ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : บัตรนัดทำนายโรค
ผู้แต่ง : วรัณยา ภูกาบเงิน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังอันดับต้นๆ ที่มีผู้ป่วยมารับบริการในคลินิกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลฆ้องชัย ปัจจุบันมีผู้ป่วย จำนวน 566 ราย จากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่วย พบว่ามีพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม (131-179 mg/dL) จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 37.63 และสีแดง (180 mg/dL ขึ้นไป) จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 14.21 ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลฆ้องชัย จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาและหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่ามาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงได้จัดทำนวัตกรรมบัตรนัดทำนายโรค เพื่อแนะนำให้ผู้ป่วยมีความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในคลินิก NCD โรงพยาบาลฆ้องชัย จำนวน 566 คน  
เครื่องมือ : บัตรนัดทำนายโรค  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ประชุมทีมผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรัง เพื่อพัฒนานวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2.จัดทำนวัตกรรมบัตรทำนายโรค เพื่อแนะนำวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐาน 3.ประชุมทีมเพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงวิธีการใช้นวัตกรรมบัตรนัดทำนายโรค 4.เก็บรวบรวมข้อมูล 5.เก็บรวบรวมข้อมูล 6.วิเคราะห์ข้อมูล 7.สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง จำนวน 566 คน มีผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด < 130 mg% จำนวน 188 คน ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 131-179 mg% จำนวน 254 คน และผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด >180 mg% จำนวน 137 คน หลังทดลองใช้บัตรนัดทำนายโรคตั้งแต่เดือน มกราคม 2560 – มิถุนายน 2560 พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 566 คน มีผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด < 130 mg% จำนวน 198 คน ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 131-179 mg% จำนวน 275 คน และผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด >180 mg% จำนวน 137 คน  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)