|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของการใช้สมาธิบำบัดแบบ SKT ในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา |
ผู้แต่ง : |
วาสนา ศิริรักษ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งมีสถิติระบุว่าร้อยละ 9.6 ของประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคเบาหวานและประมาณ ร้อยละ 50 ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทั้งนี้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในเขต รพ.สต.ธัญญา มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 467 คน อัตราป่วย 4,240 ต่อแสน ปชก.ผู้ป่วยเบาหวานที่ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 28.16 และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 71.84 การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นได้นำแนวทางปฏิบัติโดยการใช้สมาธิบำบัด SKT ในการดูแล ซึ่งประโยชน์ของสมาธินั้น จะช่วยให้จิตใจสงบ ลดความตึงเครียดได้ เพราะการฝึกสมาธิจะทำให้ระดับกรดแลคติก (Lactic acid)และคอร์ติซอล (Cortisol) ในเลือดลดลง รพ.สต.ธัญญา จึงนำการใช้สมาธิบำบัด SKT มาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ |
|
วัตถุประสงค์ : |
-เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติเทคนิคสมาธิบำบัด SKT ของผู้ป่วยเบาหวาน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่รับยาต่อเนื่องในคลินิกเบาหวาน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา อายุน้อยกว่า 60 ปี ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ไม่เกิน 10 ปี มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 130 mg% ติดต่อกัน 2 ครั้ง ที่ประสงค์ยินดีเข้าร่วมโปรแกรมสมาธิบำบัด SKT โดยความสมัครใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในงานวิจัยได้ทุกขั้นตอน |
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม เครื่องมือใช้ทดลอง โปรแกรมสมาธิบำบัด SKT
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ขั้นตอนการวิจัย
ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่1 ผู้วิจัยสอนเทคนิคสมาธิบำบัด SKT ให้แก่ผู้เข้าร่วมวิจัย
ขั้นตอนที่ 2 ให้กลุ่มทดลองฝึกสมาธิบำบัด SKT ที่บ้านทุกวันวันละ 3 รอบ เช้า-กลางวัน-เย็น รอบละประมาณ 30-40 นาที และลงบันทึกด้วยตัวเองเป็นเวลา 3 เดือนและตรวจระดับน้ำตาลเดือนละ 1 ครั้งและจดบันทึกจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การเก็บข้อมูล ใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกการปฏิบัติเทคนิค SKT ในกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งจะจัดเก็บ 2 ครั้งดังนี้
1.ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นก่อนการปฏิบัติเทคนิคสมาธิบำบัด SKT
2.ข้อมูลหลังจากการปฏิบัติเทคนิคสมาธิบำบัด SKT เป็นเวลา 3 เดือน |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ประชากรกลุ่ม ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโปรแกรมสมาธิบำบัด SKT ในครั้งนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 55 – 60 ปี จำนวน 15 คน (ร้อยละ 100) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา จำนวน 15 คน (ร้อยละ 100) รายได้โดยเฉลี่ย คิดเป็นจำนวนบาทต่อเดือน ของประชากรกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด เท่ากับ 2000 บาทโดยรายได้ต่ำสุด เท่ากับ 800 บาท รายได้สูงสุด เท่ากับ 5,000 บาท อาชีพ โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 15 คน (ร้อยละ 100) สถานะภาพสมรส โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน จำนวน 15 คน (ร้อยละ 100)
ความรู้สมาธิบำบัด SKT ก่อนการอบรมผู้ป่วยไม่เคยได้รับความรู้และไม่เคยปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT
พฤติกรรมการปฏิบัติสมาธิบำบัด พบว่าระดับสูงจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 60% ระดับปานกลาง 6 คน คิดเป็นร้อยละ 40%
ระดับน้ำตาลในเลือด พบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.3
สรุปผลการศึกษา
การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนได้รับโปรแกรมสมาธิบำบัด SKT พบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด เท่ากับ 145.26 mg/dl2 (SD. =11.45) ภายหลังการทดลอง เดือนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด เท่ากับ 180.06 mg/dl2 (SD. =40.68) ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลง 35.08 mg/dl (P-value <0.05)
ภายหลังการทดลอง เดือนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด เท่ากับ 136.60 mg/dl2 (SD. =16.50) เมื่อเปรียบเทียบกับหลังการทดลอง เดือนที่ 1 พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลง 8.66 mg/dl (P-value=0.02)
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1.ควรมีการติดตามและส่งเสริมการใช้โปรแกรมสมาธิบำบัด SKT แก่กลุ่มตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง
2.ควรส่งเสริมการใช้โปรแกรมสมาธิบำบัด SKT ขยายผลในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ
3.ควรมีการตรวจระดับ HbA1C ในกลุ่มตัวอย่าง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|