ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุทัยวรรณ อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นวลนภา บุญวิเศษ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การบริการสุขภาพของหนวยบริการปฐมภูมิ ดานการบริการทดสอบ หรือตรวจวิเคราะหทางหองปฏิบัติการดานการแพทยและสาธารณสุข โดยใชเทคนิคอยางงาย การแปลผลไมซับซอน และยุงยากเพื่อการวินิจฉัยโรคเบื้องตน และติดตามผลการรักษาถือเปนบทบาทหนาที่ที่สําคัญของหนวยบริการปฐมภูมิในการบริการสุขภาพแกประชาชนอยางตอเนื่อง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุทัยวรรณตามระบบคุณภาพมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต)  
กลุ่มเป้าหมาย : เจ้าหน้าที่และบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุทัยวรรณ ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : แบบตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๓.๑ พัฒนาด้านบุคลากรผู้ทำการทดสอบ ๓.๒ พัฒนาและปรับปรุงสถานที่ทำการทดสอบ ๓.๓ พัฒนาด้านวัสดุ น้ำยา และเครื่องมือทดสอบ ๓.๔ พัฒนาด้านขั้นตอนการทดสอบ ๓.๕ พัฒนาด้านการประกันคุณภาพการทดสอบ ๓.๖ ขั้นตอนหลังการทดสอบและความปลอดภัย ๓.๗ การรายงานผลการทดสอบ  
     
ผลการศึกษา : ผู้รับบริการได้รับการบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย มีมาตรฐาน มีความสะดวกยิ่งขึ้น ที่สามารถเข้าถึงการบริการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้ที่หน่วยบริการใกล้บ้าน ได้รับบริการคัดกรอง สร้างเสริมมุขภาพในชุมชนได้ครอบคลุม และสามารถรับฟังผลได้จากการแจ้งผลการตรวจทดสอบไปที่บ้าน ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว ก่อนส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย ตารางที่ ๑ ผลการดำเนินงานบริการทดสอบเพื่อค้นหาหรือคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเบื้องต้น ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๙ รายการ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ก จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน ๑. การตรวจวิเคราะห์น้ำตาลจากปลายนิ้ว ๒,๑๗๑ ๒,๔๐๙ ๒๕๕๗ ๒,๓๘๘ ๒. การตรวจวิเคราะห์น้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ ๔๗ ๕๑ ๕๙ ๔๓ ๓. การตรวจวิเคราะห์การตั้งครรภ์ (HCG ในปัสสาวะ) ๔๗ ๕๑ ๕๙ ๔๓ ๔. การตรวจหาปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) ๔๗๐ ๓๔๙ ๔๖๒ ๑๗ ๕. การตรวจหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร ๒๘๖ ๓๒๖ ๓๓๖ ๐ หมายเหตุ ก ผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)