ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การเสริมสร้างสมรรถนะของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ฐาปกรณ์ เทศารินทร์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การเกิดโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยนั้นมีความสัมพันธ์กับฤดูกาล ผู้ป่วยไข้เลือดออกพบได้ตลอดทั้งปีแต่จะพบมากขึ้นในช่วงฤดูฝน ลักษณะการระบาดของโรคในอดีตมีทั้งแบบปีเว้นปีและปีเว้นสองปี แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยได้ทุก ๆ ปีอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ความเสี่ยงของการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนนั้นสามารถวิเคราะห์ได้จากค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย กล่าวคือ ชุมชนที่พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงแสดงถึงความเสี่ยงของประชาชนในการมีโอกาสรับเชื้อไข้เลือดออกและความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรคอยู่ในระดับสูง ทำให้ชุมชนนั้นมีแนวโน้มของการเกิดโรคและการระบาดของโรคสูง (กระทรวงสาธารณสุข, 2544) จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกสูงอยู่ในลำดับ4 ของเขตสุขภาพที่ 7 ในปีพ.ศ. 2558 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2558) พบผู้ป่วยสะสมตลอดทั้งปี จำนวน 1,420 คน คิดเป็นอัตราป่วย 144.18 ต่อแสนประชากร (สำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค)อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาการระบาดของไข้เลือดออกมาเป็นระยะเวลาหลายๆปีติดต่อกัน แนวโน้มในการเกิดไข้เลือดออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2558 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้กำหนดให้หน่วยบริการสาธารณสุขดำเนินโครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกครอบคลุมทุกพื้นที่ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต โดยมีเป้าหมาย ให้ประชาชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยมีหน่วยบริการสาธารณสุขดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มข้นทั้งด้านการรักษาพยาบาลในสถานบริการ และงานในชุมชน สำหรับในพื้นที่ตำบลนาทันเป็นพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ระหว่างปีพ.ศ.2555 - 2557 โดยมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอยู่ระหว่าง 131.57 - 696.37 ต่อแสนประชากร และจากการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (House Index : HI) ปีละ 4 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือนพบว่าในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ.2555 - 2557 มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ระหว่างร้อยละ 25.38 - 36.84 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือร้อยละ 10 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2558) ดังนั้นในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกิดเจตคติที่ดีมีความตระหนักและเห็นความสำคัญจนเกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน ผู้วิจัยเชื่อมั่นว่าชุมชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานทางด้านสุขภาพทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่เรียกว่า เครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุข ชมรมทางด้านสุขภาพต่างๆ ในชุมชน ตลอดจนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง สามารถทำงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะได้เรียนรู้ปัญหาและแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยชุมชนเอง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทันอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง รายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 11หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน รวมจำนวน 33คน 2. ตัวแทนผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 11หมู่บ้าน รวมจำนวน 11คน 3. ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียน จำนวน 4โรงเรียน รวมจำนวน 4คน 4. ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลนาทัน รวมจำนวน 5คน 5. ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาตาล รวมจำนวน 3 คน 6. ตัวแทน อสม. จำนวน 11หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน รวมจำนวน 33คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง รายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 11หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน รวมจำนวน 33คน 2. ตัวแทนผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 11หมู่บ้าน รวมจำนวน 11คน 3. ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียน จำนวน 4โรงเรียน รวมจำนวน 4คน 4. ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลนาทัน รวมจำนวน 5คน 5. ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาตาล รวมจำนวน 3 คน 6. ตัวแทน อสม. จำนวน 11หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน รวมจำนวน 33คน  
เครื่องมือ : แบบทดสอบความรู้,แบบสอบถามทักษะ,แบบสอบถามฟฤตินิสัย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสมรรถนะชุมชน ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก่อนดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะ ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะชุมชน ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 3 การประเมินสมรรถนะชุมชน ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหลังดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของชุมชน ต่อกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  
     
ผลการศึกษา : ผลการวิจัย 1. การประเมินสมรรถนะชุมชน ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก่อนดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะ 1.1 ระดับสมรรถนะของผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันแลควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนก่อนดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะ ตารางที่ 3จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการทดสอบด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน (N=104) ระดับสมรรถนะ จำนวน ร้อยละ 1. ด้านความรู้ ต่ำ 104 100.00 ปานกลาง 0 0.00 สูง 0 0.00 ค่าเฉลี่ย = 5.87 S.D. = 1.80 2. ด้านทักษะ ต่ำ 65 62.50 ปานกลาง 8 7.69 สูง 31 29.81 ค่าเฉลี่ย = 8.45 S.D. = 4.73 3. ด้านพฤตินิสัย มาก 0 0.00 ปานกลาง 104 100.00 น้อย 0 0.00 ค่าเฉลี่ย = 2.70 S.D. = 0.12 2. การเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยจัดกิจกรรมในลักษณะ Walk Rally จำนวน 4 ฐานปฏิบัติการโดยแบ่งผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะออกเป็นกลุ่มย่อย แล้วให้แต่กลุ่มหมุนเวียนไปเข้ารับความรู้ในแต่ละฐาน การเสริมสร้างสมรรถนะด้านทักษะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะได้เรียนรู้ทักษะในการค้นหาปัญหา และการวิเคราะห์ปัญหา การเขียนกิจกรรม แผนงานและโครงการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน การนำโครงการไปปฏิบัติ และการประเมินผลโครงการผู้วิจัยได้นำเทคนิคกระบวนการประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ AIC (Appreciation Influence Control)จนนำมาสู่การจัดทำโครงการในการแก้ไขปัญหาจำนวน 5โครงการ ประกอบด้วย 1.) โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทัน 2.) โครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในพื้นที่ตำบลนาทัน3.) โครงการคุยกันสารพันความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านหอกระจายข่าวในพื้นที่ตำบลนาทัน 4.) โครงการธนาคารภูมิปัญญาท้องเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทัน 5.) โครงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมชุมชนในพื้นที่ตำบลนาทัน ซึ่ง อบต.นาทันได้รับโครงการทั้งหมดไปบรรจุในแผนพัฒนา3 ปี (พ.ศ.2558-2560)และจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินโครงการในชุมชนการเสริมสร้างสมรรถนะด้านพฤตินิสัย ภายหลังจากได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้และด้านทักษะแล้วผู้วิจัยได้จัดเวทีอภิปรายกลุ่มเพื่อให้ ผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันว่าได้นำเอาความรู้และทักษะที่ได้รับไปปฏิบัติด้วยตนเองอย่างไรโดยสรุปได้ว่าพฤติกรรมการปฏิบัติส่วนใหญ่จะมีการนำไปบอกกล่าวกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้านให้นอกจากนี้ยังสามารถชักนำให้เกิดแนวร่วมในการปฏิบัติกล่าวได้ว่า ผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะที่ผ่านกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้ด้านทักษะและด้านพฤตินิสัยได้กลายเป็นแกนนำที่สำคัญของระดับหมู่บ้านและตำบลสามารถทำตนเป็นแบบอย่างในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตลอดจนสามารถเชื่อมประสานระหว่างชุมชนกับหน่วยราชการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้เกิดเป็นรูปธรรมมีความต่อเนื่องยั่งยืนได้ 3. การประเมินสมรรถนะของผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หลังกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะ ภายหลังดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะจนครบทุกขั้นตอนได้มีการประเมินสมรรถนะของผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะ และพบว่า ผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะมีระดับสมรรถนะดีขึ้นอย่างชัดเจน ดังแสดงในตารางที่4 ตารางที่ 4จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการทดสอบด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน หลังการเสริมสร้างสมรรถนะ (N=104) ระดับสมรรถนะ จำนวน ร้อยละ 1. ด้านความรู้ ต่ำ 8 7.69 ปานกลาง 26 25.00 สูง 70 67.31 ค่าเฉลี่ย = 13.16S.D. = 2.36 2. ด้านทักษะ ต่ำ 0 0 ปานกลาง 17 16.35 สูง 87 83.65 ค่าเฉลี่ย14.05S.D. = 1.39 3. ด้านพฤตินิสัย ต่ำ 0 0.00 ปานกลาง 0 0.00 สูง 104 100.00 จากตารางที่4พบว่า ระดับสมรรถนะด้านความรู้ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยของผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะ หลังดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 80 ทุกด้าน ซึ่งข้อมูลจากตารางร่วมกับข้อมูลจากการสังเกตในขณะดำเนินกระบวนการ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะที่นำมาใช้นั้นสามารถทำให้ ผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะมีระดับสมรรถนะทุกด้านสูงขึ้นจากเดิมอย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากในการดำเนินการผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการปฏิบัติจริงโดยผสมผสานซึ่งผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลของการเสริมสร้างสมรรถนะก่อนและหลังการดำเนินการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังแสดงในตารางที่ 5 ตารางที่ 5เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัย ก่อนและหลังการเสริมสร้างสมรรถนะ (N=104) ระดับสมรรถนะ ก่อนเสริมสร้างสมรรถนะ หลังเสริมสร้างสมรรถนะ M.D S.D.M.D. t p-value 95%CI x ̅ S.D. x ̅ S.D. ความรู้ 5.87 1.80 13.16 2.36 7.28 1.03 72.13 0.000 7.48 - 7.08 ทักษะ 8.45 4.73 14.05 1.39 5.60 3.94 14.50 0.000 4.83 - 6.37 พฤตินิสัย 2.70 0.12 4.86 0.16 2.15 0.09 236.52 0.000 2.14 - 2.17 ผลจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเสริมสร้างสมรรถนะ ดังแสดงในตารางที่5 พบว่า ผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะ มีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ด้านทักษะและด้านพฤตินิสัย หลังการเสริมสร้างสมรรถนะสูงกว่าก่อนการเสริมสร้างสมรรถนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ ขั้นตอนของกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการสร้างความรู้(Appreciation:A) เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น รับฟัง และมีโอกาสแสดงออกอย่างเท่าเทียมกัน ยอมรับในความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก และหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาขยะอย่างสร้างสรรค์เป็นประชาธิปไตย จนนำมาสู่ขั้นตอนการสร้างแนวทางในการพัฒนา (Influence : I) ซึ่งเป็นขั้นตอนการหาวิธีการและกำหนดทางเลือก เป้าหมาย กำหนดกิจกรรมในการ และขั้นตอนสุดท้ายคือ การสร้างแนวทางปฏิบัติ(Control : C) เป็นการนำเอาโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่วางแผนไว้มาสู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงาน ภาคีเครือข่ายต่างๆ  
ข้อเสนอแนะ : การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นเพียงเทคนิคหนึ่งของการประชุมจัดทำแผนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ ในการจัดทำแผนงานฯ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน มีกระบวนการเทคนิคหลายเทคนิค ที่จะต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและความพร้อมของชุมชนในแต่ละพื้นที่ การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงเป็นเพียงบทเรียนหนึ่งที่นักวิจัยจะต้องดำเนินการเรียนรู้ หาเทคนิคและกระบวนการใหม่ ๆ ไปใช้ในการจัดทำแผนฯ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อไปอีก ข้อเสนอแนะครั้งนี้จึงเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ที่พบในการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น คือ การนำแผนงานฯ ที่เกิดจากกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ไปสู่การปฏิบัติ จะได้ผลดีมากยิ่งขึ้น ถ้าผู้นำชุมชนนำแผนงานฯ ที่ได้ไปเสนอต่อที่ประชุมชาวบ้าน เพื่อให้รับทราบปัญหาร่วมกันและยอมรับในปัญหานั้น ประชาชนจึงจะร่วมดำเนินการตามแผนฯ ที่ได้จัดทำขึ้นครบถ้วนตามกิจกรรมและในเวลาที่เหมาะสม  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง