ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต.นาตาหลิ่ว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : กัลยาณี ศรีเจริญ,นัยนา จิตรักษ์,สุปิยา พิมพ์แก้ว,ภูเบศวร์ วิชัยโย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่สำคัญในพื้นการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สถานบริการสาธารณสุขจัดบริการได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น รพ.สต.นาตาหลิ่วจึงดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูล สารสนเทศ และระบบการเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่มีประสิทธิภาพ  
วัตถุประสงค์ : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต.นาตาหลิ่ว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ตัวชี้วัด - ร้อยละกลุ่ม Pre –DM / Pre –HT ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นกลุ่มเสี่ยง - ร้อยละความถูกต้องของข้อมูลเกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง - ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาตาหลิ่ว  
เครื่องมือ : ฐานข้อมูงโปรแกรม NCD mini ,ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. แต่งตั้งคณะทำงาน ประชุม คณะทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน 2. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะในการบันทึกข้อมูล ในโปรแกรม HCIS โปรแกรม NCD Mini 3. เจ้าหน้าที่จัดคลินิก แยกกลุ่มผู้ป่วยตามปิงปองจราจร 7 สี นำข้อมูลการให้บริการบันทึกในโปรแกรม HCIS อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และแปรผล ระดับความเสี่ยง NCD Mini 4. อสม. ออกคัดกรอง เบาหวาน / ความดันโลหิตสูง ในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป นำข้อมูลการให้บริการส่งมาบันทึกในโปรแกรม HCIS อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และแปรผล ระดับความเสี่ยง NCD Mini 5. อสม. ติดตามเยี่ยมบ้าน จัดเก็บข้อมูล ค่า FBS ค่าความดันโลหิต ผู้ป่วยที่รับยาที่โรงพยาบาลเขาวง แล้วจัดส่งข้อมูลมาที่ รพ.สต. บ้านนาตาหลิ่ว เพื่อบันทึกข้อมูลใน โปรแกรม HCIS และแปรผล ระดับความเสี่ยง NCD Mini 6. วางแผนการดูแล รักษา 7. สรุปประเมินผล  
     
ผลการศึกษา : ผลการเปลี่ยนแปลง ๑) ประหยัดเวลาและประหยัดกระดาษ โดยการบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ๒) มีฐานข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขต รพ.สต. บ้านนาตาหลิ่ว  
ข้อเสนอแนะ : โอกาสในการพัฒนา ๑. มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประเมินและปรับปรุงข้อผิดพลาดจากระบบการจัดเก็บข้อมูล  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)