ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และการปฏิบัติตัวด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในกลุ่มผู้ทำงานแกะสลักหินบ้านนากระเดาพัฒนา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : จรูญ มูลเจริญ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : บ้านนากระเดาพัฒนา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้านเดียวในเขตอำเภอนาคู ที่มีอาชีพแกะสลักหิน ที่มีมานานกว่า 50 ปี เป็นทั้งอาชีพหลัก และอาชีพเสริม ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเป็นอย่างดี และผลงานการแกะสลักหินเป็นผลงานที่มีชื่อเสียง ทั้งในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และในระดับประเทศ มีสถานที่ทำงานแกะสลักหินอยู่ 3 แห่ง มีผู้ทำงานแกะสลักหินรวมทั้งหมด 30 คน จากลักษณะงานที่กลุ่มผู้ทำงานแกะสลักหินต้องมีการสัมผัส และเกี่ยวข้องกับสภาพงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการทำงานหรือความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการ ศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในเขตพื้นที่ บ้านนากระเดาพัฒนา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการป้องกันอันตรายจากการทำงานแกะสลักหินในกลุ่มผู้ทำงานแกะสลักหิน ในพื้นที่รับผิดชอบของผู้วิจัย และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และการปฏิบัติตัวด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในกลุ่มผู้ทำงานแกะสลักหิน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ทำงานแกะสลักหินรวมทั้งหมด 30 คน  
เครื่องมือ : โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามการปฏิบัติตัว  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และการปฏิบัติตัวด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในกลุ่มผู้ทำงานแกะสลักหิน ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ 6 บ้านนากระเดาพัฒนา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ชี้แจงกระบวนการฝึกอบรมในภาพรวม การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานแกะสลักหิน และระบุอันตรายที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอนการทำงาน การระบุอันตรายที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการทำงานแกะสลักหิน การให้ความรู้ ทบทวนเนื้อหา การหาวิธีป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอนการทำงานแกะสลักหิน สรุปและทบทวนเนื้อหาทั้งหมด และหาแนวทางปฏิบัติจริงที่ดี ในการปฏิบัติตัวเพื่อความปลอดภัยในการทำงานแกะสลักหิน เก็บข้อมูลโดยแบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามการปฏิบัติตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t - test  
     
ผลการศึกษา : หลังการจัดโปรแกรม พบว่า ความรู้และการปฏิบัติตัวด้านความปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากและ ดีขึ้นจากก่อนการจัดโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)  
ข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ทำงานแกะสลักหินไปในทางที่ดีได้ จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)