ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ผู้แต่ง : นางสาววนิดา อุดมรักษ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : รากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศก็คือ ทรัพยากรบุคคล ประชากรทุกกลุ่มอายุจึงควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาขั้นพื้นฐานทางด้านสุขภาพ ประชากรกลุ่มแม่และเด็ก เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย นับตั้งแต่มีการตั้งครรภ์ การคลอดจนกระทั่งหลังคลอดเป็นทารกและเจริญเติบโตตลอดช่วงวัยเด็กซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์อย่างรวดเร็ว การดูแลสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์จึงมีความสำคัญมาก ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่ยังพบอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การตายของมารดาขณะคลอด การตายของทารกปริกำเนิด การฝากครรภ์และดูแลก่อนคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าปกติ มารดาตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี โดยเฉพาะมารดาตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาทั้งด้านร่างกายและจิตใจของมารดาและทารก เนื่องจากมารดาตั้งครรภ์ในขณะที่ร่างกายมารดายังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ถือเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย และจิต สังคม ข้อมูลอำเภอห้วยผึ้งประชากร 30,100 คน รับผิดชอบ 52 หมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 5 แห่ง 1 PCU สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กระดับอำเภอโดยรวบรวมจากมารดาตั้งครรภ์ที่มาคลอดโรงพยาบาลห้วยผึ้ง ปี 2557 ,2558 ,2559 จำนวนมารดาคลอด 110 คน, 130 คน, 89 คน ปัญหาที่พบ มารดาคลอดอายุ ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.64, 15.38,15.18 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านเหล่าสีแก้ว เป็นสถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ให้บริการด้านสาธารณสุขใน 6 หมู่บ้าน ดูแลประชาชนในพื้นที่รวม 2,350 คน มีนโยบายด้านการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ในรูปแบบองค์รวม มีผู้รับผิดชอบหลักเป็นพยาบาลวิชาชีพ 1 คน และทีมรับผิดชอบรองเป็นนักวิชาการสาธารณสุข 2 คน ซึ่งการดูแลมารดาตั้งครรภ์เป็นรูปแบบการให้บริการระดับปฐมภูมิ จากผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2558,2559 พบว่า มีมารดาตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 23 ราย เป็นมารดาวัยรุ่นต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 2,3 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.66,27.27 เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นผู้ศึกษาได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกัน เพื่อให้ชุมชนเป็นแรงสนับสนุนสร้างเสริมสมรรถภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และมิติทางด้านจิตวิญญาณได้อย่างเหมาะสม โดยการให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมคิดร่วมวางแผน และร่วมดำเนินการ ให้สอดคล้องตามแนวทางและวิถีชีวิตของชุมชน จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าสีแก้ว อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1.2.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป 1.2.1.1 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บ้านเหล่าสีแก้ว ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 1.2.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ 1.2.2.1 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านการเห็นคุณค่าของตนเองที่มีต่อการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น 1.2.2.2 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านความสัมพันธ์และการสื่อสารในครอบครัวที่มีต่อ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 1.2.2.3 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านการสื่อสารเรื่องเพศที่มีต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 1.2.2.4 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านกลุ่มเพื่อนที่มีต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 1.2.2.5 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านสื่อสารมวลชนที่มีต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น  
กลุ่มเป้าหมาย : 3.1 ประชากร และขนาดตัวอย่าง กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ วัยรุ่นเพศหญิง อายุระหว่าง 13 – 19 ปี บ้านเหล่าสีแก้ว หมู่ที่ 5 ,หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 13 ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้กลุ่มประชากรทั้งหมด คือ วัยรุ่นเพศหญิง อายุระหว่าง 13 – 19 ปี บ้านเหล่าสีแก้ว หมู่ที่ 5,หมู่ 9 และหมู่ที่ 13 ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน  
เครื่องมือ : 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการทบทวนวรรณกรรม และประยุกต์ใช้แบบสอบถามปัจจัยทางจิตสังคมกับการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลศิริราช (ศิริวรรณ กำแพงพันธ์. 2554) ดังนี้ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป โดยเป็นคำถามแบบเลือกตอบ (Check List) และเติมข้อมูล จำนวน 9 ข้อ ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบัน รายได้ สถานภาพครอบครัวของบิดา มารดา อาชีพหลักของครอบครัว การอยู่อาศัย และการมีคู่รัก 2. แบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น โดยเป็น คำถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) จำนวน 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 60 ข้อ 2.1 ด้านการเห็นคุณค่าของตนเอง จำนวน 10 ข้อ 2.2 ด้านความสัมพันธ์และการสื่อสารในครอบครัว จำนวน 10 ข้อ 2.3 ด้านการสื่อสารเรื่องเพศของวัยรุ่น จำนวน 20 ข้อ 2.4 ด้านอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน จำนวน 10 ข้อ 2.5 ด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 10 ข้อ โดยแบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ลักษณะข้อความประกอบด้วยข้อความที่เป็นการให้ความสำคัญในแต่ละเรื่อง แต่ละคำตอบมีคำตอบ ให้เลือก 5 ระดับ คือ 5 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด 4 หมายถึง เห็นด้วยมาก 3 หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง 2 หมายถึง เห็นด้วยน้อย 1 หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด 3.3 การสร้างและการทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้าง และทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ตามขั้นตอนดังนี้ 3.3.1 ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษาเพื่อนำมาสร้างแบบสอบถามให้เนื้อหาครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3.3.2 สร้างแบบสอบถาม ให้สอดคล้องกับหัวข้อและวัตถุประสงค์ เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน คือ 1. เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงโครงสร้าง และเนื้อหา แล้วดำเนินการปรับปรุงแก้ไข และตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวม ดังนี้ 3.4.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น โดยการแจกแบบสอบถามแก่ตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม จำนวน 30 ชุด จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบความถูกต้อง วิเคราะห์ผล และดำเนินการสรุปผลการศึกษา 3.4.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการ วารสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.5 สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequencies Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความถี่ (Frequencies) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตาราง และความเรียง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีดําเนินการวิจัย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยมีขั้นตอนการศึกษารายละเอียดดังนี้ 3.1 ประชากรและขนาดตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3.3 การสร้างเครื่องมือและการทดสอบเครื่องมือ 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.6 สถิติที่ใช้ในการศึกษา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง