|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของภาคีเครือข่าย ในเขตตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ญัติพร พิมพิลา,นริศรา ศรีแก้วน้ำใสย์ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากผลการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตำบลเนินยาง พบว่า กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๖๗๐ รายตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ จำนวน ๔๐ ราย คิดเป็น ๖๘๐.๕๐ ต่อแสนประชากรและในปี ๒๕๕๘ พบผู้ป่วยจำนวน ๗ ราย คิดเป็น ๑๑๙.๐๙ ต่อแสนประชากร จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีจำนวน ๓ ราย คิดเป็น ๕๑.๐๔ ต่อแสนประชากร (สถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสูงเนิน,๒๕๕๘)มาตรการในการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ควรเน้นภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ(สำนักนโยบายและแผนงานสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. 2549)พื้นที่ตำบลเนินยางอยู่ติดกับเขื่อนลำปาว และแม่น้ำสาขาต่าง ๆ มีการบริโภคปลาน้ำจืดเป็นอาหารหลัก และประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนอีสาน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับซึ่งเป็นต้นทางในการนำไปสู่การเกิดมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ต้อง อาศัยปัจจัยทางการบริหาร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการปฏิบัติงาน 3M's+lT ประกอบด้วย 1) บุคลากร (Man) 2) งบประมาณ (Money) 3)วัสดุอุปกรณ์ (Material) 4) เวลาในการดำเนินงาน (Time) (ประจักร บัวผัน. 2552) ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดการมีส่วนร่วมของโคเฮนและอัฟฮอพ ( Cohen and Uphoff, 1980 ) ซึ่งจำแนกประเภทการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การตัดสินใจในการวางแผน2) การดำเนินงาน 3) การรับผลประโยชน์ 4) การประเมินผลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่เหมาะสมกับพื้นที่ |
|
วัตถุประสงค์ : |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางการบริหาร การมีส่วนร่วมในการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของภาคีเครือข่ายในเขตตำบลเนินยางและอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
2) เพื่อสร้างและพัฒนาทีมภาคีเครือข่ายและศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มตัวอย่างคือตัวแทนภาคีเครือข่าย ในเขตพื้นที่ตำบลเนินยางและอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้การคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร (อรุณ จิรวัฒน์กุลและคณะ,2555) เมื่อได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Rampling) โดยการจำแนกประชากรออกเป็นรายองค์กรเพื่อให้มีลักษณะภายในชั้นคล้ายกันมากที่สุด (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2555) แล้วทำการหาสัดส่วนขนาดตัวอย่างต่อกลุ่มประชากรของแต่ละองค์กรในแต่ละแห่ง เมื่อได้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อให้ได้ขนาดตัวอย่างตามสัดส่วนของแต่ละองค์กร ในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จนได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๙ คน |
|
เครื่องมือ : |
วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา สถิติเชิงอนุมานใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเฟิยร์สัน (Pearson'sProduct Moment Correlation Coefficient)ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาการมีส่วนร่วมทางการบริหารของภาคีเครือข่าย ใน 4 ขั้นตอน คือ 1) การตัดสินใจในการวางแผน2) การดำเนินงาน 3) การรับผลประโยชน์ 4) การประเมินผลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่เหมาะสมกับพื้นที่ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ปัจจัยทางการบริหาร พบว่า ภาพรวมของปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของภาคีเครือข่ายในเขตตำบลเนินยางและอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาปัจจัยทางการบริหารรายด้านแล้ว พบว่า ด้านที่สูงที่สุดอยู่ในระดับมาก คือ ด้านบุคลากร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของภาคีเครือข่ายในเขตตำบลเนินยางและอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านเวลา ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านงบประมาณ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของภาคีเครือข่ายในเขตตำบลเนินยางและอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรมีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้พร้อมใช้ได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการและควรมีการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานในเรื่องการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี กับองค์กรปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานสาธารณสุขในทุกระดับ |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|