยกราวกั้นเตียงขึ้นทั้ง 2 ด้านหากเตียงสูง ควรมีที่วางเท้าเพื่อใช้ขึ้นลง
8.วางโต๊ะคร่อมเตียงไว้ในด้านที่ไม่ใช้ขึ้นลง
9.ดูแลอุปกรณ์ตามเจ้าหน้าที่พยาบาล เช่น ออดสัญญาณให้พร้อมใช้งาน
10.ห้องน้ำต้องมีราวจับดูแลบริเวณพื้นห้องห้องน้ำให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
11.ทบทวนยาต่างๆที่ผู้ป่วยได้รับ ประเมินอาการของผู้ป่วยที่ใช้ยาหลายอย่างร่วมกัน เช่น ยาแก้ปวด ยานอนหลับ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ที่มีผลข้างเคียง เสี่ยงต่อการตกเตียง
12.ในกิจกรรมรับ-ส่งเวร มีการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการตกเตียง
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|