ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : .การประเมินผลการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ (Distric Health System) อำเภอสมเด็จ กรณีศึกษา การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สายรุ้ง วงศ์ศิริ,อมรรัตน์ ยุระชัย,สุรางค์รัตน์ อ่อนดี ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชมีความชุกในทุกภูมิภาคทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบเขตของปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเร่งด่วนไว้ 8 โรค ได้แก่ โรคจิต โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม ลมชัก ความผิดปกติทางจิตเวชจากแอลกอฮอล์และสารเสพติด ความผิดปกตทางพัฒนาการ ปัญหาพฤติกรรมในเด็ก การทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย สำหรับประเทศไทยกรมสุขภาพจิตร่วมกับโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ประเมินว่ามีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้าถึงบริการ 10 คน แต่มีผู้ป่วยประมาณ 8 แสนคน (ร้อยละ 8) เท่านั้นที่เข้าถึงบริการทางสุขภาพจิต ซึ่งจะเห็นว่ายังเป็นปัญหาในการเข้าถึงบริการอยู่มาก โดยในปีงบประมาณ 2555 ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ที่ป่วยมีความคิด และการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เกิดผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตนเอง การใช้ชีวิตในสังคม มีการศึกษาในประชากรทั่วไปที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2007 พบว่าความชุกของผู้ป่วยโรคจิตเภท (life time prevalence of schizophrenia) อยู่ที่ร้อยละ 0.87 สอดคล้องกับอีกการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH : National Institute of Mental Health) พบว่า ความชุกของโรคจิตเภท อยู่ระหว่างร้อยละ 0.6-1.9 หรือ ประมาณร้อยละ 1 ซึ่งหมายถึงจำนวนคน 100 คน มี 1 คน ที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคจิตเภทในระหว่างช่วงชีวิต จากการสำรวจทั่วทวีปเอเชีย ที่ทำในปี ค.ศ. 2013 - 2014 พบว่าในประเทศไทยมีความชุกของผู้ป่วยกลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 43 ซึ่งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดโรคนี้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ครอบครัว ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ภาระหนี้สินของครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น การย้ายถิ่นฐานไปในเมืองใหญ่เพื่อประกอบอาชีพและศึกษา เกิดความแออัด ความเครียด และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการปรับตัว ของประชากรในสังคมส่วนรวมการใช้สารเสพติดที่ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคหรือความผิดปกติต่างๆตามมา ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเกิดโรคจิตเภทด้วย และถึงแม้ภาพของการเข้าถึงบริการมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ยิ่งไปกว่านั้นจากการศึกษาเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการโรคจิตในพื้นที่ระดับอำเภอนำร่อง พบว่า มีเพียงร้อยละ สำหรับการติดตามต่อเนื่อง พบว่า มีเพียงร้อยละ 39 เท่านั้น ในปี 2558 มีผู้ป่วยจิตเวชสุราที่เข้ามารับบริการในหน่วยบริการ สังกัดกรมสุขภาพจิตจำนวนทั้งสิ้น 20,852 คน เป็นผู้ป่วยนอก 5,758 คน คิดเป็นร้อยละ 20.46 ของผู้ป่วย จิตเวชทั้งหมดและเป็นผู้ป่วยใน 15,094คน คิดเป็นร้อยละ 8.06ของผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมดสำ หรับผู้ป่วยจิตเวช ยาเสพติดระบบสมัครใจที่เข้ามารับบริการบำบัดรักษาในหน่วยบริการสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 3,796 คน ในปี2558 ลดลงจากปี 2557 ที่มีจำนวนถึง 3,941 คน ระบบสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) กรมสุขภาพจิตได้ดําเนินการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอําเภอ เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพจิตชุมชนที่ยั่งยืน โดยบูรณาการงานสุขภาพจิตเข้ากับประเด็นสุขภาพที่สําคัญของ แต่ละพื้นที่ โดยมีหลักการสําคัญ คือ 1) การยึดประเด็นสุขภาพในพื้นที่เป็นสําคัญ 2) ให้ความสําคัญกับบริบท ในชุมชน 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง แต่ทั้งนี้ยังพบปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลที่บ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลให้เกิด การกำเริบของโรคจิตเวชเรื้อรังได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช พบว่า ปัญหาเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกคือ ผู้ป่วยโรคทางจิตเข้าถึงบริการต่ำกว่าโรคทางกาย เนื่องมาจาก ทัศนคติการยอมรับการรักษา และการพัฒนาระบบบริการยังไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุขจึงเน้น บริการเครือข่ายไร้รอยต่อมาตรฐานเดียว เพิ่มตรวจรักษาที่ รพศ./รพท. ขยายบริการลง รพช. เร่งพัฒนาระบบ บริการสุขภาพจิตและจิตเวชให้ครอบคลุมทั่วถึงในทุกเขตสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีปัญหา ทางจิต เข้าถึงการดูแลรักษาใกล้บ้าน ได้กินยาต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าภายในปี2560 ผู้ป่วยโรคจิตเข้าถึงบริการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 สถานการณ์การดำเนินงานของจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า การเข้าถึงบริการของโรคซึมเศร้า มีเพียงร้อยละ 39.09 จากเกณฑ์ที่กำหนด ในปี 2559 ร้อยละ 43 ต่ำกว่าผลงานระดับเขต คือร้อยละ49.69 และต่ำกว่าทุกจังหวัดในเขต 7 อัตราโรคจิตเข้าถึงบริการร้อยละ 95.98 จากเกณฑ์ที่กำหนดในปี 2559 ร้อยละ 55 แม้จะเกินเกณฑ์ที่กำหนดแต่มีอัตราการกำเริบซ้ำจนต้องรักษาแบบผู้ป่วยในสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคออทิสติก สมาธิสั้น เข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 5 จากเกณฑ์ที่กำหนดในปี 2559 ร้อยละ 15 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2556: 6.02ต่อแสนประชากร ปี2557: 4.57 ต่อแสนประชากรส่วน ปี 2559 ใน 3 เดือน มี 16 ราย ซึ่งแม้จะไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด (6.5 ต่อแสนประชากร) แต่มีอัตราสูงที่สุดในเขต 7 นอกจากนี้ อัตราการส่งต่อ ปี 2558 จำนวน 455 ครั้ง สูงที่สุดในการส่งต่อทุกโรค เนื่องจากศักยภาพของหน่วยบริการทั้งด้านบุคลากร บัญชียาที่แตกต่าง มีความแตกต่างของเม็ดยาเดียวกัน มียาไม่ครอบคลุม 35 รายการ ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภท มีความยากลำบากในการเดินทางมารักษาในโรงพยาบาลจังหวัด หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล จิตเวช จึงพบว่ามีผู้ป่วยจิตเภทขาดยา อาการกำเริบซ้ำ สำหรับอำเภอสมเด็จ พบว่ามีผู้ป่วยจิตเภทมารับบริการแบบผู้ป่วยนอก ในปีงบประมาณ 2557 – 2559 มีจำนวนดังนี้ 396 , 421 และ 527 รายตามลำดับ มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในปี 2559 จำนวน 590 คน ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ 43.19 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2556 - 2559 คิดเป็น 7.44 , 2.98,6.5 และ 8.25 ตามลำดับ และจากการสำรวจพบว่า มีผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเมื่อรับการรักษาแล้วมีอาการดีขึ้น เกิดปัญหาการขาดนัด ขาดยา อาการกำเริบมีอาการทางจิตมากขึ้นและเป็นสาเหตุของการทำร้ายตนเองจนถึงแก่ชีวิตในที่สุด และมีจำนวนมากที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการ มีผู้ป่วยโรคจิตจำนวน 2 คน ถูกล่ามขังและไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ขาดกระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคจิตในชุมชนให้ได้รับการดูแลที่ดี เหมาะสมและการได้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องนั้นเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน ต้องอาศัยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติและองค์ความรู้ของญาติ ชุมชน รวมถึงเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข ที่มีต่อผู้ป่วยโรคจิต ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการงานสุขภาพจิตและจิตเวช โดยการสร้างเครือข่ายสุขภาพอำเภอในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน โดยประชาชนในพื้นที่สามารถคัดกรองปัญหาทางสุขภาพจิต การประเมิน การเฝ้าระวัง การเข้าถึงบริการและรับการรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยมีความคาดหวังว่าผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านมีความสามารถพึ่งตนเองและ อยู่ร่วมในชุมชนได้ ญาติและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่าง จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม ในการดูแลผู้ป่วย และป้องกันการเจ็บป่วยของกลุ่มเสี่ยงในชุมชน จนสามารถลดอัตรากรฆ่าตัวตายสำเร็จลงได้ในที่สุด  
วัตถุประสงค์ : .3.1. เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) กรณีศึกษา โครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม  
กลุ่มเป้าหมาย : .กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาที่ได้จาก กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 1 คน ผู้ที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 9 คน คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอจำนวน 20 คน อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เชี่ยวชาญด้านจิตเวช จำนวน 94 คน รวม 124 คน อำเภอสมเด็จ ทำการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มีนาคม 2560 .  
เครื่องมือ : .4.1 โครงสร้างและที่มาของเครื่องมือ 4.1.1 เครื่องมือที่ใช้ในงานการศึกษาครั้งนี้ เป็นเครื่องมือที่ผู้ศึกษาประยุกต์มาจากมาตรการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กรมสุขภาพจิต ปี 2559 แบบประเมินกระบวนการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2557 มาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตสำหรับโรงพยาบาลชุมชน กรมสุขภาพจิต ปี 2558 แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอสมเด็จ (ODOP) การประเมินตามคำรับลองการปฏิบัติราชการ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม เป็นกรอบในการประเมินผล โดยดำเนินการ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มีนาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสัมภาษณ์ แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ ตำแหน่ง ระดับ ระดับเงินเดือน ระยะเวลาการทำงาน มีจำนวน 9 ข้อ ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วมตามขั้นตอนของแนวทางการประเมินเครือข่ายสุขภาพอำเภอ (District Health System :DHS) 5 ลำดับ มีจำนวน 35 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ตามเกณฑ์การประเมินแบบอิงเกณฑ์ของบลูม (Bloom, 1971 อ้างถึงใน วิภาวี สุวรรณธร, 2553) ส่วนที่ 3 แบบสัมภาษณ์การดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานส่งเสริมด้านสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีจำนวน 11 ข้อ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต องค์ประกอบที่ 2 การบริการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต องค์ประกอบที่ 3 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต องค์ประกอบที่ 4 ระบบสารสนเทศการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ส่วนที่ 4 แบบสัมภาษณ์การแบบประเมินตนเองเพื่อพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตสำหรับโรงพยาบาลชุมชน มีจำนวน 17 ข้อ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต องค์ประกอบที่ 2 การบริการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต องค์ประกอบที่ 3 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต องค์ประกอบที่ 4 ระบบสารสนเทศการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ส่วนที่ 5 แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอสมเด็จ (ODOP)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนเตรียมการ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชระดับอำเภอ และระดับตำบล 2. จัดประชุม ชี้แจง แนวทางการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ 3. วิเคราะห์ และจัดลำดับกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง และผู้ป่วย SMIV ( Serious Mental Illness Violence) พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวัง ขั้นตอนดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมเสวนาพาแลงในชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในประเด็นปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย ตามสภาพปัญหาที่พบ 2. จัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้มีปัญหาสุภาพจิตและจิตเวชแต่ละประเภท 3. ประชุมเชิงปฏิบัติการ บุคลากรสาธารณสุข อสม. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดูแลด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบ บูรณาการ 4. ประชาสัมพันธ์ งานสุขภาพจิตเชิงรุกในชุมชนทางหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน จัดบอร์ดให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต ในสุขศาลา กิจกรรมรณรงค์สัปดาห์สุขภาพจิต 5. ดำเนินการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางจิต ในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 6. จัดบริการคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจ ในสถานบริการระดับตำบล 7. ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาซับซ้อน ผู้ป่วยล่ามขัง และผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการทำร้ายตนเอง และการก่อความรุนแรง (SMIV) 8. นิเทศ ติดตาม การดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ในสถานบริการเครือข่าย และในชุมชน 9. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ ในชุมชน 10. คืนข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องในเวทีประชุมหัวหน้าส่วนราชการ/กำนันผู้ใหญ่บ้าน และที่ประชุมประจำเดือนของ อปท. 11. สรุปผลและถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ อำเภอสมเด็จ ขั้นตอนการประเมินผล 1. สุ่มตรวจซ้ำการคัดกรองสุขภาพประชาชนของอสม.และ จนท.รพ.สตในทุกตำบลๆละ 20 คน และวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน 2. ประเมินความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมของ อสม. และจนท. 3. ประเมินการจัดบริการคลินิกสุขภาพจิต รพช. และ รพ.สต.ตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. ประเมินการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 4. วิเคราะห์ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดจากฐาน HDC ของจังหวัดกาฬสินธุ์ 5. ประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วย 9 มิติ 6. ประเมินความพึงพอใจของญาติ และผู้มีส่วนได้เสีย  
     
ผลการศึกษา : ด้านบริบท พบว่า การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) ด้วยกลไกตำบลจัดการสุขภาพมีความสอดคล้องและชัดเจนกับนโยบายและยุทธศาตร์ทุกระดับ มีเป้าหมายให้ประชาชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ โดยใช้แนวทางการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพเป็นเครื่องมือ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า บุคลากร และงบประมาณ มีความเพียงพอที่จะดำเนินงานได้ ซึ่งได้รับการจัดสรรจากระดับจังหวัด อำเภอ และกองทนสุขภาพในพื้นที่ เป็นหลัก บุคลากรผู้ปฏิบัติมีองค์ความรู้เพียงพอในการจัดกิจกรรมในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการคัดกรองให้คำปรึกษาและการส่งต่อ ด้านกระบวนการ พบว่า เจ้าหน้าที่ทุกระดับได้รับการถ่ายทอด ชี้แจงกิจกรรมของโครงการ มีการรับรู้เป้าหมายในการดำเนินงาน มีการคัดพื้นที่ที่มีสภาพปัญหารุนแรง และมีต้นทุนทางสังคมสูง มีการประชาคมและกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ตามระดับการพัฒนา 5 ขั้น อยู่ในระดับ 5 การดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานส่งเสริมด้านสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 9 แห่ง มีการดำเนินงานทั้ง 4 องค์ประกอบ สรุปผล การดำเนินงานอยู่ใน ระดับดีมาก (ระดับ1) การดำเนินงานพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตสำหรับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 1 แห่ง มีการดำเนินงานทั้ง 4 องค์ประกอบ สรุปผล การดำเนินงานอยู่ใน ระดับดีมาก (ระดับ1) ด้านการประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอสมเด็จ พบว่า มีการดำเนินงานต่อเนื่อง มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 - 2560 อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปี พ.ศ. 2558-2560 ร้อยละ 26.4, 37.6 และ 47.4 ตามลำดับ ตำบลผ่านเกณฑ์พัฒนาระบบการบริการวิกฤตสุขภาพจิต ร้อยละ 50 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 8.2 ต่อแสนประชากร และอำเภอผ่านคุณลักษณะอำเภอป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายที่เข้มแข็ง ระดับ 5 สรุปผลการศึกษา จากการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ ของอำเภอสมเด็จ สามารถตอบสนองการพัฒนาคุณภาพด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมได้มากขึ้น จึงควร ควรเผยแพร่รูปแบบการดำเนินงาน DHS ด้านสุขภาพจิตและจิตเวชตามแนวทางการดำเนินงานของอำเภอสมเด็จ ให้กว้างขวาง และขยายผลการดำเนินงานด้วยกลไก DHS ในการแก้ปัญหาสุขภาพ อื่นๆ ต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : ควรเผยแพร่รูปแบบการดำเนินงาน DHS ด้านสุขภาพจิตและจิตเวชตามแนวทางการดำเนินงานของอำเภอสมเด็จ ให้กว้างขวาง และขยายผลการดำเนินงานด้วยกลไก DHS ในการแก้ปัญหาสุขภาพ อื่นๆ ต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)