|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาการสื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงบริการและพึงพอใจเพื่อติดตามการรักษาวัณโรค |
ผู้แต่ง : |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝายแตก ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
วัณโรคเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญ มีการคาดประมาณว่าปัจจุบันทั่วโลกมีจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรคมากกว่าร้อยละ 30 สถานการณ์การรักษาวัณโรคในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝายแตก อัตราความสำเร็จของการรักษาปี 2557 - 2559 คิดเป็นร้อยละ 85.71 , 71.10 , 78.12 ในปี 2560 วัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียน 5 ราย มีเสมหะพบเชื้อร้อยละ 50 และยังพบว่าเป็นรายเดิมอีก 2 ราย ซึ่งต้องเร่งรัดศึกษาหาสาเหตุการขาดผู้ป่วยวัณโรคในป่วยอย่างจริงจังเพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วยและการป้องกันปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่มีคุณภาพด้วยด้วยการศึกษาสาเหตุการขาดรับยา
2. เพื่อให้อัตราความสำเร็จการรักษาเท่ากับหรือมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
3. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายมีพี่เลี้ยงในการกำกับการกินยา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3คน
2.อสม. 10 คน
3.ผู้ดูแลผู้ป่วย 5 คน
|
|
เครื่องมือ : |
1. หนังสือข้อมูลเรื่องวัณโรค
2. ยุทธศาสตร์และแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ
3. การค้นหาและตรวจวินิจฉัยวัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง
4. การรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่และแนวทางการรักษาแบบพี่เลี้ยงกำกับการกินยา
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.กำหนดเป้าประสงค์ วิธีการ และการกำหนดผู้รับผิดชอบ นโยบายการจัดการวัณโรคในชุมชน
2.การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ นำแนวทางการปฏิบัติที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน
3.ร่วมเรียนรู้ปรับปรุง แบ่งปันความรู้ และนำบทเรียนไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
4.การบูรณาการให้สอดคล้องให้เป็นแนวทางเดียวกัน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการศึกษาพบว่าแนวทางปฏิบัติด้านการดูแลผู้ป่วยวัณโรคทำให้ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝายแตกได้รับการรักษาโดยหายขาด ใช้ยาสูตร CAT1และพัฒนาผลแนวทางปฏิบัติด้านการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดไปใช้ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝายแตกต่อไป |
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|