ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดส่วนปลายอักเสบ จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือด
ผู้แต่ง : ศิริรัตน์ ภูวนารถ 3461400192731 ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยที่เปิดเส้นเลือดส่วนปลายเพื่อให้สารน้ำของพยาบาลในหอผู้ป่วย ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน การดูแลบริเวณที่แทงเส้นเลือด การดูแลขณะที่ผู้ป่วยคาเข็ม การพยาบาลหลังเกิด Phlebitis ทำให้มีอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่เปิดเส้นเลือดเพื่อให้สารน้ำ ยา ซึ่งจากการเก็บข้อมูล ในเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนธันวาคม 2559 มี Phlebitisเฉลี่ย คิดเป็น 0.21 ครั้ง/วันรวมที่ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ เป็น grade 1,2 คิดเป็น 0.10 ครั้ง/วันรวมที่ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ grade 3-4 คิดเป็น 0.10 ครั้ง/วันรวมที่ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ ตึกผู้ป่วยใน จึงเห็นความสำคัญของการนำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ มาปฏิบัติในหน่วยงานให้เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อลดการเกิด Phlebitis ตามนโยบาย Patient safety ลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา  
วัตถุประสงค์ : 1. มีแนวทางปฏิบัติในเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 2. ลดอัตราการเกิด Phlebitis  
กลุ่มเป้าหมาย : - ผู้ป่วยในที่ได้รับสารน้ำทางเส้นเลือดดำทุกราย  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมร่วมกันของเจ้าหน้าที่ในตึกผู้ป่วยใน 2. แจ้งข้อมูลการเกิดภาวะ Phlebitisในตึกผู้ป่วยในที่ได้จากการเก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขการเกิดภาวะ phlebitis 3. จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือด 4. แจ้งเจ้าหน้าที่ในตึกผู้ป่วยในรับทราบให้ปฏิบัติตาม 5. เก็บข้อมูล การเกิดภาวะ phlebitis grade 3-4 วิเคราะห์หาสาเหตุรายบุคคล - ตำแหน่ง - การไหลไม่สะดวก - ยาที่ใช้ - โรคประจำตัว และกลุ่มอายุ กิจกรรมการพยาบาลที่ต้องเน้นเพิ่มเติม 1. การให้คำแนะนำผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกครั้งที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ - แนะนำไม่ให้เปียกน้ำ - ตำแหน่งที่ให้สารน้ำแนะนำให้อยู่นิ่งหรือขยับน้อยที่สุด - หากมีอาการปวด บวม แดงบริเวณที่ได้รับสารน้ำให้แจ้งพยาบาลทันที 2. การเปลี่ยนตำแหน่งการให้สารน้ำและชุดให้สารน้ำทุกๆ 96 ชั่วโมง ( 4 วัน ) หรือทุกครั้งเมื่อมีการปวด บวม แดง และ เปลี่ยนชุดให้ ยา antibiotic ทุก 24 ชั่วโมง 3. กรณีให้ยาทางหลอดเลือดดำ ให้ ช้าๆ ตามเวลาที่กำหนด ไม่เร็วเกินไป 4. การพยาบาลเมื่อเกิด Phlebitis - หยุดฉีดยา - เปลี่ยนตำแหน่งที่ฉีดยาใหม่ - ยกตำแหน่งที่เกิดปัญหาให้สูงขึ้น - ประคบด้วยความร้อนบริเวณที่เกิด Phlebitisเป็นเวลา 20นาที วันละ2-3ครั้ง เพื่อให้เกิดภาวะ vasodilate เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นให้เพียงพอ ต่อมาให้ ประคบด้วยความเย็นเพื่อลดอาการแสบ ร้อน - พันแผลด้วยผ้าเพื่อลดบวมด้วย elastic bandage เพื่อลดบวม - รายงานแพทย์ทราบ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง