ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ลดการตกเลือดของมารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (C/S) ขณะผ่าตัด
ผู้แต่ง : เพ็ญสุดา สุวรรณธาดา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลสมเด็จเป็นโรงพยาบาลระดับ M2 มีแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีเวชกรรม ให้บริการรักษามารดาตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบและอำเภอใกล้เคียง มีมารดาที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (Cesarean section) เพิ่มขึ้นทุกปี ย้อนหลัง 3 ปี ดังนี้ ปี 2557-2559 มีจำนวน 206, 261, 184 ราย ตามลำดับ และพบว่ามีปัญหาการตกเลือดของมารดาที่ผ่าคลอดเพิ่มขึ้นด้วย ตามจำนวนผู้ป่วย และตามปัญหาภาวะแทรกซ้อนของมารดาที่ตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นด้วย ดังนี้ ปี 2557 มีจำนวน 12 ราย คิดเป็น 5.8% ปี 2558 จำนวน 31 ราย คิดเป็น 11.87% และปี 2559 จำนวน 26 ราย คิดเป็น 14.13% ตามลำดับ ดังนั้นงานห้องผ่าตัดจึงได้เก็บรวบรวมข้อมูล และทบทวนหาแนวทางแก้ไขปัญหา ลงมือปฏิบัติจริงทันทีร่วมกับสหวิชาชีพ ได้พัฒนาวิธี และปรับเปลี่ยนเทคนิค การทำหัตถการขณะผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวที่อาจส่งผลต่อมารดาที่คลอดทำให้เกิดภาวะ Shock หรือเสียชีวิตเนื่องจากสูญเสียเลือดได้เกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทีมผ่าตัดก็เสี่ยงจากการถูกร้องเรียน หรือการฟ้องร้องทางคดี  
วัตถุประสงค์ : ลดอัตราการตกเลือดของมารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (C/S) < 5%  
กลุ่มเป้าหมาย : มารดาตั้งครรภ์ที่คลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องทุกราย  
เครื่องมือ : - ทะเบียนบันทึก ตกเลือดหลังคลอด C/S - บันทึกอุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอด C/S  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. เก็บข้อมูล ตั้งแต่ปี 2557-2560 ในทะเบียนบันทึก ตกเลือดแล้วคลอด C/S ทุกรายที่มี TBL > 1000 ml. ขึ้นไป 2. วิเคราะห์ที่ข้อมูลสาเหตุและปัญหาจากการเก็บข้อมูลทบทวนอุบัติการณ์ที่เกิดร่วมกับสหวิชาชีพ 3. เอาผลการทบทวนและปัญหาที่แก้ไข ลงมือปฏิบัติและปรับเปลี่ยนเทคนิคขณะทำหัตถการทันที  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง