ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
ผู้แต่ง : คณาพร วงษ์สีดาแก้ว ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปีงบประมาณ 2550 โรงพยาบาลหนองกุงศรีได้มีการจัดตั้งคลินิกหอบหืด ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้ป่วยโรคหืด (Asthma) และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) มีเจ้าหน้าประจำคลินิก ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ปัญหาที่พบคือ มีการ Re – admit บ่อย, ผู้ป่วยไม่มีความรู้เกี่ยวกับทักษะฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ปีงบประมาณ 2556 จึงได้มีสหวิชาชีพอันได้แก่ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย COPD มีการใช้แบบประเมินเกี่ยวกับโรคถุงลมโป่งพอง (CAT), อาการหอบเหนื่อย (MMRC dyspnea score) และ 6 Minute Walk Distance (6MWD) ในการประเมินก่อน-หลังกิจกรรม ยังพบว่าผู้ป่วย COPD ยังขาดความตระหนัก/การเอาใจใส่ในการการฟื้นฟูสมรรถภาพ ปีงบประมาณ 2559 ได้มีการนำเอาวิธีในการคำนวณค่า 6MWD โดย T. Troosters และคณะ มาใช้ในรายบุคคล ซึ่งเป็นการคำนวณจากเพศ อายุ น้ำหนัก และส่วนสูง เพื่อผู้ป่วยจะได้ทราบเป้าหมายของการทำ 6MWD และผู้ป่วยมีส่วนร่วมการตั้งเป้าหมายในการฟื้นฟูสมรรถภาพของตนเองร่วมกัน  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อทำให้ Exercise tolerance ดีขึ้น 2. เพื่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจเพิ่มขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ในเขตอำเภอหนองกุงศรี  
เครื่องมือ : 1. แบบประเมินเกี่ยวกับโรคถุงลมโป่งพอง (CAT) 2. แบบประเมินอาการหอบเหนื่อย (MMRC dyspnea score) 3. 6 Minute Walk Distance (6MWD)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย COPD เป็นรายบุคคล (เพิ่มรายละเอียด ทำอะไร อย่างไร) 2. มีการกำหนดการออกกำลังกายที่เหมาะสม (Exercise prescription) ให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่ Breathing exercise, Strengthening exercise, Stretching exercise และ Exercise tolerance 5. เกิดนวัตกรรมในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด คือ ขวดมหัศจรรย์  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงาน COPD ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 1. ผู้ป่วย COPD ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (100%) 37.84% 35.23% 38.04% 44.23% 2. ผลการฟื้นฟูฯ โดยใช้ 6MWD, MMRC, CAT (เปลี่ยนแปลง 2 ใน 3) – เพิ่มขึ้น 35.71% 58.06% 34.29% 39.53% ปีงบประมาณ 2559 จากการใช้วิธีในการคำนวณค่า 6MWD โดย T. Troosters และคณะ มาใช้ในรายบุคคล เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่ามีผู้เข้าร่วมการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งสิ้น 43 ราย ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มขึ้นจำนวน 17 รายจาก 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.53 ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพลดลงจำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.30 ซึ่งมีจำนวน 2 รายที่มีโรคหรืออาการอย่างอื่นแทรกซ้อน นั่นคือ Stroke และมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา จึงส่งผลให้สมรรถภาพลดลง ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพไม่เปลี่ยนแปลงจำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.33 และกลุ่มที่ไม่สามารถติดตามได้จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.88 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขาดการ follow up และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ไม่สามารถวัดผลได้จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.95 นั่นคือ เป็นบุคคลที่เข้าร่วมการฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่ไม่สามารถเดินได้ เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งการประเมินผลจะใช้แบบประเมินเกี่ยวกับโรคถุงลมโป่งพอง (CAT), อาการหอบเหนื่อย (MMRC dyspnea score) และ 6 Minute Walk Distance (6MWD) ในการประเมินก่อนและหลังกิจกรรม ต้องมีการเปลี่ยนแปลง 2 ใน 3 หลังจากเริ่มกิจกรรมไปแล้วอย่างน้อย 8 สัปดาห์  
ข้อเสนอแนะ : 1. การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในหน่วยบริการเฉพาะในคลินีกหอบหืด/COPD ยังเป็นข้อจำกัด ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างครบถ้วนและครอบคลุม 2. ควรมีการติดตามผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มที่ไม่สามารถติดตามผลได้ และกลุ่มที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง