ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน ด้วยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ชลันดา ดุลการณ์,จันทรา โพธิ์หมุด ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : อำเภอคำม่วงมีโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหา 10 อันดับโรคของพื้นที่ คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอกเลือด มะเร็ง งานอนามัยแม่และเด็ก การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น โรควัณโรค โรคเล็บโตสไปโรซีส โรคไข้เลือดออก สารเคมีในเลือด สุขภาพจิต และยาเสพ การดำเนินงานควบคุมโรคของอำเภอคำม่วงมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นเครือข่ายระดับ คปสอ. มีทีมดำเนินงานที่เข้มแข็ง สามารถให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยตั้งแต่ระดับโรงพยาบาล รพ.สต.และชุมชน ซึ่งมีการพัฒนาหลายๆด้าน พัฒนาระบบบริการ พัฒนาระบบส่งต่อ พัฒนาสรรถณะบุคลากร ให้มีมาตรฐานสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะโรคได้ครอบคุลมทั้งเครือข่าย มีกิจกรรม เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสุขภาพแก่ประชาชน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่ายังมีประเด็นปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นการดูแลสุขภาพผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระบบการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยทำงานทุกโรค ยังไม่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้อยู่ตลอดเวลาและการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่าย ตลอดจนปัญหาโรคของตำบลนาบอน โรคเบาหวาน 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ ปี 2554 จำนวน 28 คนปี 2555 จำนวน 21 คน ปี 2556 จำนวน 29 คน ปี 2557 จำนวน 16 คน ปี 2558 จำนวน 50 คน จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูง 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ ปี 2554 จำนวน 19 คนปี 2555 จำนวน 22 คน ปี 2556 จำนวน 161 คน ปี 2557 จำนวน 61 คน ปี 2558 จำนวน 60 คน จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิต มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตลอดจนทางพื้นที่ตำบลนาบอนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้วิจัยจึงได้จัดทำค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตำบลนาบอนเพื่อลดความเสี่ยงและอัตราป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาข้างต้น  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อเสริมสร้างกลไกความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเชิงบูรณาการในการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพดีตามกลุ่มวัยส่งเสริมระบบบริการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานที่มีคุณภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบเส้นรอบเอว น้ำหนัก และค่าดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังการทดลอง  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือประชากรกลุ่มวัยทำงานอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจคัดกรอง ความเสี่ยงโรค metabolism ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 826 คน โดยใช้เกณฑ์คัดเข้าตามที่ผู้วิจัยกำหนด ได้จำนวน 36 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือในการพัฒนา โปรแกรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ วีดีทัศน์ ภาพนิ่ง อภิปรายกลุ่ม สาธิตและฝึกปฏิบัติ คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโปรแกรมการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ของโรคเมตตาบอลิก การวางแผนแก้ไขปัญหาโรค การทำพันธะสัญญาร่วมกันในชุมชน การประเมินผลปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้โรคเมตาบอลิค แบบสอบถามพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ paired t-test  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ วีดีทัศน์ ภาพนิ่ง อภิปรายกลุ่ม สาธิตและฝึกปฏิบัติ คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโปรแกรมการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ของโรคเมตตาบอลิก การวางแผนแก้ไขปัญหาโรค การทำพันธะสัญญาร่วมกันในชุมชน การประเมินผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : หลังจากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ความรู้และพฤติกรรมโรคเมตาบอลิค มีคะแนนมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วนเส้นรอบเอว น้ำหนัก และค่าดัชนีมวลกายมีขนาดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักลดลง 3.34 กิโลกรัม (95% CI = 2.45 to 4.23, P-value <.001) ก่อนได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเส้นรอบเอวเฉลี่ย เท่ากับ 89.69 เซนติเมตร หลังจากได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเส้นรอบเอวเฉลี่ย เท่ากับ 85.31 กิโลกรัม ซึ่งเส้นรอบเอวเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างมีเส้นรอบเอวลดลง 4.37 เซนติเมตร (95% CI = 3.09 to 5.65, P-value <.001) ก่อนได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย เท่ากับ 26.44 หลังจากได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย เท่ากับ 25.10 กิโลกรัม ซึ่งค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าดัชนีมวลกายลดลง 1.34 (95% CI = 1.02 to 1.67, P-value <.001 จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เราทราบวิธีการจัดการให้ความรู้ที่สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง ซึ่งเป็นเพราะว่าการทำหลักสูตรที่เข้มข้นและการมีส่วนร่วมของทีมคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ประชาชนในชุมชน ผู้นำชุมชน ได้จัดกระบวณการให้กลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจ จนสามารถนำไปปฎิบัติได้จริงและเกิดการชักชวน เพื่อนบ้านมาเข้าค่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายรุ่น จนเกิดการขยายเครือข่ายครอบคลุมไปยังหมู่บ้านอื่นและมีการขึ้นทะเบียนผู้เข้าค่ายไว้ และติดตามอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิดส่งผลให้มีความยั่งยืนต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : ควรสนับสนุนให้มีการนำวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ซึ่งจะสามารถทำให้ได้ผลงานที่ดีมีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเนื่องจากเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในโประแกรมปรับปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และควรมีการศึกษาซ้ำ โดยควบคุมปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าระดับดัชนีมวลกาย รอบเอว น้ำหนัก และติดตามผลในระยะยาวต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)