ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการเข้าถึงยาพ่นสเตียรอยด์ของผู้ป่วยโรคหืดของโรงพพยาบาลเขาวง
ผู้แต่ง : นางสาวธีรารัตน์ คูศรีรัตน์,นางณัฐพร ยี่วาศรี ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่มีการอักเสบของหลอดลมที่เกิดขึ้นได้จากสิ่งกระตุ้นหลายชนิดซึ่งพบว่าการอักเสบของหลอดลม มีผลทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด หรือหอบเหนื่อยเกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นและอาการเหล่านี้จะหายได้เองหรือหายไปเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม และมีผลกระทบต่อผู้ป่วยค่อนข้างสูง มีผู้ป่วยโรคหืดจำนวนหนึ่งไม่สามารถทำกิจกรรมได้เช่นคนปกติ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่ำกว่าคนปกติ จากข้อมูลของโรงพยาบาลในปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยที่มาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินเนื่องจากเกิดอาการหอบรุนแรงทั้งหมด 37 ราย และมีผู้ป่วยต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการหอบ 21 ราย ซึ่งปัจจุบันแนวทางการรักษาโรคหืดเปลี่ยนไปจากการใช้ยาขยายหลอดลมเป็นหลักเฉพาะเวลาที่มีอาการ มาเป็นการให้ยาลดการอักเสบของหลอดลมซึ่งได้แก่ ยาพ่นสเตียรอยด์ (inhaled corticosteroids) เป็นหลักแทน และจากการทบทวนข้อมูลของผู้ป่วยโรคหืดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเขาวง พบว่ามีผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับพ่นยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาหลักในการควบคุมอาการของผู้ป่วยโรคหืด และพบว่าปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ได้รับยายาพ่นสเตียรอยด์ (inhaled corticosteroids)ร้อยละ66.02 ดังนั้นจึงต้องการศึกษาเพื่อหาสาเหตุการไม่ได้รับยาพ่นพ่นสเตียรอยด์ของผู้ป่วยโรคหืดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเขาวง เพื่อพัฒนาให้ผู้ป่วยโรคหืดสามารถเข้าถึงยาพ่นสเตียรอยด์ได้มากขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาควบคุมการหอบของผู้ป่วยโรคหืด  
วัตถุประสงค์ : - เพื่อศึกษาถึงสาเหตุการไม่ได้รับยาพ่นสเตียรอยด์ของผู้ป่วยโรคหืด - เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหืดได้รับยาพ่นสเตียรอยด์มากขึ้นเกินร้อยละ80 ของจำนวนผู้ป่วยโรคหืดทั้งหมด  
กลุ่มเป้าหมาย : - กลุ่มผู้ป่วยโรคหืดทั้งหมดที่รับบริการที่โรงพยาบาลเขาวง จากฐานข้อมูล HosXP ในปีงบประมาณ 2560  
เครื่องมือ : โปรแกรม HosXP  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 9.1 รวบรวมทบทวนข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด 9.2 ค้นหารายชื่อผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดแต่ยังไม่ได้รับยาพ่นสเตียรอยด์ 9.3 วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้เพื่อหาสาเหตุของการไม่ได้รับยาพ่นสเตียรอยด์ของผู้ป่วยโรคหืด 9.4 ดำเนินการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอสาเหตุของการไม่ได้รับยาพ่นสเตียรอยด์ของผู้ป่วยโรคหืด เพื่อหาแนวทางดำเนินการให้ผู้ป่วยโรคหืดได้รับยาพ่นสเตียรอยด์  
     
ผลการศึกษา : การพัฒนาการเข้าถึงยาพ่นสเตียรอยด์ของผู้ป่วยโรคหืด พบว่าจากฐานข้อมูลโปรแกรมบริการผู้ป่วย HosXp (ต.ค.2559 – มิ.ย.2560) พบว่าจากมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืด (ICD-10 J450 – J459,J460 )และได้รับการสั่งใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ ในช่วงไตรมาสที่1, 2 และ3 ร้อยละ 68.25, 63.60 และ 70.81 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่ค่าเป้าหมายร้อยละ 80 ซึ่งพบว่าสาเหตุมาจาก การที่ยังไม่มีแนวทางการวินิจฉัยโรคหืดผิด ขาดการประชุมให้เข้าใจในแนวทางที่ชัดเจน ในส่วนของความร่วมมือในการใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ของผู้ป่วย (compliance) นั้นได้มีการสอนการใช้ยาพ่นในผู้ป่วยที่ต้องใช้รายใหม่ทุกรายและมีการทบทวนสอบถามประเมินการใช้ยาพ่นซ้ำเป็นระยะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถใช้ยาพ่นถูกต้องแล้ว โดยพบว่ายังมีผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้ยาพ่นสเตียรอยด์อย่างสม่ำเสมอเนื่องจากไม่มีอาการหอบกำเริบจึงไม่ได้พ่นยาร้อยละ 2.8 ใช้ยาเกินขนาดพ่นทุกครั้งที่มีอาการหอบร้อยละ 0.5 และมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร้อยละ 0.28 และเทคนิคการใช้ยาพ่นไม่ถูกต้องร้อยละ1.42  
ข้อเสนอแนะ : จากการทบทวนสาเหตุพบว่ายังมีการลงการวินิจฉัยโรคที่ไม่เหมาะสม จึงควรมีแนวทางการวินิจฉัยโรคหืดที่ชัดเจนสร้างความเข้าใจในการลงICD-10 ที่ถูกต้อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)