|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ (The risk of outbreaks of Zika virus infection in Namon district, Kalasin province) |
ผู้แต่ง : |
วานิช รุ่งราม |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 12.01 น. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอนามน ได้รับรายงานจากแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนามนทางแอปพลิเคชั่น Line “SRRT Namon ” ว่าพบผู้ป่วยไข้ ปวดข้อ ออกผื่น จำนวน 2 ราย ในบ้านเดียวกัน ทีม SRRT อำเภอนามน จึงลงพื้นที่สอบสวนและควบคุมโรคตามแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกในวันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 13.35 น. |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคและปัจจัยเสี่ยง ค้นหาแหล่งที่มาของการแพร่ระบาด เพื่อหาแนวทางในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโรค |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยไข้ ปวดข้อ ออกผื่น ในอำเภอนามน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบสวนโรค |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนามน
2. สำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านของผู้ป่วย ในรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย
3. การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนามน (8 สิงหาคม 2559 16 ตุลาคม 2559) พบผู้ติดเชื้อโรคไวรัสซิกาในพื้นที่อำเภอนามน จำนวน 7 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในตำบลนามน ผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 4 กันยายน 2559 และพบผู้ติดเชื้อรายสุดท้ายวันที่ 17 กันยายน 2559 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1: 1.33 อายุเฉลี่ย 21.85 ปี (อยู่ในช่วงอายุ 2 – 55 ปี) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีผื่น ร้อยละ 85.71 รองลงมา คือ มีไข้ และปวดข้อ ร้อยละ 50.00 อาการตาแดง พบร้อยละ 28.57 ส่วนอาการปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ พบเพียงร้อยละ 14.29 จากผลสำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านของผู้ป่วย ในรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย พบว่า ใน Day 0 พบค่า HI มากกว่า 10 ส่วนค่า CI ในวัด 3 แห่ง โรงเรียน 2 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง พบค่า CI เป็น 0 ตั้งแต่ Day 0
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control study พบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา ร้อยละ71.42 เป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบพบว่าเป็นผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา ร้อยละ 17.85 มีค่า Odds ratio สูง (OR = 11.5, 95%CI (1.713-77.181)) การป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคในชุมชน ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับการปฏิบัติปานกลาง พบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา ร้อยละ 85.71 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับนี้เพียง ร้อยละ 35.71 (OR = 10.095, 95%CI (1.265-262.488) การมีภาชนะสำหรับรองน้ำในครัวเรือน ประเภทอื่น ๆ (เช่น อ่างน้ำใช้ในห้องน้ำ) พบติดเชื้อไวรัสซิกา ร้อยละ 57.14 มีภาชนะประเภทอื่น ๆ ในครัวเรือน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบพบว่ามีร้อยละ 21.42 ที่มีภาชนะประเภทนี้ในครัวเรือน (OR = 4.889, 95%CI (0.851-28.079)) ส่วนการอาศัยอยู่ในละแวกบ้านที่มีผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา พบว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสซิกา จากการศึกษาที่พบว่ากลุ่มศึกษา ร้อยละ 85.71 อาศัยอยู่ในละแวกบ้านที่มีผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบพบเพียง ร้อยละ53.57(OR =2.166, 95%CI (0.358-13.111))
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
การะบาดครั้งนี้ เป็นการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งได้ดำเนินการควบคุมโรค โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย กำจัดยุงลายตัวแก่ และป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป โดยการสื่อสารความเสี่ยง ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่อำเภอนามน ซึ่งหลังจากการดำเนินการดังกล่าว ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|